svasdssvasds

ไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน

ไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน

เหลือเวลาอีกไม่มากที่ไทยต้องก้าวสู่ Net Zero หากนับถอยหลังไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน เดินหน้าชงใช้ “ภาษีคาร์บอน” พร้อมดัน พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ บังคับใช้ในปี 2026

SHORT CUT

  • ไทยต้องก้าวสู่ Net Zero หากนับถอยหลังไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน
  • หน่วยงานภาครัฐเดินหน้าชงใช้ “ภาษีคาร์บอน”  พร้อมดัน พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ บังคับใช้ในปี 2026
  • เตรียมเสนอภาษีคาร์บอนต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็ววันนี้ ก่อนจะมีความชัดเจนว่าสุดท้ายแล้วจะกำหนดราคาคาร์บอนที่ 200 บาทหรือไม่

เหลือเวลาอีกไม่มากที่ไทยต้องก้าวสู่ Net Zero หากนับถอยหลังไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน เดินหน้าชงใช้ “ภาษีคาร์บอน” พร้อมดัน พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ บังคับใช้ในปี 2026

เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในไทย คือ เรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานรัฐ และเอกชน ต้องเร่งขับเคลื่อนให้รวดเร็วขึ้น เพราะผลกระทบของโลกรวนทุกวันนี้เห็นได้ชัดเจนขึ้น เช่น หน้าร้อนที่ผ่านมา ร้อนและแล้งมาก หน้าฝนก็ฝนฉ่ำ น้ำท่วมหลายพื้นที่ใหญ่ในรอบหลาย 10 ปี บางพื้นที่ใหญ่สุดรอบ 100 ปีก็มี ดังนั้นต้องเร่งแก้ไขปัญหา และรับมือโลกรวนให้ทัน หนึ่งในเวทีที่มีการพูดถึงเรื่องนี้ และแนวทางการรับมือทั้งโลกรวน และเรื่องของเศรษฐกิจการค้า นั่นก็คือ เวทีสัมมนา Road to Net Zero 2024: The Extraodinary Green จัดโดยฐานเศรษฐกิจ 

โดยเวทีแห่งนี้มีมุมมอง และเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ อย่างเช่น นางสาวรัชฎา วานิชกร ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต ที่ได้กล่าวในหัวข้อ ภาษีคาร์บอน กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ในงานสัมมนา Road to Net Zero 2024: The Extraodinary Green จัดโดยฐานเศรษฐกิจ  ว่า ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 372 ตันคาร์บอนต่อปี โดยส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงานและภาคขนส่ง คิดเป็น 70% รองลงมาเป็นภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการจัดการของเสีย

ไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน

 

สำหรับประเทศไทยในปี 2050 ประเทศไทยได้ประกาศและให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะเดินหน้าประเทศสู่ Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และตั้งเป้าหมายที่ใกล้กว่านั้นคือปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30-40%

อย่างไรก็ตามหากนับถอยหลังไทยจะมีเวลาอีก 6 ปี ที่จะต้องพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2030 จาก 555 ล้านตันคาร์บอน ลงมาที่ 333 ล้านตันคาร์บอน ซึ่งกลไกราคาคาร์บอนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำให้เราก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายนี้ได้ ดังนั้น กรมสรรพสามิต จึงได้เสนอให้มีการใช้กลไกของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต เป็นการเก็บภาษีคาร์บอนนำร่องไปพลาง ก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้ โดยการเก็บภาษีของสินค้าที่ปล่อยมลพิษสูงและอยู่ในพิกัดสรรพสามิต

จากการศึกษากรณีตัวอย่างในต่างประเทศในการคำนวณกลไกราคาคาร์บอน โดยการนำสินค้าเชื้อเพลิงจำนวนเท่ากันไปเผาไหม้แล้วบันทึกปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีความสะอาดไม่เท่ากัน โดยเบื้องต้นภาครัฐได้มีการกำหนดราคาคาร์บอนเป็นราคาเดียว ซึ่งยุโรปราคาคาร์บอนสูงกว่า 100 ดอลลาร์ ญี่ปุ่นอยู่ที่ 3 ดอลลาร์ สิงคโปร์จากเริ่มต้น 5 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็น 25 ดอลลาร์ ส่วนประเทศไทยยังไม่กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา เบื้องต้น กำหนดไว้ที่ 200 บาท หรือประมาณ 6 ดอลลาร์

