เกร็ดน่ารู้ เต่ามะเฟือง เต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเสี่ยงสูญพันธุ์หายไปจากโลก เพราะกิจกรรมของมนุษย์ เกิดอะไรขึ้น ทำไมเต่ามะเฟืองใกล้สูญพันธุ์
ที่จริง เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจที่ประเทศไทยของเรา เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มากจนสามารถเป็นทั้งทางผ่านและที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากหลายชนิด แต่ด้วยความที่หลายครั้ง เราละเลยเรื่องเหล่านี้ไป จนท้ายที่สุด ความสำคัญก็เริ่มจางหายไป
เต่ามะเฟือง (Leatherback Turtle) ถือเป็นสัตว์ป่าหายากแห่งท้องทะเล และถือเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดตัวที่เมื่อโตเต็มวัยก็จะมีความยาวประมาณ 1.5 ถึง 2.5 เมตร และหนักได้ตั้งแต่ 250-750 กิโลกรัม บ้างก็ว่าอาจหนักได้มากถึง 900 กิโลกรัม ดำน้ำได้ลึกถึง 1,280 เมตร
กระดองเป็นแผ่นหนังหุ้ม ไม่แข็งเท่าเต่าชนิดอื่น มีจุดกระสีขาวบนกระดองสีดำ หัวใหญ่ไม่สามารถหดกลับในกระดองได้ มีร่องนูนตามยาว 7 สันบนกระดอง คล้ายผลมะเฟือง ตีนเป็นใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำ
อาหารของเต่ามะเฟือง คือ แมงกะพรุน แพลงก์ตอน และสาหร่าย ซึ่งหลายครั้งที่เต่าเห็นถุงพลาสติกเป็นแมงกะพรุนและกินเข้าไป ทำให้การย่อยอาหารล้มเหลว และตายลงในท้ายที่สุด
เต่ามะเฟืองสามารถอยู่ได้เกือบทุกมหาสมุทร อาทิ มหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งภูมิภาคที่พบเต่ามะเฟืองจะมีตั้งแต่ อลาสกา, นิว อิงแลนด์, เกาะแปซิฟิก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชายฝั่งตะวันตก
เต่ามะเฟืองมีอายุยืนยาวได้ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และอยู่ได้นานถึงเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้
การวางไข่ของเต่ามะเฟืองเพศเมีย มักจะวางไข่บนชายหาดเท่านั้น ในหนึ่งฤดูแม่เต่าจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาด 4-6 ครั้ง หลุมวางไข่ลึกประมาณ 60-80 เซนติเมตร ครั้งละ 64-104 ฟอง การพัฒนาของตัวอ่อนลูกเต่าจะใช้เวลา 55-65 วันโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อม
VU (Vulnerable) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
อดีตประเทศไทยมีประชากรเต่าทะเลเยอะ ซึ่งชาวบ้านจะนำไปใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ใช้เนื้อและไข่เป็นอาหาร กระดองเป็นเครื่องประดับ ไข่นำไปขายหรือประมูลได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเอาไปจากรังได้ 20% ที่เหลือให้เหลือรอดตามธรรมชาติ
กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากเต่าจึงหายไป เนื่องจากแม้จะเก็บไข่เต่าไปไม่กี่เปอร์เซ็นต์ก็ไม่สามารถชดเชยประชากรเต่าในธรรมชาติได้ และในขณะเดียวกันอัตราการอยู่รอดของเต่าก็ไม่ได้สูงมากอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ในความเป็นจริง โอกาสรอดของลูกเต่าที่จะรอดกลับสู่ธรรมชาติเมื่อลืมตาดูโลกนั้นมีน้อยมาก เมื่อลูกเต่าเริ่มออกจากรัง จากต้องฝ่าฟันกับศัตรูทางธรรมชาติ เช่น นกและสัตว์ตามชายหาดที่สามารถกินลูกเต่าได้
แต่ปัจจัยการตายของเต่าทะเลส่วนใหญ่มักจะมาจากหลายปัจจัย อาทิ
เต่ามะเฟืองในประเทศไทย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และมีสถานะมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ตามการประกาศของ IUCN (International Union for Conservation of Nature)
แต่เนื่องจากประชากรเต่ามะเฟืองในประเทศไทยมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงเสนอให้เต่ามะเฟืองอยู่ในสถานะ CR (Critically endangered) สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์
นายอรรถพล เจริญชันษา ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยเมื่อปี 2565 ขณะดำรงตำแหน่งว่า ก่อนหน้านั้นในปี 2561 แม้จะมีมาตรการเพื่อป้องกันการถูกรบกวนจากกิจกรรมชายหาดและมนุษย์ แต่การขึ้นมาวางไข่ของเต่ามะเฟืองยังคงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัญหาการกินขยะพลาสติก การบุกรุกพื้นที่ชายฝั่ง และการติดเครื่องมือประมง ทำให้ไม่พบการวางไข่ของเต่ามะเฟืองยาวนานเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2555-2560
แต่ในปี 2564 พบแม่เต่าขึ้นมาวางไข่หลาย 10 รังในฤดูวางไข่ ซึ่งถือว่าเริ่มเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่มีการวางไข่มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การตายของเต่ามะเฟืองยังคงมีอัตราสูง จะเห็นได้จากเคสล่าสุด ของแม่เต่ามะเฟืองท้ายเหมือง ที่ได้ตายลงจากการถูกเครื่องมือประมงพันรัดที่บริเวณลำคอทำให้จมน้ำตาย
ที่มาข้อมูล
คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อ