svasdssvasds

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

พาเปิด 8 เทรนด์ใหม่ ผู้ประกอบการ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” ต้องรู้ว่า AI มาแรง การทำธุรกิจ Sustainability ต้องมี รับยุคลูกค้าติด#ติดแกลม

SHORT CUT

  • อุตสาหกรรมอาหารไทยไม่เคยหลับใหล อันนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องจริงเพราะคนเราต้องขับเคลื่อนชีวิตด้วยการกิน
  • ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าบางช่วงบางตอนอาจมีสะดุดไปบ้างจากภาวะเศรษฐกิจกำลังซื้อที่อ่อนแรงเป็นบางช่วง แต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารไทยก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
  • พาเปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” AI มาแรง Sustainability ต้องมี รับยุคคนติด #ติดแกลม

     

พาเปิด 8 เทรนด์ใหม่ ผู้ประกอบการ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” ต้องรู้ว่า AI มาแรง การทำธุรกิจ Sustainability ต้องมี รับยุคลูกค้าติด#ติดแกลม

มีคำกล่าวที่ว่าอุตสาหกรรมอาหารไทยไม่เคยหลับใหล อันนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องจริงเพราะคนเราต้องขับเคลื่อนชีวิตด้วยการกิน จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าบางช่วงบางตอนอาจมีสะดุดไปบ้างจากภาวะเศรษฐกิจกำลังซื้อที่อ่อนแรงเป็นบางช่วง แต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารไทยก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะโลก และผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

#SPRiNG มีโอกาสร่วมวงสัมภาษณ์ “ไพศาล อ่าวสถาพร” ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เขาได้วิเคราะห์เทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในปีนี้ ประกอบด้วย 8 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. Value for Money, Yet High Value - ความคุ้มค่าที่ต้องทำถึง : ความคุ้มค่าที่มีความเข้าใจและสามารถตอบโจทย์อินไซต์ผู้บริโภคได้ดีกว่า มากกว่าแค่ราคาถูก สินค้าที่มีคุณภาพ หรือสามารถตอบโจทย์เรื่องประสบการณ์ที่ดีได้เท่านั้น แต่เป็นความคุ้มค่าที่มีความ #Individual เพราะการตีความเรื่องความคุ้มค่าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงอยู่ที่การตีความ ตีโจทย์และสามารถตอบโจทย์ได้ในระดับที่เรียกได้ว่า #ทำถึง และมีความ #Personalize โดยเฉพาะคนไทยที่ ถือเป็นหนึ่งในชาติที่เป็นนักกินแห่งโลก ที่เข้าใจและเข้าถึงอาหารหลากหลายประเภท ​

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

2. Casual Fine Dining - ความลักชูที่เข้าถึงได้ : ตอบโจท์คนในยุค ติดแกลม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ที่คนอยากมีประสบการณ์ Luxury บรรยากาศ ตกแต่างในร้านที่ตอบโจทย์ประสบการณ์แบบพรีเมียม แต่ไม่ได้ขายในราคาแพง แต่เป็น Casual ที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ แต่สามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงความลักชัวรี่ได้ ทำให้เห็นการตกแต่งร้านอาหารในประเทศไทยมีความสวยงาม หรือหรูหรามากขึ้น

3. Beyond Food, But Experience - มากกว่าอิ่มท้อง แต่ต้องอิ่มถึงความรู้สึก : เป็นการตอบโจทย์ได้มากกว่าแค่อาหาร แต่ต้องคำนึงถึง Journey ของลูกค้าตั้งแต่เดินมาหน้าร้านในแต่ละร้านจนกระทั่งได้รับประทานอาหาร ว่าเราสามารถให้อะไรผู้บริโภคได้บ้าง ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ได้ ก็จะสามารถ Capture ตลาดได้ดีกว่ารายอื่นๆ และลูกค้าจะกลับมาใช้บริการซ้ำอีกครั้ง

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

4. Local Ingredient - เสน่ห์ของความเป็นไทย : การนำวัตถุดิบในไทยมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยการเลือกสรรผลไม้ หรือพืชผักตามฤดูกาลมาเป็นเมนูไฮไลท์ในแต่ละช่วงเวลา เช่น มะยงชิด เมนูข้าวแช่ หรือการเลือกดอกไม้ประจำท้องถิ่นที่ให้กลิ่นที่เฉพาะตัวมาเป็นส่วนประกอบสำคัญ และสร้างอัตลักษณ์ให้อาหารของร้านได้

