svasdssvasds

ระวัง! กรุงเทพฯ เตรียมร้อนระอุ ดัชนีความร้อน 47.5 องศา อยู่ในระดับอันตราย

ระวัง! กรุงเทพฯ เตรียมร้อนระอุ ดัชนีความร้อน 47.5 องศา อยู่ในระดับอันตราย

ไม่นานมานี้ กรมอุตุนิยมวิทยาเพิ่งประกาศว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ วันนี้ (28 ก.พ.67) ประกาศค่าดัชนีความร้อนออกมาแล้ว 28 - 29 ชาวบางนา ชลบุรี ภูเก็ต เตรียมตัวให้ดี เพราะดัชนีความร้อนแตะระดับอันตราย

ชาวบางนาเตรียมตัวให้พร้อม 28 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 เตรียมเหงื่อไหลเป็นน้ำ หลังกรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อน หรือ Heat Index (อุณหภูมิที่คนรู้สึกได้ถึงอากาศร้อนในขณะนั้น)

นอกจากบางนาแล้ว กรุมอุตุฯ ยังเผยค่าดัชนีความร้อนสูงสุดของทุกภาคทั่วไทยเอาไว้ดังนี้ 

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567

– ภาคเหนือ: อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ 31.9 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเฝ้าระวัง

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จ.สุรินทร์ 31.1 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเฝ้าระวัง

– ภาคกลาง: เขตบางนา กรุงเทพฯ 43.6 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

– ภาคตะวันออก: จ.ชลบุรี 44.4 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

– ภาคใต้: จ.ภูเก็ต 42.8 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567

– ภาคเหนือ: จ.ตาก 31.3 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเฝ้าระวัง

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา 32.6 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับเฝ้าระวัง

– ภาคกลาง: เขตบางนา กรุงเทพฯ 47.5 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

– ภาคตะวันออก: จ.ชลบุรี 46.3 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

– ภาคใต้: จ.ภูเก็ต 42.6 องศาเซลเซียส อยู่ในระดับอันตราย

ระวัง! กรุงเทพฯ เตรียมร้อนระอุ ดัชนีความร้อน 47.5 องศา อยู่ในระดับอันตราย

ทั้งนี้ ค่าดัชนีความร้อนระดับเฝ้าระวังเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน สามารถแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1. ระดับ “เฝ้าระวัง” ค่าดัชนีความร้อนอยู่ที่ 27.0 - 32.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เมื่อสัมผัสความร้อน และทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการเบื้องต้น เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่นจากความร้อน บวมจากความร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย นำไปสู่การเกิดตะคริวจากความร้อนได้

2. ระดับ “เตือนภัย” ค่าดัชนีความร้อนอยู่ที่ 33.0 - 41.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เมื่อสัมผัสความร้อน และทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเพลียแดด (Heat exhaustion) และเป็นตะคริวจากความร้อนได้ และอาจส่งผลให้เกิดโรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat stroke)

3. ระดับ “อันตราย” ค่าดัชนีความร้อนอยู่ที่ 42.0-51.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เมื่อสัมผัสความร้อน และทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจทำให้เป็นตะคริวจากความร้อน และเกิดโรคเพลียแดดจากความร้อน (Heat exhaustion) และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat stroke) ได้ หากสัมผัสความร้อนอย่างต่อเนื่อง

4. ระดับ “อันตรายมาก” ค่าดัชนีความร้อนมากกว่าหรือเท่ากับ 52 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เมื่อสัมผัสความร้อน และทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานต่อเนื่อง มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดโรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat stroke)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related