svasdssvasds

"Eco Milk"นมวัวรักษ์โลก ผลิตจากวัวที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายทะเล ลดก๊าซมีเทนได้

"Eco Milk"นมวัวรักษ์โลก ผลิตจากวัวที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายทะเล ลดก๊าซมีเทนได้

รู้จัก "Eco Milk" นมรักษ์โลก ผลิตจากวัวที่เลี้ยงด้วยสารสกัดจากสาหร่ายทะเล ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัวได้ ลดโลกร้อน ทดลองขายแล้วในแทสมาเนีย

SHORT CUT

  • นมวัวแบรนด์ ASHGROVE ได้ผลิตนมแบบใหม่ "Eco Milk" 
  • เริ่มวางจำหน่ายบนชั้นวางในซูเปอร์มาเก็ตทั่วรัฐแทสมาเนียของออสเตรเลีย
  • นมรักษ์โลกนี้ ผลิตจากวัวที่กินสารกสัดที่มีส่วนผสมของสาหร่ายทะเล ทำให้ปล่อยก๊าซมีเทนน้อยลง ช่วยลดโลกร้อนได้

รู้จัก "Eco Milk" นมรักษ์โลก ผลิตจากวัวที่เลี้ยงด้วยสารสกัดจากสาหร่ายทะเล ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัวได้ ลดโลกร้อน ทดลองขายแล้วในแทสมาเนีย

ยอมซื้อไหม ถ้านมวัวมีราคาแพงขึ้น แต่ช่วยลดโลกร้อนได้!

เจ้าของแบรนด์นมวัว ASHGROVE ในรัฐแทสมาเนีย, ออสเตรเลีย ได้ทดลองวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม Eco Milk บนชั้นวางในซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อซาวด์เสียงผู้บริโภคว่าจะยอมซื้อนมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หากมันมีราคาแพงกว่านมทั่วไป

สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า Eco Milk ของ ASHGROVE คือนมแบรนด์แรกของโลก ที่ได้ผลิตมาจากวัว ที่ถูกเลี้ยงด้วยสาหร่ายทะเล ซึ่งจะทำให้วัวปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณต่ำกว่าวัวทั่วไป

Eco Milk Cr.Reuters

เพราะข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า ก๊าซมีเทนทั่วโลกกว่า 30% มาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ โดยส่วนหนึ่งมาจากการผายลมหรือการเรอของสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ซึ่งมีส่วนทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โรงงานนมในแทสมาเนีย ได้ทดลองให้อาหารวัว 500 ตัว หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของวัวในฟาร์มทั้งหมด ด้วยการให้อาหารสัตว์ที่มีสารสกัดจากสาหร่ายทะเล

ซึ่งเจ้าของบอกว่า มันสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงไปได้ 25% เลยจากการเลี้ยงปกติ เพราะสารปรุงแต่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อใช้กับอาหารสัตว์ สามารถยับยั้งการปล่อยมีเทน จากท้องของวัวกำลังย่อยอาหารได้

ตดวัว และเรอวัว ปล่อยก๊าซมีเทน ทำโลกร้อนได้

ซึ่งวัวเหล่านี้จะผลิตนมได้ประมาณ 10,000 ลิตรต่อวัน โดยส่วนหนึ่งได้นำไปบรรจุลงขวด และแปะป้ายว่า Eco Milk ส่งจำหน่ายไปทั่วห้างร้านในแทสมาเนีย ซึ่งโครงการนี้ใช้งบประมาณเยอะประมาณนึงเลย เลยทำให้ต้นทุนสินค้าตัวนี้สูง

ซึ่งการจำหน่ายในครั้งนี้ ยังไม่ได้มีการจำหน่ายอย่างจริงจังเป็นวงกว้าง เป็นเพียงการทดลองเท่านั้น ว่าผู้บริโภคจะยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

โดยขวดนมขนาด 2 ลิตรจะถูกขายในราคา 5.50 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (หรือ 132 บาทไทย) ซึ่งมีราคาสูงกว่านมทั่วไป ซึ่งถ้าหากว่ายอดขายมาไม่ดี หรือผู้คนไม่นิยม ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติ คุณล่ะ ยอมจ่ายค่าสินค้าที่แพงขึ้นเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นหรือไม่?

ที่มาข้อมูล

Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related