กินได้จริงอ่ะ!? นักวิทย์คิดค้น ไอศกรีมรสวานิลลา ทำจากขยะพลาสติก เป็นอาหารจากพลาสติกชิ้นแรกของโลก ที่นักออกแบบก็ยังไม่ได้เคยได้ลิ้มลองมัน เอ๊ะ ยังไง ละกินได้ไหม?
เป็นเครั้งแรกของโลกเลย ที่เราได้ยินคำว่า “อาหารทำจากขยะพลาสติก” เพราะนี่เป็นผลงานอันน่าทึ่งของ Eleonora Ortolani นักศึกษาปริญญาโทสาขา Material Futures ในการผลิตโครงงานปีสุดท้ายของเธอ ที่โรงเรียนการออกแบบ Central Saint Martins
แนวคิดของการนำพลาสติกมาทำเป็นอาหารกินได้เป็นอะไรที่ดูบ้าบิ่นมาก ๆ แต่เธอก็ทำมันออกมาได้ ออร์โตลานีทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์เพื่อนำพลาสติกจำนวนเล็กน้อยมาลองย่อยสลายในห้องแล็บ แล้วเปลี่ยนมันให้กลายมาเป็นวานิลลิน โมเลกุลของรสชาติวานิลลา และเมื่อเธอนึกถึง วานิลลา สิ่งที่เธอนึกถึงต่อมาคือไอศกรีม ของหวานที่เธอชื่นชอบ
ดังนั้น เธอจึงมองหาวิธีที่แตกต่างออกไปในการผลิตผลงาน ว่ามีวิธีใดบ้างที่มนุษย์จะสามารถกินพลาสติกและกำจัดมันทิ้งไปตลอดกาลได้
ออร์โตลานี ได้พบกับ Hamid Ghoddusi ผู้นำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารของ London Metropolitan University และ Joanna Sadler นักวิทยาศาสตร์การวิจัย ซึ่งทีมงานของมหาวิทยาลัย Edinburgh ซึ่งร่วมกันผลิตและออกแบบผลงานชิ้นนี้ออกมา และในที่สุดพวกเขาก็ทำมันได้ โดยใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสังเคราะห์วานิลลินออกจากพลาสติก
ปกติแล้ว วานิลลินสังเคราะห์มีขายให้บริโภคได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาเก็ตอยู่แล้ว เนื่องจากมีราคาถูกกว่าวานิลลินธรรมชาติ ซึ่งวานิลลินสังเคราะห์มักจะผลิตจากน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก
ดังนั้น เมื่อเอนไซน์ตัวแรกไม่มีการเชื่อมโยง มันก็จะไม่ใช่พลาสติกอีกต่อไป และมันจะกลายเป็นโมโนเมอร์ เธอได้จำลองกระบวนการสังเคราะห์ที่ได้รับสิทธิบัตรในนามนักวิทยาศาสตร์ ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด จากการทดลองเธอได้สารที่ให้กลิ่นเหมือนวานิลลาทุกประการ
แต่ในความเป็นจริงของเรื่องนี้ เธอและนักวิทยาศาสตร์ทุกคนไม่มีใครเคยชิมมันสักครั้ง!
แม้ว่าโมเลกุลนี้ค้นพบจะมีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมาะกับวานิลลาสังเคราะห์ทุกประการ แต่ก็ถือว่าทั้งหมดนี้คือส่วนผสมใหม่ที่จะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหาร และนักวิทยาศาสตร์ไม่แนะนำให้เธอชิมจนกว่าจะผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้วมีประกาศออกมาว่า กินได้อย่างปลอดภัย
ที่มาข้อมูล