svasdssvasds

ติดโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ ไอเดียเจ๋ง ๆ จากนิวซีแลนด์ ลือเตรียมนำมาใช้ในไทย

ติดโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ ไอเดียเจ๋ง ๆ จากนิวซีแลนด์ ลือเตรียมนำมาใช้ในไทย

แผงโซลาร์เซลล์จะถูกดัดแปลงเพื่อให้สามารถวางในช่องว่างระหว่างรางรถไฟได้ ทาง Sun-ways คาดว่าจะช่วยผลิตพลังงานได้ 1 เทระวัต (TW) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 200,000 ตันต่อปี

SHORT CUT

  • “Sun-ways” สตาร์ทอัพจากนิวซีแลนด์ ที่ผุดไอเดียติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้ที่ช่องว่างระหว่างรางรถไฟเพื่อผลิตพลังงานไปใช้
  • Sun-ways เปิดเผยว่า จะนำแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งที่ช่องตรงกลางระหว่างรางรถไฟบนระยะทางกว่า 5,000 กิโลเมตร และคาดการณ์ว่า จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 เทระวัต (TW) 
  • Sun-ways ทดสอบความปลอดภัยด้วยการให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 150 กม./ชม. ผลทดสอบปรากฏว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกติดตั้งลงในช่องว่างระหว่างรางรถไฟสามารถทนแรงลมได้ 240 กม./ชม.

แผงโซลาร์เซลล์จะถูกดัดแปลงเพื่อให้สามารถวางในช่องว่างระหว่างรางรถไฟได้ ทาง Sun-ways คาดว่าจะช่วยผลิตพลังงานได้ 1 เทระวัต (TW) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 200,000 ตันต่อปี

ช่องว่างระหว่างรถไฟปล่อยเอาไว้เฉย ๆ ก็เปล่าประโยชน์ งั้นเอามาใช้ประโยชน์กันเถอะ “Sun-ways” สตาร์ทอัพจากนิวซีแลนด์ ที่ผุดไอเดียติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้ที่ช่องว่างระหว่างรางรถไฟเพื่อผลิตพลังงานไปใช้

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ Credit Sun-ways

โดย Sun-ways เปิดเผยว่า จะนำแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งที่ช่องตรงกลางระหว่างรางรถไฟบนระยะทางกว่า 5,000 กิโลเมตร และคาดการณ์ว่า จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1 เทระวัต (TW) ซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้กับโครงสร้างพื้นฐานได้

บริษัทระบุอีกว่า ไอเดียการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้ที่รางรถไฟจะช่วยตอบสนองความต้องการไฟฟ้าของระบบขนส่งสาธารณะได้ 1 ใน 3 ของนิวซีแลนด์เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน ทาง Sun-ways คำนวณว่าวิธีนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 200,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ แผงโซลาร์เซลล์ที่ Sun-ways เลือกใช้นั้นมีสีดำสนิท แต่ละแผงมีขนาด 1 x 1.7 ม. และมีฟิลเตอร์ป้องกันแสงสะท้อน คำถามสำคัญถัดมาคือ รางรถไฟในนิวซีแลนด์มีกว้างแค่ไหน จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ลงไปติดตั้งได้จริง ๆ หรือ

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ Credit Sun-ways

ข้อมูลจาก New Atlas ระบุว่า รางรถไฟในนิวซีแลนด์มีขนาด 1.43 ม. นั่นหมายความว่าแผงโซลาร์เซลล์ถูกดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้สามารถติดตั้งระหว่างรางรถไฟได้

แนวคิดล้ำขนาดนี้ จะให้ช่างมาติดตั้งทีละแผง ๆ บนระยะทางกว่า 5,000 กิโลเมตร คงจะกะไรอยู่

ดังนั้น นิวซีแลนด์ในฐานะประเทศที่ก้าวล้ำเรื่องนวัตกรรม จึงว่ายวานให้ Scheuchzer SA บริษัทบำรุงรักษาทางรถไฟ ใช้เทคโนโลยีติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ โดยสามารถติดตั้งได้ 1,000 ตร.ม. ต่อวัน

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ Credit Sun-ways

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ Credit Sun-ways

ข้อกังวล

  • ลมจากรถไฟ

บริษัท Sun-ways ได้ทดสอบความปลอดภัยด้วยการให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 150 กม./ชม. ผลทดสอบปรากฏว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกติดตั้งลงในช่องว่างระหว่างรางรถไฟสามารถทนแรงลมได้ 240 กม./ชม.

  • หิมะ

เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ถูกวางในแนวราบ ดังนั้น หิมะที่ตกลงมาในช่วงฤดูหนาวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของโซลาร์เซลล์ได้ แต่ทางบริษัทเปิดเผยว่า ปัญหานี้สามารถแก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการติดตั้งแปรงทรงกระบอกไว้ที่ปลายรถไฟ เพื่อจัดการกับหิมะ รวมถึงสิ่งสกปรกอื่น ๆ

ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่รางรถไฟ Credit Sun-ways

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เสร็จสิ้น ทางบริษัทจะทดสอบอีกครั้งว่า มีปัจจัยใด ๆ อีกหรือไม่ ที่อาจสร้างความเสียหายต่อรางรถไฟ จนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัยแน่นอน100%

โครงการนี้ได้รับความสนใจจากหลายประเทศเป็นอย่างมาก โดย ณ เวลานี้ สตาร์ทอัพ Sun-ways กำลังพูดคุยกับสเปน โรมาเนีย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ และมีประเทศไทยอยู่ในลิสต์ด้วย

 

ที่มา: New Atlas

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related