กรมอุตุนิยมวิทยา เตรียมประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 66 บริเวณภาคใต้ยังมีฝนฟ้าคะนองอย่างต่อเนื่อง อุณหภูมิต่ำสุดที่ 24°c ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑลอุณหภูมิต่ำสุด 24°c เช็กสภาพภูมิอากาศในพื้นที่อื่น ๆ ได้ที่นี่
หน้าหนาวไทย 66 เริ่มเมื่อไหร่?
กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ในปีนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ หรือในช่วงปลายเดือนตุลาคม 66 และหนาวลากยาวไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 67
แล้วกรมอุตุฯ จะประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวนาวเมื่อไหร่?
เนื่องจากในปีนี้ ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝนช้า พลอยทำให้หน้าหนาวของไทยช้าตามไปด้วย อย่างที่สำนักข่าว Spring News เคยรายงาน ผลกระทบจากเอลนีโญทำประเทศไทยเข้าหน้านาวช้าลง 2 สัปดาห์ ซึ่งปกติแล้วต้องเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
แต่กรมอุตุฯ แจ้งว่าจะประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 66 แม้อากาศในบางพื้นที่จะเริ่มต่ำลงแล้ว แต่ต้องบอกว่าตอนนี้ประเทศไทยยังไม่เข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ เพราะกรมอุตุฯ ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณากันอยู่
ซึ่งเกณฑ์การพิจารณ์การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทยมีดังนี้
วันที่ 2 – 8 พ.ย. 66 ที่ไหนเริ่มหนาวแล้วบ้างเช็กเลย!
วันที่ 2-5 พ.ย. 66 กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 10% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดที่ 25°c
วันที่ 6-8 พ.ย. 66 กรุงเทพฯ และปริมณฑล เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 60% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดที่ 24 °c
วันที่ 2 - 5 พ.ย. 66 จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และราชบุรี มีฝนฟ้าคะนอง 10 – 20% ของพื้นที่ อุณหภูมิลดต่ำสุดที่ 23 °c
วันที่ 6 - 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคกลาง เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 40% ของพื้นที่ และมีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 23 °c
วันที่ 2 - 5 พ.ย. 66 จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 10 – 20% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดที่ 23 °c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคตะวันออก เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 30 – 40% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 24°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน และแพร่ เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง 20% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 19°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 30% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 21°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก พิจิตร เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง 10 - 20% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 22°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 30 - 40% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 23°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดบึงกาฬ หนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และชัยภูมิ เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง 10% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 20°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 10 - 20% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 20°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง10 - 20% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 24°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 20 - 40% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 24°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดเพชรบุรี ประขวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง 30 - 60% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 24°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตอนบน เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 30 - 40% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 25°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง 30 - 60% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 25°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 30 - 40% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 25°c
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66 จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เตรียมพบฝ้าฟ้าคะนอง 40 - 70% ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 23°c
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66 บริเวณพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก เตรียมพบฝนฟ้าคะนอง 40 - 70% ของพื้นที่ มีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 23°c
กรมอุตุฯ เตือน
วันที่ 2 – 5 พ.ย. 66
ขอให้ประชาชนบริวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 66
ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา
เนื้อหาที่น่าสนใจ