svasdssvasds

SVOLT Energy จับมือ Banpu NEXT ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ผลิตแบตฯ​ EV ตั้งเป้าส่งออก

SVOLT Energy จับมือ Banpu NEXT ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ผลิตแบตฯ​ EV ตั้งเป้าส่งออก

SVOLT Energy ปัจจุบันลงทุนในประเทศไทยกว่า 12,000 ล้านบาท เพื่อผลิตชุดแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าปีละ 49,000 ชิ้น หรือ 1.44 GWh สำหรับโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ GWM

SHORT CUT

  • SVOLT Energy ผู้ผลิตแบตฯ EV ให้กับ GWM ร่วมจับมือกับบ้านปูเน็กซ์ ลงทุนรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท
  • การร่วมมือของบริษัท SVOLT Energy และ Banpu NEXT คาดว่าจะเพิ่มอัตราการจ้างแรงงานในประเทศไทย
  • SVOLT ยังมีแผนที่จะชักชวนซัพพลายเออร์เจ้าอื่นๆมาลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่มเติมด้วย ซึ่งล่าสุดมี Foxconn บริษัท OEM ชั้นนำของโลกเข้ามาร่วมด้วย

SVOLT Energy ปัจจุบันลงทุนในประเทศไทยกว่า 12,000 ล้านบาท เพื่อผลิตชุดแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าปีละ 49,000 ชิ้น หรือ 1.44 GWh สำหรับโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ GWM

SVOLT ร่วมจับมือกับ Banpu NEXT กางแผนลงทุนรวมกว่า 20,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันเดิมทีบริษัท SVOLT Energy ลงทุนในไทยกว่า 1,200 ล้านบาท ผลิตแบตเตอรี่ EV ให้กับบริษัท GWM 

SVOLT Energy จับมือ Banpu NEXT ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ผลิตแบตฯ​ EV ตั้งเป้าส่งออก

ซึ่งแผนลงทุนใหม่ที่ได้ร่วมกับ Banpu NEXT ในเฟสที่ 2 นั้นน่าสนใจมาก เพราะ SVOLT Energy ได้ร่วมลงนาม MOU ร่วมทุนกับบ้านปู โดยบ้านปูถือหุ้น 40% มูลค่ากว่า 18,878 ล้านบาท ต้องการที่ดิน 187.5 ไร่ โดยมีแผนการผลิตดังนี้

  • ผลิต Energy Storage System (ESS) สำหรับที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค เริ่มผลิตในปี 2568-2569
  • ผลิตแบตเตอรี่เซลล์ 8 GWh เพื่อส่งออก สู่ประเทศเอเชียแปซิฟิก เช่น อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ออสเตรเลีย เริ่มผลิตในปี 2568 

นอกจากนั้น SVOLT Energy และ บ้านปู เน็กซ์ ยังมีซัพพลายเออร์อื่นๆ เช่น Foxxcon และบริษัทเทคโนโลยีรีไซเคิล ซึ่งมีแผนที่จะชักเชิญคู่ค้าเจ้าอื่นๆเข้ามาร่วมลงทุนในอนาคตด้วย 

SVOLT Energy จับมือ Banpu NEXT ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ผลิตแบตฯ​ EV ตั้งเป้าส่งออก จากการลงทุนครั้งใหญ่ของบริษัท SVOLT Energy และบ้านปูเน็กซ์ รวมมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อผลิตชุดแบตเตอรี่และแบตเตอรี่เซลล์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

SVOLT Energy จับมือ Banpu NEXT ลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ผลิตแบตฯ​ EV ตั้งเป้าส่งออก ทำให้มีโอกาสที่ไทยจะก้าวขึ้นเป็น EV Hub หรือศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคต โดยปัจจัยสนับสนุนมีดังนี้ 

  • ความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดศูนย์กลางการขนส่งในอาเซียน
  • มีฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอยู่แล้ว
  • แรงงานที่มีทักษะและค่าแรงยังถูกกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
  • นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคและความท้าทายบางประการ เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบและแร่ธาตุสำหรับผลิตแบตเตอรี่, ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและการขนส่ง วรมถึงการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านที่พยายามดึงดูดการลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

ส่วนผลกระทบต่อคนไทยนั้น โดยรวมถือเป็นเรื่องดีที่จะได้รับการลงทุนจำนวนมหาศาลในอุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งจะสร้างงานและรายได้จำนวนมากให้กับคนไทย รวมถึงได้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา แต่อาจมีผลกระทบด้านลบจากมลพิษจากกระบวนการผลิต และความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งจะต้องจัดการด้วยมาตรการที่เหมาะสม

โดยรวมแล้ว หากสามารถบริหารจัดการได้ดี การลงทุนครั้งนี้น่าจะช่วยสร้างโอกาสให้ไทยได้ก้าวเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน และได้รับประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการพัฒนาเทคโนโลยี

ที่มา : thaigov

related