รู้หรือไม่ ดาวเทียมจะเกิดการเผาไหม้ที่ระดับความสูง 60-80 กิโลเมตร (มีโซสเฟียร์) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้เตือนกันมานานแล้วว่า สารเคมีที่หลงเหลือจากการเผาไหม้จะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศไปอีกหลายสิบปี หรืออาจจะร้อยปี การใช้ดาวเทียมแบบใช้ซ้ำอาจแก้ไขปัญหานี้ได้?
อวกาศคือหนแห่งที่มนุษย์ส่งยานอวกาศ นักบิน รวมถึงดาวเทียม ออกไปเพื่อสำรวจ และเก็บข้อมูลเพื่อนำกลับมาศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการตั้งถิ่นฐาน และการใช้ชีวิตนอกโลก
ซึ่งนับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 20 ที่สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียม ‘สปุตนิก 1’ ออกไปโคจรในอวกาศ เป็นครั้งแรกของโลก จนถึงตอนนี้เป็นเวลาเกือบ 70 ปี มนุษย์มีองค์ความรู้เกี่ยวกับอวกาศเพิ่มขึ้น แต่นี่ต้องแลกมากับผลกระทบบางอย่างที่ไม่คาดคิด
สำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Outer Space Affairs - UNOOSA) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน มีดาวเทียมประมาณ 11,330 ดวง โคจรอยู่รอบโลก ในเดือนมิถุนายน 2023 เพิ่มขึ้น 37.94% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2022 ซึ่งภายใน 10 ปีข้างหน้า อาจมีดาวเทียมโคจรรอบโลกมากถึง 100,000 ดวง
และบรรดาผู้ประกอบการที่ต้องการกำจัดดาวเทียมของตนเอง และส่งดวงใหม่ขึ้นไป พวกเขาใช้วิธีส่งดวงเดิมเข้ากลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ ซึ่งล่าสุด นักบินอวกาศได้ออกมาเตือนว่า เมื่อวัสดุดาวเทียมเกิดการเผาไหม้ สารเคมีในนั้นจะทำลายชั้นโอโซน ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนได้
ดาวเทียมจะเกิดการเผาไหม้ที่ระดับความสูง 60-80 กิโลเมตร (มีโซสเฟียร์) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้เตือนกันมานานแล้วว่า สารเคมีที่หลงเหลือจากการเผาไหม้จะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศไปอีกหลายสิบปี หรืออาจจะร้อยปี
แล้วจะแก้ไขอย่างไรดี?
Space Forge บริษัทสตาร์ทอัพจากอังกฤษได้นำเสนอว่า ผู้ผลิตควรออกแบบดาวเทียมให้ทนทานต่อความร้อนระหว่างกลับสู่ชั้นบรรยากาศ จากนั้น ก็นำมาซ่อมแซม และส่งขึ้นไปโคจรอีกครั้ง
"การเปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์ในการคืนดาวเทียมให้อยู่ในสภาพเดิม ซ่อมแซม และปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งอาจช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากดาวเทียมได้" แอนดรูว์ เบคอน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และผู้ก่อตั้งร่วม Space Forge กล่าว
อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2565 Space Forge ได้ส่งดาวเทียมที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ขึ้นสู่วงโคจร ในขณะที่ สำนักงานการบินอวกาศแห่งประเทศจีนเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ฐานตงเฟิงในมองโกเลีย ทางตอนเหนือของจีน ได้เก็บดาวเทียม “สือเจี้ยน-19” ดาวเทียมใช้ซ้ำได้ รุ่นทดลองดวงแรกของจีนกลับสู่พื้นโลกได้สำเร็จ
ซึ่งหากทุก ๆ ประเทศ หรือบริษัทที่ปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร หยิบเทคโนโลยีนี้ไปใช้ จะถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอวกาศศึกษา ในแง่ที่ว่าสามารถทำให้มันยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้ อุตสาหกรรมอวกาศจะยั่งยืนขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ที่มา: space
ข่าวที่เกี่ยวข้อง