svasdssvasds

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

รถมอเตอร์ไซค์เป็นเสมือนยานพาหนะสามัญประจำบ้านของคนไทย และจากข้อมูลของ Pew Research Center เผยว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้มอเตอร์ไซค์มากที่สุดในโลก ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่สังคมไร้มลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ มีแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งคิดเป็นจำนวน 650,000 คันภายในปี 2030 ปัจจุบันผู้คนหันมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตของยอดขายกว่า 100% ในปีที่ผ่านมา

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

ดังนั้นเรื่องแบตเตอรี่ สถานีชาร์จ รวมถึงระยะเวลาในการชาร์จ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกังวล นี่จึงเป็นที่มาของ BATT SWAP แพลตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐาน แบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ฝีมือคนไทย ที่ออกแบบมาเพื่อลดระยะเวลาในการชาร์จแบตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แค่เปลี่ยนแบตก็ไปต่อได้ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที อายุการใช้งานของแบตเตอรี่อยู่ที่ 5 ปี ซึ่งก็แล้วแต่การใช้งาน นอกจากนี้เมื่อแบตหมดอายุการใช้งานสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถใช้กับเครื่องมืออย่างอื่นได้ เช่น เครื่องตัดหญ้า ช่วยให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ลดการสร้างขยะ และลดค่าใช้จ่าย

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

ข้อดีของ Battery Swapping Platform (BATT SWAP)

  • แพ็กแบตเตอรี่รูปแบบเดียวกันใช้ได้กับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นหลายผู้ผลิต รวมถึงใช้งานสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้หลากหลาย
  • เกิดการร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานของสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ของแต่ละผู้ให้บริการเพื่อลดราคาการติดตั้งตู้สถานีหลายแห่ง
  • มีความสะดวกต่อผู้ใช้บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ต้องการสับเปลี่ยนแพ็กแบตเตอรี่มากขึ้น
  • ลดค่าใช้จ่ายรวมของผู้ใช้งานบริการสถานีสับเปลี่ยน
  • ราคาต้นทุนของการพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าลง เนื่องจากสามารถเป็นการพัฒนาแยกส่วนกันได้
  • ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ล่าสุดที่สถานีสับเปลี่ยน
  • รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะหัวหน้าโครงการ "โครงการวิจัยและพัฒนาแพล็ตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย" ได้ให้ข้อมูลว่า แบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานจากมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแล้ว อาจจะเอาไปใช้กับอื่นได้อีก ใช้กับเครื่องมือได้หลากหลาย อย่าง เครื่องตัดหญ้า ยานยนต์สามล้อ หรือแล้วแต่เลยว่าจะเอาไปใช้อะไรได้อีก ซึ่งอันนี้เป็นพื้นฐานเลยสำหรับการเอาไปต่อยอดอุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศไทย

เรื่องการใช้งานหลายคนสงสัยว่าแบตเตอรี่นี้จะใช้ได้นานขนาดไหน? ดร.พิมพา เผยว่า ตอนนี้ได้ทำการทดสอบตัวแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานของเรา ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานได้เกิน 5 ปี จะเหมือนกับแบตเตอรี่ยานยนต์ทั่วไป แต่สุดท้ายเกิน 3-5 ปีใช้งานกับมอเตอร์ไซค์ไม่ได้แล้ว มันไม่ได้หมายความว่าจะใช้งานกับอย่างอื่นไม่ได้ อย่างเช่น เราสามารถใช้แบตเตอรี่นี้กับโซลาร์เซลล์ได้ หรือจะใช้กับปั๊มน้ำก็ได้ เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าต่ำกว่ามอเตอร์ไซค์ อย่างมอเตอร์ไซค์ของ GPX ใช้กำลังไฟ 7 กิโลวัตต์ แต่ไฟฟ้าบ้านเราใช้ไม่ถึง 5 กิโลวัตต์ อย่างนี้เป็นต้น  

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

ซึ่งก็จะสามารถสร้างมูลค่า ยืดอายุของตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบตเตอรี่ ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีมูลค่าค่อนข้างสูง ถ้าเราเอาไปทิ้งเลยก็เสียดายกว่าจะทำมาได้ เราสามารถลดก๊าซคาร์บอนได้โดยการยืดอายุการใช้งานโดยนำไปใช้ต่อ อีกทั้งเมื่อแบตเตอรี่มีมาตรฐานมารับรอง ก็จะทำให้คนมั่นใจในการเอาไปรีไซเคิลใช้งานต่อ

ในส่วนของเรื่องการทดสอบ เราใช้เวลาทดสอบในแล็บมากกว่า 6 เดือน ปีนี้เราทดสอบใช้ในมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามาแล้วหลายร้อยกิโลเมตร เราตั้งใจที่จะทำงานวิจัยให้ออกมาใช้ได้จริง โดยการไปคุยกับผู้ผลิตพลาสติกอย่างเต็มรูปแบบ ออกแบบดีไซน์ให้ใช้งานง่าย แล้วก็ไปทดสอบมาตรฐานที่เป็น International เรื่องความปลอดภัย การใช้งาน แล้วก็ทดสอบการใช้งานจริงกับมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแพ็กแบตเตอรี่นี้ โครงการมอเตอร์ไซค์ได้โมดิฟายมาบางส่วนเพื่อสำหรับการทดสอบในโครงการนี้

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

นอกจากนี้ ดร.พิมพา ยัง กล่าวอีกว่า อายุการใช้งานแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน จำนวน Cycle ที่ชาร์จ ความร้อน จำนวนการเร่งบ่อยแค่ไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในทางวิชาการเราสามารถออกแบบได้ว่าจะจำกัดอะไรอย่างไร แพลตฟอร์มนี้ต่อไปเราจะดูในเรื่องของข้อมูลร่วมกันได้ รู้พฤติกรรมการใช้งานว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะออกแบบให้สมกับราคาและการใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด พร้อมกับส่งเสริมการใช้งานที่ดีกับสิ่งแวดล้อม

จุดประสงค์ของการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้เราต้องการเพิ่มสถานีชาร์จ และต้องการให้รถมอเตอร์ไซค์หลายรุ่นสามารถชาร์จด้วยกันได้ เหมือนกับโทรศัพท์ข้ามค่าย ซึ่งอันนี้ก็ swap ข้ามค่ายเป็น Service ใหม่อีกอันที่เป็นองค์ประกอบของตัวแพ็กแบตเตอรี่นี้

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานพิธีเปิด “การทดสอบภาคสนามจากผลงานโครงการวิจัยและพัฒนาแพล็ตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย” พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ศาสตราจารย์ ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล ผู้แทนผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และอนุกรรมการแผนงานกลุ่มระบบคมนาคมแห่งอนาคต ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช. ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล หัวหน้าโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธีเปิดการทดสอบภาคสนามฯ ณ ลานจอดรถ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี

"โครงการวิจัยและพัฒนาแพล็ตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย" เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของ 9 องค์กร ได้แก่ 

  • สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นผู้ให้ทุน
  • บริษัท เบต้า เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด
  • บริษัท จีพี มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • บริษัท ไอ-มอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ให้ทุนร่วม
  • ดำเนินการวิจัยและพัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้นต้องการผลักดันให้เกิดมาตรฐานเทคนิคกลางระหว่างแบตเตอรี่ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ตู้ประจุไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในประเทศไทย ส่งเสริมให้ผู้ให้บริการด้านแบตเตอรี่ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และตู้ประจุไฟฟ้าในแต่ละราย สามารถดำเนินการระหว่างกันได้ผ่านมาตรฐานกลางที่วางไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งาน มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การถือครองมอเตอร์ไซค์ แพ็กและสถานีประจุไฟฟ้า

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

อีกทั้งยังมุ่งหวังว่าจะส่งผลให้เกิดการใช้งานยานยนต์ที่สะดวกอย่างแพร่หลายและเกิดอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตนเองได้ภายในประเทศ โดยในโครงการได้มีต้นแบบเกิดขึ้น คือ ต้นแบบแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยน 1 รุ่น ที่ใช้งานกับต้นแบบมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2 รุ่น 2 ยี่ห้อ และต้นแบบสถานีสับเปลี่ยน 3 สถานี ซึ่งติดตั้งสถานีชาร์จที่บริเวณหน้าศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี, ปั๊มน้ำมันบางจาก เอกมัย-รามอินทรา คู่ขนาน 4 กรุงเทพมหานคร และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี โดยจากนี้จะทดสอบต้นแบบทั้งหมดที่พัฒนาจากข้อกำหนดร่วมในสภาวะการใช้งานจริง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะความเป็นไปได้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับประเทศไทยต่อไป

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

BATT SWAP ต้นแบบสถานีสลับแบตมอไซค์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย เร็วสะดวก

related