SHORT CUT
ประเด็นข้าว 10 ปี กินได้มั้ย? ยังเป็นประเด็นดราม่า นายกฯ 'เศรษฐา' และ “ภูมิธรรม”โชว์กินข้าว 10 ปี” แล้วบอกว่ากินได้ อร่อยดี ซึ่งนักวิชาการ ออกมาเตือน ระวังสารก่อมะเร็ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการทำนาข้าว 1 ไร่ ปล่อยก๊าซมีเทนประมาณ 1,000 กิโลกรัมคาร์บอน
กลายเป็นประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคมเรื่องข้าว 10 ปี กินได้มั้ย? หลัง นายกฯ 'เศรษฐา' และ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีพาณิชย์ โชว์กินข้าว 10 ปี” แล้วบอกว่ากินได้ อร่อยดี จากนั้นมีนักวิชาการจำนวนมาก ออกมาโพสต์เตือนให้ระวังสารก่อมะเร็ง อย่างเช่น นายวีรชัย พุทธวงศ์ หรือ "อ.อ๊อด" อาจารย์ นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยนักวิชาการท่านนี้ ได้โพสต์เฟซบุ๊กข้อความว่า “กินกันไปได้อย่างไรข้าว 10 ปีสีเหลืองอ๋อย กลิ่นเหม็นสาป อย่างน้อยต้องตรวจหาเชื้อราสารพิษ อะฟลาท็อกซินก่อน ตัวนี้กินสะสมนานทำให้เกิดมะเร็ง ผลตรวจออกแล้ว ห้ามกินเด็ดขาด ส่วนการตรวจด้านเคมีจะทำวันจันทร์ที่จะถึงนี้ แต่จะบอกสั้นๆ ว่าตัวเมทิลโปรไมด์ที่ใช้รมควันกำจัดมอดลักษณะทางกายภาพก็สีเหลืองเช่นกัน”
สำหรับประเด็นข้าว 10 ปี กินได้มั้ย? นักวิชาการส่วนออกมาเตือนว่าห้ามรับประทาน ตรงกันข้ามกับภาครัฐที่ออกมาชิมโชว์ ประเด็นนี้ก็ยังคงเกิดดราม่ากันอยู่ แต่…คุณรู้หรือไม่ว่าการที่ชาวนาทำนามีผลต่อโลกร้อนด้วยนะ พวกคุณรู้กันหรือเปล่า ศูนย์ข่าว Climate Center รายงานว่า การทำนาในบ้านเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 55 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรทั้งหมด ทำให้นาข้าวของไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนั้นการทำนาเปียกทำให้เกิดก๊าซมีเทนมากกว่าก๊าซคาร์บอนถึง 28 เท่า ชาวนาจึงตกเป็นผู้ต้องหาก่อโลกร้อน
ทั้งนี้การทำนาข้าว 1 ไร่ ปล่อยก๊าซมีเทนประมาณ 1,000 กิโลกรัมคาร์บอนและเกิดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ากับการใช้น้ำมันตั้งแต่ 1 - 100 ลิตร เมื่อย่อยภาพลงมาถึงมื้ออาหาร ข้าวแต่ละมื้อไม่น่าเชื่อว่า ข้าวสวย 1 จานที่เรากินมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยข้าวหอมมะลิ 1 ถุง ประมาณ 5 กิโลกรัมจากผลผลิตชาวนาปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ หรือก๊าซเรือนกระจกมากถึง 39 กิโลกรัมคาร์บอน ขณะที่การทำเกษตรกรรมปล่อยก๊าซมีเทนประมาณ 13 กิโลกรัมต่อไร่
อย่างไรก็ตามไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่า 64 ล้านไร่ และภาคเกษตรมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15.69% หรือคิดเป็นปริมาณ 58,486.02 กิกะกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียมเท่า (GgCO2eq) โดยมาจากการเพาะปลูกพืชเกษตร 77.57% การทำปศุสัตว์ 22.43% การเผาไหม้ชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 2.92% การใส่ปุ๋ยยูเรีย 2.86 %
สำหรับปัญหาการทำนา แล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ทำโครงการ Thai Rice NAMA หรือการทำนาลดโลกร้อน ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (2561-2566) เพื่อดำเนินงานพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกร 1 แสนครัวเรือนในเขต 6 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.8 ล้านไร่
โดยโครงการทำนายั่งยืนดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนและประยุกต์การทำนาแบบดั้งเดิมของไทยผ่าน 4 วิธีหลัก ได้แก่
สำหรับการวัดผลโครงการดังกล่าวในช่วงปี 2561-2564 ที่ผ่านมาโครงการนี้สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวได้กว่า 305,000 tCO2e และสามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ชาวนาในสุพรรณบุรีมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตให้บริษัทในสหรัฐฯ ถึง 800 บาทต่อไร่ต่อปี
นอกจากนั้นจากการใช้ระบบ MRV ในตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกทำการวิเคราะห์และประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเปรียบเทียบนาข้าวทั้ง 6 จังหวัดก่อนเริ่มโครงการมีปริมาณ 1.22 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี หลังทำโครงการ 4 ปี พบว่าก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวปลดปล่อยลดลง 0.87 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี หรือ 29% ต่อฤดูทำนา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง