svasdssvasds

CBAM ภาษีคาร์บอน เครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

CBAM ภาษีคาร์บอน เครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

เวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ในช่วงของ Go green นโยบานรัฐ มีประเด็นที่น่าสนใจคือ CBAM ภาษีคาร์บอน ที่จะมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนธุรกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

ในช่วงของ Go green นโยบายรัฐนั้น มีนายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), นายเกรียงไกร พัฒนาภรณ์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต และนายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย มาร่วมพูดคุยถึงภาษีคาร์บอน หรือ CBAM ว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร?

CBAM ภาษีคาร์บอน เครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

นายเกรียงไกร พัฒนาภรณ์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่ทำการค้ากับ EU ต้องทำความเข้าใจ ตระหนักถึงการปล่อยคอาร์บอนด้วย ซึ่ง CBAM ภาษีคาร์บอน ช่วยเป็นกลไลในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พูดให้เห็นภาพง่ายๆ อย่างภาษีสรรพสามิตช่วยควบคุม เช่น ภาษีความหวานที่จะเริ่มใช้ 1 เมษายน 2566 เราให้เวลาอุตสาหกรรมในการปรับตัว 2 ปี ค่อยๆ ลดความหวานในผลิตภัณฑ์ ภาษีสรรพสามิตไม่ได้ต้องการรายได้มากขนาดนั้น เพียงต้องการให้ธุรกิจให้ความร่วมมือและลงมือทำ CBAM ภาษีคาร์บอน ก็เช่นเดียวกันแค่อยากให้ปฎิบัติตาม ซึ่งภาคธุรกิจก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

CBAM ภาษีคาร์บอน เครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

ด้านนายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยว่าขณะนี้โลกเราป่วย ประเทศแต่ละประเทศป่วยมากน้อยไม่เท่ากัน กรณีของไทยนั้น ป่วยมาก เราเป็นอันดับที่ 9 ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change

ปัจจุบันพบว่า 30% ของอุตสาหกรรมในบ้านเราเป็นอุตสาหกรรมเก่า ในจำนวนนี้จะมี 13% ของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ CBAM ฉะนั้น ก็มีความเร่งด่วน ถ้าเราเฉยๆ จะเกิดความเสียหาย ซึ่งความเสียหายในภาคเศรษฐกิจจริงสุดท้ายก็อยู่ไม่ได้ ซึ่งจะกระทบภาคธนาคาร เพราะธนาคารก็มีลูกค้าที่อยู่ภาคเศรษฐกิจจริง ฉะนั้นแบงก์ชาติต้องเข้ามามีส่วนกำหนดกรอบการเงินให้ลูกหนี้ปรับตัวให้ได้

กรอบในการดูแลความยั่งยืนทางการเงินของ ธปท.นั้น มีเป้าหมาย 2 เรื่อง คือ 1.เราอยากให้แบงก์มีสุขภาพที่ดี คือ นำระบบการบริหาร ESG เข้าไปในกระบวนการทำงานทั้งหมด และอยากให้แบงก์มีส่วนร่วมสนับสนุนลูกหนี้ให้ปรับตัวให้ได้ด้วย ส่วนการปรับตัวนั้น เราทำ 5 เรื่องคือ 

-การวางมาตรฐานการทำงานให้กับสถาบันการเงิน 

-การมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

-การพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอน 

-การสร้างแรงจูงใจ แต่จะมาจากภาคธนาคารทั้งหมดไม่ได้

-การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ ESG

ทาง ธปท. จะใช้ Taxonomy เข้ามาเป็นกติกาช่วยกำหนดเรื่องการไฟแนนซ์เงินแก่ผู้ประกอบการ โดย Taxonomy จะเป็นกติกาที่บอกว่า อะไรเป็นธุรกิจสีเขียว สีเหลือง และแดง เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเราไม่ได้คำนึงถึง Climate Change อย่างเดียวแต่ยังรวม ESG ด้วย 

เฟสแรกจะเน้นไปที่สิ่งแวดล้อม แต่ไม่ทิ้งเรื่องสังคม ฉะนั้น Taxonomy จะยึดโยงเรื่องความยั่งยืน ถ้าธุรกิจจัดอยู่ในกลุ่มสีเขียวจะมีความยั่งยืนสูง ถ้าสีเหลืองหรือน้ำตาล จะจัดอยู่ในกลุ่มที่กำลังเปลี่ยนผ่าน ส่วนสีแดงคือ คนที่ต้องถอยออกไป ฉะนั้น Taxonomy จะเป็นนิยามกลาง 

CBAM ภาษีคาร์บอน เครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เสริมว่า เมื่อก่อนเราส่งสินค้าไปขายยุโรป เขาจะวัดน้ำหนัก แต่ปัจจุบันไม่ใช่น้ำหนักแล้ว เขาจะวัดการปล่อยคาร์บอน carbon emissions ด้วย  ดังนั้นเราต้องการจัดข้อมูล เรื่อง การปล่อยคาร์บอน ทั้งระบบ

ถ้าอยากขายต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพ ในเรื่อง carbon emissions ด้วย ทำฐานข้อมูล carbon emissions หรือคาร์บอนเครดิต ซึ่งผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งต้องดูตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การขนส่ง ว่าปล่อยคาร์บอนเท่าไร