svasdssvasds

ส่องระบบ "ขนส่งมวลชนไทย" ดีพอหรือยัง? หากรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ

ส่องระบบ "ขนส่งมวลชนไทย" ดีพอหรือยัง? หากรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ

พามาส่องระบบขนส่งมวลชนไทย ว่าดีพอหรือยัง? หากการรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ คนหันมาใช้บริการสาธารณะมากขึ้น ขนส่งมวลชนไทยจะรองรับได้หรือไม่ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ

SHORT CUT

  • ต้องยอมรับว่าประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานดีจะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวก สบาย
  • การรณรงค์ให้คนไทยใช้รถยนต์ส่วนตัวและให้ไปใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น หากคนแห่ไปใช้ระบบขนส่งมวลชนสูงขึ้น
  • ดังนั้นระบบระบบขนส่งมวลชนไทยจะต้องดีพอเพื่อรองรับคลื่นผู้คนมหาศาลที่จะแห่ไปใช้บริการระบบขนส่งมวลชน

พามาส่องระบบขนส่งมวลชนไทย ว่าดีพอหรือยัง? หากการรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ คนหันมาใช้บริการสาธารณะมากขึ้น ขนส่งมวลชนไทยจะรองรับได้หรือไม่ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ

ประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานดีจะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวก สบาย และมีทางเลือกที่มากขึ้น แต่…เทรนด์การเดินทางทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการรณรงค์ Car-Free Day ซึ่งตรงกับ 22 กันยายนของทุกปี คือ วันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) ไอเดียรักษ์โลกให้คนตระหนักถึงมลพิษทางอากาศ ที่มีแนวโน้มจึงเพิ่มขึ้นทุกวันนี้ จึงเกิดเป็นวันสำคัญที่รณรงค์ให้ผู้คนหันมาเดินเท้า ปั่นจักรยาน และเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ให้มีการลดใช้พลังงาน วันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการรณรงค์ลดการใช้รถส่วนบุคคล

แน่นอนว่าการรณรงค์ให้คนไทยใช้รถยนต์ส่วนตัวให้ลดลงเพื่อลดมลพิษ และให้ไปใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น หากคนแห่ไปใช้ระบบขนส่งมวลชนสูงขึ้น ดังนั้นระบบระบบขนส่งมวลชนไทยจะต้องดีพอเพื่อรองรับคลื่นผู้คนมหาศาลที่จะแห่ไปใช้บริการระบบขนส่งมวลชน วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปเช็กดูว่าระบบระบบขนส่งมวลชนไทยดีพอหรือยังที่จะรองรับ ผลของ Car Free Day

ซึ่งโฟกัสมาที่พื้นที่กรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองใหญ่เมืองหลวงของไทย ซึ่งมีการขนส่งคมนาคมจำนวนมาก โดยหลักๆมีดังนี้

  • รถไฟฟ้า BTS
  • รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
  • แอร์พอร์ต เรล ลิงก์
  • รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT
  • รถเมล์โดยสารประจำทาง
  • เรือด่วน
  • รถตู้
  • รถไฟ
  • เครื่องบิน
  • ทางด่วน
  • รถแท็กซี่
  • รถตุ๊กตุ๊ก
  • วินมอเตอร์ไซค์
  • อื่นๆ

ทั้งนี้หากโฟกัสไปที่ขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่คนกรุงเทพฯใช้บริการกันมาก นั่นก็คือรถไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยก็มีรถไฟฟ้าหลายสาย หลายเส้นทางทั้งที่ให้บริการแล้ว กำลังก่อสร้าง และอยู่ในแผนงานในอนาคต ข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางราง เผยว่า 30 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จำนวน 87,633 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 42,678 คน-เที่ยวสูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการมา (นิวไฮ) และหลังจากมีนโยบายอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา

โดยก่อนหน้านี้มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) สูงสุดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมาจำนวน 87,352 คน-เที่ยว และมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงสูงสุดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาจำนวน 41,319 คน-เที่ยว ทั้งนี้ สำหรับในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ซึ่งเป็นวันศุกร์สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 มีผู้ใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้น 1,864,801 คน-เที่ยว ประกอบด้วย

