เดือดพร้อมโลกเดือด เกษตรกรยุโรปลุกฮือ ประท้วงต่อต้านนโยบายสีเขียวเพื่อลดโลกเดือดของสหภาพยุโรป หลังมาตรการดังกล่าวสร้างความไม่เป็นธรรม ต้นทุนสูง รายได้หาย ผลผลิตตกต่ำ
เกษตรกรของยุโรป พร้อมใจกันลุกฮือ ออกมาเดินประท้วงต่อต้านและขับรถแทรกเตอร์มาจอดขวางถนน เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อมาตรการสีเขียวหรือนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลยุโรป ซึ่งการประท้วงนี้ยืดเยื้อยาวนานมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้วในยุโรป เช่น กรีซ เยอรมนี โปรตุเกส โปแลนด์ เบลเยียม โรมาเนีย สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส
เกษตรกรเล่าว่า หลังรัฐบาลออกมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งบนบก และทางน้ำ รวมไปถึงเน้นมาที่ภาคเกษตรที่มีส่วนในการปล่อยเรือนกระจก นั่นเลยทำให้พวกเขาเผชิญหน้ากับราคาขายที่ลดลง ต้นทุนสูงขึ้น กฎระเบียบที่เข้มงวด ผู้ค้าปลีกหรือเอกชนมีอำนาจครอบงำ มีหนี้ มีการแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและกดราคาถูกกว่าสินค้าในประเทศมากเกินไป รวมถึงวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้ยุโรปเผชิญกับความแห้งแล้งมาอย่างยาวนาน จนผลผลิตไม่ได้คุณภาพและปริมาณตามเป้า
ต้นทุนของเกษตรกร โดยเฉพาะพลังงาน ปุ๋ย การขนส่ง ได้เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ในขณะที่รัฐบาลและเอกชนผู้ค้านึกถึงแต่ผลกระทบของค่าครองชีพผู้บริโภค ราคาอาหารแพงขึ้น แต่กลับไม่นึกถึงต้นทางว่าผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารคือกลุ่มเกษตรกร ที่ต้องได้รับการเยียวยาด้วยเช่นเดียวกัน
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ที่มีการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตรราคาถูกจำนวนมากจากยูเครน สหภาพยุโรปจึงสละโควตาและภาษีอากรให้หลังยูเครนถูกรัสเซียรุกราน ส่งผลให้เกิดการกดราคาผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศเสียเอง และเกษตรกรมองว่าเป็นการแข่งขันไม่เป็นธรรม ซ้ำร้าย นอกจากจะละเว้นภาษีสินค้านำเข้าแล้ว ยังระงับการลดภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อการเกษตรของพวกเขาแทน
แรงงานเกษตรจากโปแลนด์คนหนึ่งกล่าวว่า “เมล็ดพืชยูเครนควรไปในปลายทางที่เป็นเจ้าของ อย่างในตลาดเอเชียหรือแอฟริกา ไม่ใช่ยุโรป”
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือสภาพอากาศสุดขั้วปีที่แล้วและปีนี้ยังคงโจมตียุโรปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายพื้นที่เผชิญหน้ากับภัยแล้งรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตทางการเกษตร
แหล่งน้ำบางแห่งทางตอนใต้ของสเปนมีความจุเพียง 4% ในขณะไฟป่าได้กวาดฟาร์มในกรีซไปแล้วประมาณ 20% แต่อย่างไรก็ตาม รัฐยังจำกัดการใช้น้ำเพื่อการเกษตรจากแม่น้ำตากัส ซึ่งเป็นสายแม่น้ำที่ยาวที่สุดในคาบสมุทรไอบีเรียของสเปนด้วย
รัฐมองว่า ภาคเกษตรกรรมซึ่งคิดเป็น 11% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหภาพยุโรป จำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการสีเขียวเพื่อทำให้กลุ่มประเทศในยุโรปบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2050
นโยบายเกษตรร่วม (CAP : The Common agricultural policy) เป็นระบบเงินอุดหนุนมูลค่า 55 พันล้านยูโรต่อปี เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารของยุโรป ถูกพักไว้มานานกว่า 60 ปีแล้ว นั่นเลยทำให้ฟาร์มในยุโรปลดลงมากกว่า 1 ใน 3 นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ฟาร์มขนาดใหญ่มีหนี้สินท่วมหัว กำไรต่ำ และฟาร์มขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันได้
นอกจากนี้รัฐยังกำชับในเรื่องของการใช้ยาฆ่าแมลงให้ลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 ลดการใช้ปุ๋ยลง 20% จัดสรรที่ดินเพื่อใช้นอกการเกษตรมากขึ้น เช่น ทิ้งให้รกร้างหรือปลูกต้นไม้ที่ไม่เกิดผล รวมถึง เพิ่มการผลิตแบบออร์แกนิกเป็น 2 เท่าให้ได้ 25% ของพื้นที่เกษตรกรรมในสหภาพยุโรปทั้งหมด
ซึ่งตรงนี้ที่เกษตรกรมองว่ามันไม่สมเหตุสมผลและเคร่งครัดเกินไป นโยบายสีเขียวไม่ยุติธรรม ไม่สามารถอยู่รอดได้ในเชิงเศรษฐกิจ
รัฐบาลแห่งชาติได้ออกมาประกาศว่าจะดำเนินขั้นตอนดังนี้
สุดท้าย คำถามสำคัญทั้งการแก้ปัญหาเกษตรกรและแก้ปัญหาโลกเดือดจาก กาเบรียล อัททาล นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส คือ เราจะผลิตให้มากขึ้นและดีขึ้นได้อย่างไร? เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อไปอย่างไร? เราจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศอย่างไร?
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง