บขส. กางแผนจัดหารถเมล์ไฟฟ้า 75 คัน วงเงินกว่า 597 ล้านบาท ทยอยส่งมอบล็อตแรก ก.พ. 67 เปิดยอดผู้โดยสารปี 66 มีกว่า 36,000 คนต่อวัน เป็นเงินกว่า 1.9 พันล้าน ไม่พอ! เล็งดันยอดผู้โดยสารปี 67 ทะลุ 45,000 คน หวังเพิ่มรายได้ 30%
ท้องถนนเตรียมคึกคัก! ในยุคที่พลังงานมีราคาค่างวดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเทรนด์รักษ์โลกก็กำลังมาแรง นั่นทำให้ขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์จำเป็นต้องปรับตัวขนานใหญ่
ล่าสุด นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมเดินทางมาตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายบขส. ภายในวันที่ 3 พ.ย. 2566
ทางด้านบขส. ได้เตรียมแผนการจัดการหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) จำนวน 75 คัน วงเงินรวมกว่า 597 ล้านบาท
ปัจจุบัน กระบวนการจัดหารถเมล์ไฟฟ้าอยู่ระหว่างการกำหนดราคากลาง ถูกคาดการณ์ว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการภายในเดือนตุลาคม 2566 และในเดือนพฤศจิกายน 2566 จะมีการเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) บขส. อีกครั้ง
จากนั้นก็เตรียมเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ และเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญา เพื่อให้เอกชนได้ดำเนินการประกอบรถต่อไป
แผนการจัดหารถเมล์ไฟฟ้าในครั้งนี้ มีระยะการเช่าสัญญาที่ 5 ปี โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าล็อตแรกภายในเดือนเมษายน 2567 รถโดยสารพลังงานไฟฟ้าในล็อตแรกมีทั้งหมด 48 คัน
ประกอบไปด้วย รถมินิบัส ขนาดไม่ต่ำกว่า 27 ที่นั่ง จำนวน 27 คัน และรถโดยสารขนาดใหญ่ ขนาดไม่ต่ำกว่า 36 ที่นั่ง จำนวน 21 คัน ส่วนรถมินิบัสพลังงานไฟฟ้าที่เหลือ 27 คัน และคาดว่าจะส่งครบภายในปี 2567
เส้นทางการเดินรถของรถเมล์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (ไม่ต่ำกว่า 36 ที่นั่ง) มีทั้งสิ้น 7 เส้นทางได้แก่
เส้นทางการเดินรถของรถมินิบัสพลังงานไฟฟ้า (ไม่ต่ำกว่า 27 ที่นั่ง) มีทั้งเส้น 5 เส้นทางได้แก่
“แผนการจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ บขส.ในครั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการลดค่าใช้จ่ายให้กับ บขส. และที่สำคัญ ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ที่เดินทางกับ บขส. ในเส้นทางที่มีระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร (กม.) ด้วย” นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ กล่าว
นอกจากนี้ สรพงศ์ยังกล่าวเพิ่มอีกว่าผลการดำเนินงานบขส. ในปี 2566 สามารถช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากงบประมาณปี 2565 เม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท เหตุจากรัฐบาลได้เปิดประเทศ ทำให้มีจำนวนผู้ใช้รถโดยสารเพิ่มขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับปี 2565
อีกหนึ่งเหตุผลคือ ประชาชนมีความไว้วางใจในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ด้วยขนส่งสาธารณะมากขึ้น นั่นทำให้ในปี 2566 บขส. มีรายได้อยู่ที่ 1,900 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้วที่มีรายได้ราว 1,300 บาท
นอกจากนี้การการลดเส้นทางการเดินรถของบางพื้นที่ลง สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 400 ล้านบาท รวมถึงมีการปรับความถี่ของการให้บริการเดินรถในจังหวัดที่การท่องเที่ยวคึกคักด้วยเช่น จังหวัดภูเก็ต
“ปัจจุบันบขส. ยังคงอยู่ในสภาวะที่ขาดทุนสุทธิประมาณ 219 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงปี 2562 บขส.มีรถให้บริการประมาณ 800 คันและมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 80,000 คนต่อวัน แต่ในปัจจุบันพบว่ามีผู้โดยสารใช้บริการเหลือประมาณ 32,000 คนต่อวัน โดยบขส.พยายามประคองตัวในการลดจำนวนรถที่ให้บริการด้วยการคืนสัญญาเช่ารถ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก แต่ยังดำเนินการให้บริการในเส้นทางหลักตามเดิม” สรพงศ์กล่าว
ในปี 2566 พบว่ามีจำนวนผู้โดยสารที่ตบเท้าเข้ามาใช้บริการรถสาธารณะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 35,000 – 36,000 คนต่อวัน เทียบกับในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถสาธารณะอยู่แค่ราว ๆ 8,000 – 13,000 คนต่อวัน และในปี 2567 คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะพุ่งไปที่ 40,000 – 45,000 คนต่อวัน จะส่งผลให้บขส. มีรายได้เพิ่มอยู่ที่ 10 – 30%
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา บขส. จำเป็นต้องลดรายจ่ายลง และหารายได้เพิ่ม เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในการประกันราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทก็ตาม
อีกหนึ่งสถานการณ์ที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ ครม. ได้อนุมัติให้บขส. สามารถดำเนินการขนส่งพัสดุได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว บขส. ได้ร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีการให้บริการอยู่แล้ว
จากนั้น บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัดก็จะรับพัสดุต่อจากบขส. เพื่อนำส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับ โดยมีการนำร่องให้บริการไปแล้ว 2 จังหวัดได้แก่ ชลบุรี และสุพรรณบุรี
จากร่วมมือครั้งนี้ ทำให้บขส. สามารถทำรายได้จากการขนส่งพัสดุกว่า 200 ล้านบาท โดยบขส. คาดว่าจะต้องปรับปรุงในการให้บริการขนส่งพัสดุมากขึ้น คาดว่าในปี 2567 – 2568 บขส. จะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 200 ล้านบาท
อดใจรอกันอีกสักนิด อีกไม่นานคาดว่าเราจะได้มีรถเมล์ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อวันนั้นมาถึง โปรดทำใจให้ชินเพราะรถเมล์อาจหน้าตาไม่เหมือนแบบที่เราคุ้นเคย
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง