svasdssvasds

“นมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” รีดจากวัวที่เรอน้อย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

“นมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” รีดจากวัวที่เรอน้อย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หากคุณเป็นสายรักษ์โลก จะซื้อสินค้าอะไรก็ต้องใส่ใจมองหาคำว่า Eco – Friendly หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คุณอาจจะสนใจนมยี่ห้อ Ashgrove ของออสเตรเลีย เพราะเขาเคลมว่า เป็นนมที่รีดมาจากวัวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง

SHORT CUT

  • นมยี่ห้อ Ashgrove ของออสเตรเลีย เคลมว่าเป็นนมที่รีดมาจากวัวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 
  • ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัวในกระบวนการผลิต ให้วัวกินอาหารพิเศษที่มีชื่อว่าซีฟีด SeaFeed
  • สาหร่ายจะไปทำปฏิกิริยาบางอย่างกับระบบย่อยของวัว ทำให้พวกมันเรอน้อยลง

หากคุณเป็นสายรักษ์โลก จะซื้อสินค้าอะไรก็ต้องใส่ใจมองหาคำว่า Eco – Friendly หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คุณอาจจะสนใจนมยี่ห้อ Ashgrove ของออสเตรเลีย เพราะเขาเคลมว่า เป็นนมที่รีดมาจากวัวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง

บริษัท Ashgrove ตั้งอยู่ในเมืองเอลิซาเบธ รัฐแทสมาเนีย ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย จับมือร่วมกับ Sea Forest ฟาร์มสาหร่าย เพื่อผลิตนมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตัวแรกของโลกออกมา โดยพวกเขาอ้างว่า พวกเขาสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัวในกระบวนการผลิตได้ เพราะให้วัวกินอาหารพิเศษที่มีชื่อว่าซีฟีด SeaFeed

เครดิต : ABC News

เจ้าซีฟีดที่ว่าทำมาจากสาหร่ายบานสีแดงแอสปารากอปซิส (asparagopsis) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดทั่วไปในรัฐดังกล่าว และปลูกภายในฟาร์มของซีฟอเรสต์ในชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศ โดยสาหร่ายจำพวกนี้มันจะไปทำปฏิกิริยาบางอย่างกับระบบย่อยของวัว ทำให้พวกมันเรอน้อยลง

ทางบริษัทตั้งเป้าหมายเอาไว้ในเบื้องต้นว่า ต้องการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการผลิตนมให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้ก็ย่อมมีราคา โดยผู้บริโภคจะต้องจ่ายค่านมแพงกว่าเจ้าอื่นๆลิตรละ 12.5 เซนต์ หรือประมาณ 2 บาท

เครดิต : ABC News

แซม เอลซอม ผู้บริหารของซีฟอเรสต์เปิดเผยว่า นี่เป็นครั้งแรกของโลก ที่นมซึ่งมีกระบวนการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค แต่ทางบริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิต เพื่อให้ราคาถูกลง ผู้บริหารยังบอกด้วยว่า เกษตรกรเองก็จะได้ผลประโยชน์ทางการเงินเพิ่มขึ้นด้วย ในการใช้สาหร่ายเลี้ยงวัว

ตอนนี้ทางบริษัทเองก็กำลังพยายามจะเข้าไปตีตลาดอังกฤษและยุโรป ซึ่งรัฐบาลหลายประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแวดวงการเกษตร

ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯรายงานว่า การเลี้ยงวัวควายทำให้เกิดก๊าซมีเทน 80-95 ล้านตันทั่วโลกต่อปี จากการที่สัตว์เหล่านั้นตดและเรอ

 

ที่มา : ABC News 

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :