svasdssvasds

นวัตกรรมล้ำๆ "โคมไฟเปลี่ยนสี" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำรู้ผลทันที

นวัตกรรมล้ำๆ "โคมไฟเปลี่ยนสี" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำรู้ผลทันที

นักออกแบบชาวดัตช์ Ermi van Oers ได้สร้าง Pond ซึ่งเป็นโคมไฟลอยน้ำที่ใช้จุลินทรีย์ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดคุณภาพน้ำ ให้เปลี่ยนเป็นสเปกตรัมของสีต่างๆได้

SHORT CUT

  • Pond หรือ โคมไฟลอยน้ำมีแนวคิดคือ "ให้น้ำส่งเสียง" หากเรารับรู้ถึงอารมณ์ของธรรมชาติ เราก็จะมีความเห็นอกเห็นใจ และเราสามารถดูแลมันได้”
  • หากน้ำสะอาดหรือที่เรียกว่ามีความสุข ไฟ LED จะเป็นแสงสีน้ำเงินเป็นจังหวะ
  • หากน้ำมีมลพิษ หรือแบบเดียวกับอารมณ์โกรธ จะเปลี่ยนเป็นสีแดง แสงจะดู “ช้าและเหนื่อย”

นักออกแบบชาวดัตช์ Ermi van Oers ได้สร้าง Pond ซึ่งเป็นโคมไฟลอยน้ำที่ใช้จุลินทรีย์ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเซ็นเซอร์ที่สามารถวัดคุณภาพน้ำ ให้เปลี่ยนเป็นสเปกตรัมของสีต่างๆได้

ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา ผู้เยี่ยมชมบริเวณส่วนจัดแสดงอูฐ ภายในสวนสัตว์รอตเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ อาจสังเกตเห็นโดมเรืองแสงแปลก ๆ สามโดมลอยอยู่บนผิวน้ำของทะเลสาบ โดมเหล่านี้อาจดูเหมือนงานศิลปะที่ให้แสงสว่างเรื่องแสงได้ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเครื่องมือที่มีวัตถุประสงค์มากกว่าเป็นเครื่องประดับสวยๆ

"โคมไฟเปลี่ยนสี" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำ

โดม หรือ โคมไฟเปลี่ยนสีเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นโดยนักออกแบบผลิตภัณฑ์ Ermi van Oers ในโปรเจ็กต์ที่เรียกว่า POND (การออกแบบโดยใช้พลังแห่งธรรมชาติ-Power Of Nature-based Design) โดยมีแนวคิดคือ "ให้น้ำส่งเสียง" และสร้างบทสนทนาระหว่างมนุษย์ และโลกธรรมชาติ

van Oers เจ้าของสตูดิโอออกแบบชีวภาพชื่อ Nova Innova กล่าวว่า

“บ่อยครั้งที่เราพบว่าการดูแลธรรมชาติเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่สามารถสื่อสารกับธรรมชาติได้ เราไม่รู้ว่าธรรมชาติต้องการอะไร หากเรารับรู้ถึงอารมณ์ของธรรมชาติ เราก็จะมีความเห็นอกเห็นใจ และเราสามารถดูแลมันได้”

นวัตกรรมล้ำๆ \"โคมไฟเปลี่ยนสี\" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำรู้ผลทันที

วิธีอ่านค่าจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำ จากโคมไฟเปลี่ยนสี

ในกรณีนี้ “อารมณ์” เทียบเท่ากับสุขภาพน้ำ หากน้ำสะอาดหรือที่เรียกว่ามีความสุข ไฟ LED ใต้น้ำที่ติดตั้งอยู่ภายในโดมจะสว่างขึ้นเป็นแสงสีน้ำเงินเป็นจังหวะ

หากน้ำมีคุณภาพไม่ดี มีมลพิษ หรือแบบเดียวกับอารมณ์โกรธ น้ำจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และแสงจะดู “ช้าและเหนื่อย” โดมนี้จึงสามารถแปลคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ และในรูปแบบที่ดึงดูดสาธารณชนได้มากกว่าอุปกรณ์ตรวจวัดทั่วไปที่ผู้เชี่ยวชาญใช้อยู่ในปัจจุบัน

นวัตกรรมล้ำๆ \"โคมไฟเปลี่ยนสี\" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำรู้ผลทันที โดมนี้ยังสามารถวัดระดับ pH อุณหภูมิ การนำไฟฟ้า ออกซิเจนละลายน้ำ และความขุ่นของน้ำ (ความใสของน้ำ) จากนั้นแปลข้อมูลเป็นการไล่ระดับสี ขึ้นอยู่กับสถานะทางนิเวศวิทยาของน้ำ เพื่อกำหนดระดับความสะอาดที่แตกต่างกัน โดย Van Oers ได้ปรึกษากับคณะกรรมการน้ำหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์ และในที่สุดก็ได้จำลองกรอบการทำงานที่ใช้ในการวัดคุณภาพน้ำ

แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ "ไฟฟ้าที่มาจากน้ำ" นั่นเอง ซึ่งในการจ่ายไฟให้กับเซ็นเซอร์และไฟ LED Van Oers ใช้สิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ โดยพลังงานจะถูกสร้างขึ้นโดยจุลินทรีย์ที่พบในน้ำ โดมทั้งสามเชื่อมต่อกับเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ (MFC) ที่ทำจากสักหลาดคาร์บอนและเซรามิก และตั้งอยู่ที่ด้านล่างของทะเลสาบ เช่นเดียวกับแบตเตอรี่ที่เก็บและปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาเคมี เซลล์เหล่านี้จะสลายสารประกอบอินทรีย์และปล่อยอิเล็กตรอนเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า

นวัตกรรมล้ำๆ \"โคมไฟเปลี่ยนสี\" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำรู้ผลทันที

แนวคิดจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำ 

จุดเริ่มต้นในการใช้จุลินทรีย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1911 เมื่อนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ไมเคิล พอตเตอร์ พิสูจน์ว่าจุลินทรีย์สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าและส่งกระแสไฟฟ้าได้ เทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้ในทศวรรษ 1960 ขณะที่ NASA ทดลองเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นไฟฟ้าในภารกิจอวกาศ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา MFC ยังถูกนำมาใช้ในโรงบำบัดน้ำเสียเพื่อกำจัดมลพิษขณะผลิตกระแสไฟฟ้าหลายแห่ง

ที่สวนสัตว์รอตเตอร์ดัม MFC ทั้ง 6 แห่งสามารถสร้างแสงต่อเนื่องได้ประมาณ 30-80 นาทีต่อวัน พร้อมทั้งตรวจวัดคุณภาพน้ำทุกๆ ชั่วโมง Van Oers ตั้งโปรแกรมให้โดมเปิดในเวลาพลบค่ำ เหมือนกับนกที่ออกหากินกลางคืนที่ตื่นขึ้นมาเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน

นวัตกรรมล้ำๆ \"โคมไฟเปลี่ยนสี\" ใช้พลังจุลินทรีย์ วัดคุณภาพน้ำรู้ผลทันที

จุดประสงค์ของโครงการนำร่องนี้ ยังไม่เน้นการวัดคุณภาพน้ำ แต่เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโดมในสภาพแวดล้อมจริง ถึงกระนั้น Van Oers ก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดเก้าเดือน ในฤดูร้อน เธอกล่าวว่าโดมเปลี่ยนเป็นสีแดงเพราะทะเลสาบปกคลุมไปด้วยสาหร่าย ซึ่งสามารถดูดออกซิเจนในขณะที่เน่าเปื่อยและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ในฤดูหนาว เมื่อคุณภาพน้ำดีขึ้น โดมต่างๆ มักจะเรืองแสงเป็นสีเขียวอมฟ้า

หลังจากนี้ Van Oers ต้องการนำ Pond ไปยังพื้นที่สาธารณะทั่วเมือง รอตเตอร์ดัม รวมถึงเธอยังได้พูดคุยกับเมืองอื่นๆ ในเนเธอร์แลนด์ ทั้งอูเทรคต์ ไอนด์โฮเฟน และอัมสเตอร์ดัม โดยหวังให้ผู้คนได้เห็นว่าพฤติกรรมของพวกเขามีอิทธิพลต่อคุณภาพน้ำอย่างไร

ที่มา

related