อย่างไรก็ตามกรมสรรพสามิต ต้องการบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อนนโยบายภาษีคาร์บอน คือ สะท้อนให้ผู้ใช้ตระหนักและเห็นว่าต้นทุนในการใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนออกมา แต่ยังไม่ต้องกังวลว่าภาษีคาร์บอนจะทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น และเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนการดำเนินการในช่วงแรกจะเป็นการสร้างความตระหนักสำหรับภาคอุตสาหกรรมรวมถึงประชาชน ว่ากิจกรรมที่ทำนั้นมีราคาของคาร์บอน แต่จะไม่ให้กระทบกับต้นทุนในการใช้ชีวิตและประกอบธุรกิจ สำหรับแนวนโยบายดังกล่าวเตรียมที่จะมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็ววันนี้ ก่อนจะมีความชัดเจนว่าสุดท้ายแล้วจะกำหนดราคาคาร์บอนที่ 200 บาทหรือไม่

ด้าน ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  อภิปรายในหัวข้อ Action Green Transition บนเวที ROAD TO NET ZERO 2024 THE EXTRAORDINARY GREEN จัดขึ้นวันนี้ (26 กันยายน 2567 ) ว่า อยากชวนให้ทุกคนคิดถึงเรื่องวิกฤตโลกเดือด หรือระบบของโลกในทุกวันนี้แปรปรวนและส่งสัญญาณออกมาเป็นภัยพิบัติซึ่งยากที่จะคาดการณ์ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ พายุยางิที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าภัยเรื่องนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด พี่น้องประชาชนเสียหายมาก และการฟื้นฟูจะต้องใช้เงินอีกเท่าไหร่ที่จะต้องฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจพื้นฐานกลับมา

ไทยเหลือเวลา 6 ปี ต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 333 ล้านตันคาร์บอน

ทั้งนี้มองว่า ความแปรปรวนนี้ยากจะรับมือขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการแปรปรวนเป็นสิ่งที่เราไม่อยากได้ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการรับมือต่ำลง ในมุมของธุรกิจผลที่ตามมาคือ วันนี้การคุมอุณหภูมิให้ได้ 1 องศา  งบประมาณจาก 100% ถูกใช้ไปแล้วกว่า 83% เหลือเพียง 17% ซึ่งในนี้มากกว่า 10% จะถูกใช้ไปก่อนปี ค.ศ. 2030 เพราะฉะนั้นการอยากจะคุมอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากและท้าทาย

ทั้งนี้หากคุมไม่ได้ และมากเกิน 2 องศาเซลเซียส ปะการังจะหายไปหมด แต่ถ้าไปถึง 3 องศาเซลเซียส จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมหาศาล ส่วนตัวมองอีกว่า วันนี้ยังไม่ถึงจุดนั้น เราจึงต้องพยายามทุกวิถีทางให้จำกัดการเพิ่มขึ้นให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับประเทศไทย ได้มีแผนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีการกำหนดว่าในปี 2030 เราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ราว 30-40% (NDC1) การลดก๊าซเรือนกระจกเกี่ยวข้องกับหลายสาขา บางส่วนเข้าสู่สภาพัฒน์แล้ว และจะมีการบังคับใช้ในเดือนตุลาคมนี้  ซึ่งที่ผ่านมาได้มีติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจกมาแล้ว

อย่างไรก็ตามในปี 2025 เป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 60% ซึ่งเป็นความท้าทายว่าประเทศไทยจะทำได้หรือไม่? ซึ่งเป็นแรงกดดันที่สำคัญมาก เพราะจะถูกพูดถึงบนเวที COP29 ที่จะเกิดขึ้นหรือในเวทีต่างประเทศ จึงไม่มีช่องว่างให้นักธุรกิจหรือภาครัฐลังเลใจว่าจะต้องทำเรื่องนี้หรือไม่

นายพิรุณ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในปี 2025 สิ่งที่อยากเห็นที่สุดคือ พ.ร.บ.ผ่านครม. เนื่องจาก ณ ปัจจุบันไม่มีกฎหมายหรือเครื่องมือที่ชัดเจนในการบังคับใชั อีกทั้งยังอยากให้เกิดความร่วมมือ สองมิติที่อยากได้ ก็คือ การขับเคลื่อนจากภาครัฐ และภาคเอกชนช่วยกันขับเคลื่อน เพราะเมื่อไหร่ที่ถึงปี ค.ศ.2030 และยังทำไม่ได้ตามเป้า การลดอุณหภูมิจะยากมากที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

related