5.Digital & AI - เพิ่มประสิทธิภาพเข้าใจผู้บริโภค : โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยี AI มาใช้ในระบบการจัดการต่างๆ ในธุรกิจอาหาร รวมทั้งการนำมาช่วยในการดีไซน์รสชาติ R&D หรือเมนูต่างๆ ซึ่งในตะวันตกเริ่มมีการใช้ในมิตินี้มากขึ้น ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะเริ่มมีการพัฒนาในมิติเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

6.Sustainability - รักษ์โลก ลด Waste เพื่อความยั่งยืน : ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่อง และสอดคล้องไปใน​ทิศทาง​เดียวกันกับทั้งโลก แต่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จะทำให้คนตื่นเต้น หวือหวา แต่เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกธุรกิจยังคงต้องขับเคลื่อนต่อไป

7. Tourist - ต่างชาติ ต่างความชอบ : แม้นักท่องเที่ยวอาจจะลดลงบ้างจากช่วงก่อนโควิด แต่ยังเป็นเทรนด์สำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้ โดยเฉพาะต่างชาติที่เป็นนักลงทุนที่มีการเดินทางออกมาลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ทั้งจีน เกาหลี ฮ่องกง รวมทั้งในเมืองท่องเที่ยวที่ยังคงมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาต่อเนื่อง

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

8. Busy & Lazy - ตัวช่วยเพื่อชีวิตเร่งรีบ :โดยเฉพาะเทรนด์ Grab & GO ที่เริ่มเติบโตอย่างในช่วง Covid แม้ปัจจุบันอาจจะเติบโตลดลง แต่พฤติกรรมคนไทยก็นิยมเรื่องความสะดวก ง่าย ทำให้กลุ่มอาหารพร้อมทานในช่องทางร้านสะดวกซื้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการขยายการเติบโตให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการขยายโอกาสในการส่งออกไปทำตลาดในต่างประเทศเพิ่มเติมได้ด้วย

สำหรับวิสัยทัศน์ที่จะใช้ในแผนงาน คือ ONE FOOD – ONE TEAM – ONE GOAL กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟพร้อมเดินหน้าสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนด้วยกลยุทธ์ 4 เสาหลัก ได้แก่

  • ขยายสาขา เพิ่มจุดให้บริการในพื้นที่ใหม่ๆ และพัฒนารูปแบบร้านให้หลากหลาย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค

ยกระดับประสบการณ์ สร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อดึงดูดลูกค้าและกระตุ้นยอดขาย

  • เสริมศักยภาพ พัฒนาศักยภาพพนักงานและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน
  • มุ่งมั่นเพื่อความยั่งยืน  ลดปริมาณขยะอาหารและมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

นายไพศาล เสริมว่า การขยายธุรกิจในยุคปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเปิดสาขา แต่ต้องมองถึงการขยายศักยภาพโดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับประสบการณ์ลูกค้า ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเติบโตของกลุ่มธุรกิจอาหารเป็นไปอย่างสมดุล แข็งแรง และยั่งยืน

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจอาหารไทยเบฟยังชูไฮโลท์ คือ การเปิดร้านอาหารภายใต้โครงการมิกซ์ยูส "วัน แบงค็อก" ด้วยงบลงทุนกว่า 400 ล้านบาท โดยเป็นการรวมแบรนด์ร้านอาหารในเครือมากถึง 15 แบรนด์ ภายใต้กลยุทธ์ "1 ร้าน 1 แบรนด์" เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้า อีกทั้งยังมีแบรนด์ใหม่ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ช้าง แคนวาส  Iconic Social Brewhouse แห่งแรกของไทย ผสานเบียร์คราฟต์พรีเมียม บรรยากาศสร้างสรรค์ และโรงผลิตเบียร์ในร้าน ด้วยงบลงทุนกว่า 300 ล้านบาท
  • สโมสร ร้านอาหารไทยร่วมสมัย ตีความรสชาติและบรรยากาศแบบไทยให้ทันสมัย ตอบโจทย์คนเมืองและผู้บริโภครุ่นใหม่
  • เลิศเหลา ร้านเกาเหลาหม้อไฟระดับพรีเมียม โดดเด่นด้วยวัตถุดิบ รสชาติ และน้ำซุปสมุนไพร 26 ชนิด ตอบโจทย์คนรักเนื้อและอาหาร Comfort Food ระดับพรีเมียม

เปิด 8 เทรนด์ใหม่ “อุตสาหกรรมอาหารไทย” Sustainability ต้องมี

อย่างไรก็ตามแบรนด์ใหม่เหล่านี้จะสะท้อนแนวคิดใหม่ของ FOODS GROUP ในการสร้างแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และประสบการณ์ที่แตกต่างของผู้บริโภคยุคใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related