svasdssvasds

นักวิทย์พบ เพนกวินนอนหลับมากกว่า 10,000 ครั้งต่อวัน ขี้เซา หรือนอนไม่อิ่ม?

นักวิทย์พบ เพนกวินนอนหลับมากกว่า 10,000 ครั้งต่อวัน ขี้เซา หรือนอนไม่อิ่ม?

การงีบหลับสั้น ๆ วันละ 2-3 ครั้ง เป็นการพักสายตาที่ดีสำหรับมนุษย์ แต่ไม่พอสำหรับเพนกวิน งานวิจัยใหม่เผย เพนกวินงีบหลับมากถึงวันละ 10,000 ครั้งต่อวัน ทำไมจึงเป็นแบบนั้น?

ไม่รู้เป็นเพราะนอนไม่หลับ หรือเป็นเพนกวินขี้เซากันนะ? การศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ลงในวารสาร Science เผยว่า เพนกวินงีบหลับนับพันครั้งต่อวัน โดยสะสมความต้องการนอนหลับในแต่ละวันมากกว่า 11 ชั่วโมง  ซึ่งแบ่งเป็นช่วงสั้น ๆ โดยเฉลี่ยเพียง 4 วินาที

การคาดการณ์เบื้องต้นของนักวิทยาศาสตร์คาดว่า นี่อาจเป็นพัฒนาการของการระมัดระวังตัวของเพนกวินต่อศัตรูตามธรรมชาติก็เป็นไปได้

ง่วงนอนจัง เพนกวินสายรัดคาง เพนกวินชินสแตรป

ทีมวิจัยครั้งนี้ นำโดย พอล (Paul Antonie Libourel) จากศูนย์วิจัย Lyon Neuroscience Research Center ที่ได้ทดลองฝังอิเล็กโทรดให้กับเพนกวิน 14 ตัว บนอาณาจักรของมัน ณ เกาะ King George ทวีปแอนตาร์กติกา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019 จนถึงปี 2023 ก็เป็นเวลา 4 ปีแล้ว

การทดลองนี้ติดตามเพนกวินเพื่อบันทึกกิจกรรมคลื่นไฟฟ้าในสมองและกล้ามเนื้อคอ รวมถึงใช้มาตรเร่งและ GPS เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวและตำแหน่งของร่างกายของพวกมันว่าทำอะไรบ้างหรือไปที่ไหนบ้าง

การติดตั้งเครื่องบนตัวเพนกวิน และการรายงานผลของกระแสไฟฟ้าในระบบประสาท

เท่านั้นไม่พอ พวกเขาได้ตั้งกล้องถ่ายวิดีโอกิจวัตรของพวกมันเหมือนรายการเรียลลิตี้โชว์ และนั่นก็ทำให้พวกเขาได้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่าง

จากการศึกษาพวกมันมาแรมปี ทีมวิจัยพบว่า การงีบหลับของเพนกวินเกิดขึ้นบ่อยมากในแต่ละวัน ซึ่งคาดว่าสัมพันธ์กับช่วงเวลาของการเฝ้าไข่

เพนกวินเฝ้าไข่

เมื่อเพนกวินทำรัง เพนกวินพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวจะต้องดูแลไข่ของพวกมัน ปกป้องจากนกนักล่า ในขณะที่คู่ของมันอีกตัวจะออกไปหาอาหาร ซึ่งใช้เวลาหลายวันกว่าจะกลับมา

นอกจากต้องระวังนกที่เป็นศัตรูแล้ว พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวจะต้องปกป้องรังของมันจากเพนกวินตัวอื่น ๆ ที่พยายามเข้ามาขโมยวัสดุทำรัง ซึ่งกว่าจะพ้นช่วงเวลาแห่งความหวาดกลัวเหล่านี้ไปได้ คือต้องรอให้คู่ของมันกลับมาและเปลี่ยนบทบาทกัน จนกว่าจะถึงเวลาฟักไข่

ดังนั้น จากการสังเกตของทีมวิจัย การนอนของเพนกวินจะเกิดขึ้นขณะยืนหรือนอนเพื่อฟักไข่ ซึ่งการงีบหลับของพวกมันจะเกิดขึ้นเฉลี่ยครั้งละ 3.91 วินาที ซึ่งโดยรวมแล้วเพนกวินนอนหลับมากกว่า 10,000 ครั้งต่อวัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพนกวินที่อยู่บริเวณขอบ ๆ พื้นที่อาณาจักรจะมีช่วงเวลานอนหลับได้ยาวนานและลึกกว่าเพนกวินที่อยู่ตรงกลางอาณาจักร เนื่องจากมีเพนกวินอยู่โดยรอบทุกทิศ ทำให้เสียงรบกวนที่มากเกินไป และอาจเกิดการชนกันได้ และที่สำคัญคือต้องระแวงการแย่งชิง จึงทำให้อัตราการนอนหลับสั้นกว่า และสะดุ้งตื่นได้ง่าย

ยิ่งอยู่ท่ามกลางเพนกวินตัวอื่น ๆ ยิ่งหลับยาก

อย่างไรก็ตาม นักวิทย์ยังไม่ได้สำรวจเพิ่มเติมว่า การนอนหลับแบบนี้ดีหรือแย่ต่อสุขภาพของพวกมัน เพราะหากเป็นมนุษย์ ภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ มีผลต่อการรับรู้ กระตุ้นให้เกิดโรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ได้ แต่สิ่งที่แน่ชัดคือ ช่วงเวลาแห่งความเงียบงันของเส้นประสาทจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการพักผ่อนและการฟื้นตัว

นักวิทย์ทิ้งท้ายไว้ว่า หากเรามองเพนกวินให้เหมือนมนุษย์ มันก็ไม่ใช่ซะทีเดียว สิ่งที่ผิดปกติในมนุษย์อาจเป็นเรื่องปกติของสัตว์ก็ได้ อย่างน้อยก็แตกต่างกันภายใต้เงื่อนไขบางประการ จากการที่เราถูกรังสรรค์ออกมาไม่เหมือนกัน

เกี่ยวกับเพนกวินชินสแตรป

เพนกวินชินสแตรป (Pygoscelis antarcticus) เป็นสายพันธุ์เพนกวินที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด มีสีดำตลอดหัวไปจนถึงแผ่นหลังและหาง แต่จะมีเส้ยสีดำบาง ๆ คาดรัดระหว่างคาง เหมือนเป็นสายรัดคาง ส่วนที่เหลือจะเป็นสีขาว

ประชากรปัจจุบันของพวกมันมีอยู่ประมาณ 8 ล้านคู่ผสมพันธุ์ เราสามารถพบพวกมันได้บนคาบสมุทรแอนตาร์กติกและหมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้

ที่มาข้อมูล

Science Alert

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related