  • 1.รถไฟระหว่างเมืองของ รฟท. ให้บริการเดินรถไฟ 210 ขบวน มีผู้ใช้บริการรวม 85,970 คน-เที่ยว แบ่งเป็นขบวนรถเชิงพาณิชย์ 30,929 คน-เที่ยว และขบวนรถเชิงสังคม 55,041 คน-เที่ยว
  • 2. รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1,778,831 คน-เที่ยว ประกอบด้วย
  • รถไฟฟ้า Airport Rail Link ให้บริการ 227 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 7 เที่ยววิ่ง) จำนวน 79,018 คน-เที่ยว
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ให้บริการ 294 เที่ยววิ่ง จำนวน 42,678 คน-เที่ยว สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง
  • รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ให้บริการ 321 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 3 เที่ยววิ่ง) จำนวน 87,633 คน-เที่ยว สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ให้บริการ 505 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 27 เที่ยววิ่ง) จำนวน 523,504 คน-เที่ยว
  • รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว (สายสุขุมวิทและสายสีลม) ให้บริการ 1,240 เที่ยววิ่ง จำนวน 918,113 คน-เที่ยวรถไฟฟ้า BTS สายสีทอง ให้บริการ 219 เที่ยววิ่ง จำนวน 8,181 คน-เที่ยว
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองให้บริการ 276 เที่ยววิ่ง จำนวน 48,035 คน-เที่ยว
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูให้บริการ 276 เที่ยววิ่ง จำนวน 71,669 คน-เที่ยว

ส่องระบบ \"ขนส่งมวลชนไทย\" ดีพอหรือยัง? หากรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ

อย่างไรก็ตามที่ได้เปิดใช้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายใน 2 โครงการ ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้โดยสารให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567) เพิ่มขึ้น 26.32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จากข้อมูลยัง ระบุว่า รถไฟชานเมืองสายสีแดง มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 51.15% และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เพิ่มขึ้น 17.39% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน ปริมาณผู้โดยสารยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้โดยสารประจำเดือนกรกฎาคม 2567 พบว่า มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง รวม 2,166,099 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ที่มีผู้ใช้งานจำนวน 2,014,473 ราย ขณะที่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง มีผู้ใช้บริการรวม 982,825 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2567 ที่มีผู้ใช้บริการ 899,389 ราย

ส่องระบบ \"ขนส่งมวลชนไทย\" ดีพอหรือยัง? หากรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ

มาดูกันที่การขนส่งทางอากาศประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการบินที่ดี สนามบินหลากหลายได้มาตรฐานรองรับเที่ยวบินจากต่างประเทศ โดยล่าสุดปี2567 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท.ได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายการเดินอากาศ (Air Operating Licence) หรือ AOL ให้แก่ สายการบินรายใหม่ของไทย จำนวน 9 สายการบินแล้ว ได้แก่

  • เรียลลี คูล แอร์ไลนส์ ของ นายพาที สารสิน
  • P 80 air ของตระกูลมหากิจศิริ
  • พัทยา แอร์เวย์
  • สยามซีเพลน
  • แลนดาร์ช แอร์ไลน์
  • เอเชีย แอทแลนติก แอร์ไลน์
  • กรุงเทพ เฮลิคอปเตอร์ เซอร์วิสเซส ของเจ้าสัวปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่ไลเซ้นท์เดิมหมดอายุเพิ่งจะมาต่อใหม่
  • อวานติ แอร์ ซาร์เตอร์
  • เอเชี่ยน แอร์โรสเปซ เซอร์วิส

สำหรับทั้ง 9 สายการบินในขณะนี้ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาการออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate) หรือ AOC เพื่อให้สามารถปฏิบัติการบินได้ โดยคาดว่าจะเริ่มทำการบินได้ ภายในปีหน้า ภายใต้การลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,850 ล้านบาท เพื่อชิงตลาดอุตสาหกรรมธุรกิจการบินสัญชาติไทยที่มีมูลค่าตลาดราว 3.2 แสนล้านบาทก่อนเกิดโควิด แต่จากโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจหดตัว โดยในปี 2565 พบว่ามีมูลค่าราว 1.2-1.3 แสนล้านบาท คิดเป็น 40% ของมูลค่าอุตสาหกรรมโดยรวมในปี 2562 และในปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง

ส่องระบบ \"ขนส่งมวลชนไทย\" ดีพอหรือยัง? หากรณรงค์ Car-Free Day สำเร็จ

ส่วนระบบการขนส่งมวลชนอื่นๆ รถไฟก็มีการเปิดเชื่อมโยงจากกรุงเทพฯไปยังต่างประเทศมากขึ้น เช่นล่าสุดได้มีการเปิดการเดินรถไฟจากกรุงเทพอภิวัฒน์ถึงเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) และจะมีการเปิดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ – บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง สหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อเชื่อมต่อการเดินของชาวไทยและชาวมาเลเซียให้ไปมาหาสู่กันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ

ส่วนการโดยสารด้วยรถเมล์ในพื้นที่กรุงเทพก็มีทั้งการบริการของขสมก. และรถร่วมเอกชน ที่มีมากมายหลายเส้นทาง หากมองดูดีๆขนส่งมวลชนไทยถือว่ามีความพร้อมดีพอสมควรที่จะรองรับคนเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัวเพื่อโลกที่น่าอยู่มากขึ้น ลดการปล่อยมลพิษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

related