svasdssvasds

ญี่ปุ่น เน้นพัฒนาพื้นที่ราบ ดึงคนย้ายไปอยู่ แต่ลืมพัฒนาแผนรับมือน้ำท่วม?

ญี่ปุ่น เน้นพัฒนาพื้นที่ราบ ดึงคนย้ายไปอยู่ แต่ลืมพัฒนาแผนรับมือน้ำท่วม?

ญี่ปุ่น เน้นพัฒนาต่างจังหวัด ดึงคนย้ายไปอยู่ แต่ลืมพัฒนาแผนรับมือน้ำท่วม?ญี่ปุ่น เน้นพัฒนาต่างจังหวัด ดึงคนย้ายไปอยู่ แต่ลืมพัฒนาแผนรับมือน้ำท่วม?

จังหวัดอิชิกาวะในประเทศญี่ปุ่นเผชิญอุทกภัย และดินถล่มตากฝนที่ตกหนัก ทำให้ขณะนี้มีการรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ปริมาณน้ำฝนในเมืองวาจิมะคือ 500 มม. ส่วนเมืองซูซุมีน้ำฝนเกือบ 400 มม. ซึ่งเป็นสถิติปริมาณน้ำฝนที่สูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกมา

เบื้องต้นทางการสั่งปิดถนน 38 จุดใน 17 เส้นทางเพื่อความปลอดภัย คาดการณ์ว่าบ้านเรือนประชาชนกว่า 4,500 หลังคาเรือนจะไม่มีไฟฟ้า-น้ำใช้ ทางฟากของ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่น

น้ำท่วมญี่ปุ่น 2567 Credit Reuters

เหตุการณ์ในครั้งนี้นำมาสู่คำถามที่ว่าเหตุใดญี่ปุ่นจึงไม่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดี (มากพอ) จนมีผู้เสียชีวิต เท่าที่ทราบคือญี่ปุ่นมีระบบเตือนภัยดีเป็นอันดับต้น ๆ จากการจัดอันดับของHyogo Framework Disaster Risk Progress Score ซึ่งถือเป็นประเทศเอเชียเพียงประเทศเดียวที่ติดท็อป 10

น้ำท่วมญี่ปุ่น 2567 Credit Reuters

คำถามเมื่อครู่อาจคลี่คลายขึ้นจากรายงานชิ้นใหม่ของ Nikkei Asia โดยเสนอข้อสันนิษฐานว่า “การพัฒนาเมือง” อาจมีส่วนทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ แม้จะมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าอย่าง J-Alert ก็ตาม

รายงานดังกล่าวมีชื่อว่า Japan’s exacerbated by urban development เนื้อหาชี้ไปยังนโยบายการพัฒนาเมืองที่เอื้อให้ประชาชนอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ราบลุ่ม และพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา

น้ำท่วมญี่ปุ่น 2567 Credit Reuters

ในปี 2563 มีประชาชนกว่า 24.59 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเสี่ยงภัยน้ำท่วม เทียบกับปี 2538 ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน 23.83 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.6 แสนคน

จะเข้าใจสภาพสังคม และเหตุผลของการโยกย้าย ต้องย้อนกลับไปในปี 2543 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ เน้นพัฒนาเมืองตามต่างจังหวัดให้มีความศิวิไลซ์ และเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งบริเวณเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม

น้ำท่วมญี่ปุ่น 2567 Credit Reuters

ผลที่ตามมาคือเมื่อบริเวณนั้น ๆ ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ บรรดาโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ การขนส่ง หรือธุรกิจก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด และเมื่อเป็นเช่นนี้ คนจึงหลั่งไหลกันมาอยู่เพื่อทำมาหากิน มีการสร้างอาคารบ้านเรือนมากมาย

แต่บรรดาธุรกิจที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าว ไม่ได้มีแผนรับมืออุทกภัยโดยส่วนใหญ่เตรียมตัวรับมือกับภัยแผ่นดินไหวมากกว่า มีรายงานว่ามีธุรกิจเพียง 50% ที่มีการทำแผนรับมืออุทกภัยในพื้นที่ราบต่ำ

แต่หารู้ไม่ว่า ความสูญเสียจากน้ำท่วมมีมูลค่าสูงกว่าแผ่นดินไหวหลายเท่า โดยเว็บไซต์ statista ระบุว่า ในปี 2563 ความเสียหายจากน้ำท่วม และดินโคลนในญี่ปุ่นสร้างความเสียหายอยู่ที่ 286.73 ล้านเยน หรือประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่แผ่นดินไหวคิดเป็น 28.67 ล้านเยน หรือประมาณ 6.5 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ ชาวญี่ปุ่นคงต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ว่านโยบานการพัฒนาเมืองของรัฐที่ใช้อยู่นั้นสอดคล้องกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่เผชิญในปัจจุบันมากน้อยแค่ไหนง

 

ที่มา: Nikkei Asia

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related