นิวซีแลนด์ กำลังจะเป็นประเทศแรกของโลก ที่บังคับให้เกษตรกรจ่ายค่าภาษี มลพิษจากปศุสัตว์ หลังจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้เผยแพร่ร่างมาตรการกำหนดค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษทางการเกษตรของฝูงแกะ วัว ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นิวซีแลนด์ เตรียมเรียกเก็บค่าภาษี มลพิษจากปศุสัตว์ อาทิ การเลี้ยงแกะและการเลี้ยงวัว โดยจุดประสงค์ของเรื่องนี้ก็คือ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ให้น้อยลง
ทั้งนี้ นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีประชากรอยู่ ราว 5 ล้านคน ขณะที่ ประชากรวัว มีมากกว่า 2 เท่าตัว อยู่ที่จำนวน 10 ล้านตัว ขณะที่ ประชากรแกะมีอีก 26 ล้านตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่า จำนวนวัวและแกะ มากมายมหาศาลขนาดนี้ มีผลสำรวจออกมาแล้วว่า มูลที่สัตว์ปล่อยออกมา รวมถึงทุกๆ การ "เรอ" และการ "ตด" ของวัวและแกะในนิวซีแลนด์ สามาถทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เลยทีเดียว และนั่น มันได้ส่งผลกระทบชิ่งไปยัง ปัญหา Climate change หรือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คาร์บอนเครดิต คืออะไร? ทำไมหลายประเทศจึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต?
ทำไม? เดนมาร์กได้อันดับ 1 ของโลกในด้านสิ่งแวดล้อม ไทยได้อันดับเท่าไหร่?
ที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์เดินหน้านโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่หลังการเลือกตั้งที่นางจาซินดา อาร์เดิร์น ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนางจาซินด้า อาร์เดนกล่าวตั้งแต่รับตำแหน่งใหม่ๆว่า เกษตรกรของนิวซีแลนด์จะต้องเข้าร่วมโครงการซื้อ-ขายก๊าซเรือนกระจก นับตั้งแต่ต้นปี 2022
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกือบครึ่งที่เกิดในนิวซีแลนด์ มีต้นเหตุมาจากการทำการเกษตร โดยเฉพาะปศุสัตว์ ทั้งการเลี้ยงวัวและเลี้ยงแกะ
โดย เจมส์ ชอว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ Climate change ให้ความเห็นต่อประเด็นการลดการปล่อยก๊าซมีเทน จากการควบคุมการปศุสัตว์ ว่า ระบบเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้นิวซีแลนด์บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้ ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกมากเป็นลำดับ 2 รองจากคาร์บอนไดออกไซด์ โดย และตัวเลขสถิติที่น่าสนใจมากๆก็คือ การเรอและผายลมของวัวทั่วโลก สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาคิดเป็นถึง 15% ของปริมาณทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนิวซีแลนด์ มอบข้อเสนอลดค่าธรรมเนียม ให้กับเกษตรกรที่พยายามลดการปล่อยก๊าซ ด้วยการใส่วัตถุเจือปนอาหารในอาหารสัตว์ หรือปรับฟาร์มเลี้ยงสู่ระบบวนเกษตร เพื่อชดชยการปล่อยมลพิษขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และนี่ถือเป็นอีกหนึ่งอีกหนึ่งทางแก้ปัญหา Climate change จากนโยบายรัฐบาลนิวซีแลนด์