SHORT CUT
กรมควบคุมมลพิษได้ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ... และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระ 2 และวาระ3 ตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.2562 แต่กฎหมายฉบับนี้ สนช.ก็ไม่ผ่านออกมา เพราะภาคเอกชนรายใหญ่บางแห่งไม่เอาด้วย
14 ตุลาคม นอกจากจะเป็นวันหยุดแล้ว รู้หรือไม่ว่าเป็น “วันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล” หรือ International E-Waste Day ด้วยนะ ในแต่ละปี ประชากรไทยสร้าง E-waste กันเฉลี่ยคนละ 9.2 กิโลกรัมต่อปี ตามข้อมูลของรายงานเฝ้าระวังขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก
มีข้อเสนอแนะอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ ในบทความจาก The restart project เปิดเผยว่า บรรดาผู้ผลิตออกแบบสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ยากต่อการซ่อมแซม แม้บางรุ่นบางยี่ห้อจะแนบคู่มือการซ่อมมาให้
แต่คุณต้องมีอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซม หรือต้องซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน ซึ่งคนธรรมที่ไม่ได้มีพื้นความรู้อาจเกิดความสับสนได้ จนในที่สุด คุณจะท้อแท้ และตัดสินใจทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นไปอย่างง่ายดาย
นี่จึงเป็นเหตุให้ สหภาพยุโรปออกกฎบังคับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าว่าต้องออกแบบสินค้าที่สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปี และต้องยืนยันว่าอุปกรณ์เหล่านี้ ลูกค้าสามารถซ่อมแซมได้ด้วยตัวเอง เมื่อผ่านพ้น 10 ปีไปแล้ว คุณต้องรับผิดชอบด้วยการจัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นจากลูกค้า และส่งไปรีไซเคิล หรือกำจัดอย่างถูกวิธี
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือเรื่องราคา ส่วนใหญ่แล้วคนมักตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ไปเลย เนื่องจากค่าซ่อมที่แพงหูฉี่ และเกิดความคิดว่าเพิ่มเงินอีกนิดไปซื้อของใหม่น่าจะดีกว่า หรือบางคนคิดว่ามันพังเพราะถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว ทั้งที่จริง ๆ แล้ว หากนำไปซ่อมก็น่าจะใช้ได้อยู่
ด้วยเหตุ ฉะนี้ หลายประเทศจึงออกมาตรการออกเงินสนับสนุนให้ประชาชนสามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปซ่อมแซมในร้านใกล้บ้านของคุณได้ โดยหวังในภาพรวมว่าประชาชนจะไม่ตัดสินใจทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างง่ายดายเกินไป SPRiNG เคสตัวอย่างมาให้ดูด้านล่างนี้
อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทยนั้น มีความพยายามที่จะใช้กฎหมายควบคุมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านร่างพระราชบัญญัติจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... ซึ่งถูกเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภาแล้วโดยกรมควบคุมมลพิษ แต่ยังไม่สามารถผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กรมควบคุมมลพิษได้ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ... ซึ่งได้มีการ นำผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับและนำกฎหมายต่างประเทศมาประกอบในร่างดังกล่าว และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 ตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. 2562 แต่สุดท้ายกฎหมายฉบับนี้ สนช. ก็ไม่ผ่านออกมาเพราะภาคเอกชนรายใหญ่บางแห่งไม่เอาด้วย
ประเด็นที่ถูกถกเถียงมากที่สุด คือมีบางมาตรของร่างกฎหมายระบุว่าให้ผู้ผลิตมีหน้าที่รับคืน และรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน (Extended Producer Responsibility หรือ EPR) ไม่ว่าจะเป็นของผู้ผลิตรายใดก็ตาม เช่น หากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดที่ไม่สามารถค้นหาที่มาได้ ให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายอื่นจะต้องรับคืนซากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หาแหล่งกำเนิดไม่พบ เพื่อนำไปกำจัดด้วย
ที่มา: therestartproject, กรมควบคุมมลพิษ, BBC, ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง