แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 66 จะเติบโตได้ ดร.ศุภชัย อดีตผอ.องค์การการค้าโลกเผย พลังงานสะอาดต้องเยอะกว่านี้ ต่างประเทศเตรียมพร้อมกันแล้ว เราต้องพร้อมรับมือวิกฤตพลังงานด้วย
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เครือเนชั่น นำโดย โพสต์ทูเดย์ และเนชั่นทีวี ช่อง 22 ชวนฟังมุมมองทิศทางธุรกิจให้เดินหน้าและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มกำลัง ในเวที อนาคตประเทศไทย Economic Drives #เศรษฐกิจไทย สตาร์ทอย่างไรให้ก้าวนำโลก ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
ในช่วงแรกเป็นการกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยได้รับเกียรติ จาก ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขธิการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) อดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวในหัวข้อ Start Today เศรษฐกิจไทย สตาร์ทอย่างไร ให้ก้าวนำโลก
ดร.ศุภชัย ได้กล่าวว่า "ห้องทดลองคือโลก เราต้องเรียนรู้จากสิ่งที่เกิด เราต้องนำมาร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกันและเดินไปด้วยกัน ไม่ต้องบอกว่าใครควรเดินตามใคร แต่จับมือไปด้วยกัน ต้นปี 2000 เรามีวิกฤตฟองสบู่ นายทุนมากเกินไป มีปัญหาเรื่องเทคโนโลยี ปี 2009 เรามีปัญหาการเปิดตลาดเสรีอย่างไม่มีขอบเขตบของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบการเงินทั่วโลก 10 ปีให้หลังเรากำลังฟื้นตัว แต่ก็ต้องเจอกับโคโรนาไวรัส"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำไมไทยค่าไฟแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ก.พลังงานแจงเพราะไฟฟ้าไทยมีคุณภาพ
พลังงานความเย็นจาก LNG หนึ่งในการพัฒนาพลังงานเพื่อความยั่งยืนของ PTTLNG
รถเมล์ร่วม รถเมล์เอกชน เปลี่ยนเป็นรถอีวี (รถ EV) โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสได้
จีนผลักดัน พลังงานสีเขียว-คาร์บอนต่ำ สัดส่วนพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น
คนบนโลกตอนนี้มี 7,000 ล้านคน การทำนายนาคตทำให้คนลุกขึ้นมาต่อสู้กัน แต่สิ่งที่ยากคือเราเกือบทำนายเหตุการณ์ของโลกไม่ได้ค่อยได้ น้อยมากที่จะมีคนทำนายได้ นักเศรษฐศาสตร์จึงต้องระวังตัว ด้วยการทำนายว่าปีนี้จะเป็นแบบนี้เสมอ
ความตึงเครียดในเรื่องพลังงานน้อยลง น้ำมันและค่าไฟมีราคาถูกลงก็จริง แต่ก็ยังเกิดการแข่งขันนโยบายของไบเดน ได้เปลี่ยนการลงทุนครั้งใหญ่โดยได้ทำงานทุ่มงบประมาณ 5 แสนล้านเหรียญไปกับพลังงานสะอาด อเมริกาและยุโรปต่างก็กำลังสนับสนุนพลังงานสะอาด แต่แตกต่างกันตรงที่ อเมริกาให้กำลังอุดหนุนผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้พลังงานสะอาดและให้รางวัลแก่ผู้ใช้พลังงาน แต่ทางยุโรปใช้กฎหมายและกติกาเป็นการลงโทษผู้ที่ทำร้ายโลก
ด้วยเหตุนี้สิ่งที่ประเทศไทยควรทำจึงมี 3 ประการหลักดังนี้
ประการแรก นโยบายการเงินในปีนี้ เราจำเป็นต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่าเอาเงินไปดึงเศรษฐกิจ คนมีรายได้น้อยต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กต้องได้โอกาสทางการศึกษาและวัคซีนครบ
ประการที่สอง สิ่งไม่แน่นอนในอนาคต เราต้องสร้างสมดุลของเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีคนอายุ 60 ปีเกิน 20% เราชะลอการเกิดได้สำเร็จเกิดคาด ดังนั้นค่าใช้จ่ายสนับสนุนกสำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพให้คนทำงาน และที่สำคัญคือ เราต้องไม่สนับสนุนแค่ Soft Power แต่ต้องเป็น Creative Economy สนับสนุนให้มีการสร้างแอนิเมชัน การบริการดิจิทัล วัฒนธรรมต่าง ๆ เราต้องช่วยกันส่งเสริม
ประการที่สาม สถานการณ์ตึงเครียด เราต้องพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน วางแผนการลงทุนที่คุ้มค่า เราต้องมีความพร้อมในเรื่องของพลังงาน อาหาร และสุขภาพ พลังงานยุโรปพึ่งพลังงานจากรัสเซีย จนต้องซื้อจากอเมริกา เกือบหนาวตายเหมือนกัน
ดังนั้น พลังงานสะอาดเราต้องพร้อม ในด้านของอาหาร เราเคยเป็นแหล่งอาหารโลก แต่มีรายงานบอกว่า ความมั่นคงด้านอาหารของเราถูกลดอันดับไป 13 อันดับแล้ว โดยมีปัจจัยหลักมาจากความยั่งยืน ดังนั้นเราก็ต้องทำให้อาหารของเรายั่งยืนด้วย และในด้านของสุขภาพ เราแข็งแกร่งมากเรื่องสาธารณะสุข แต่เราไม่มีใบรองรับในเรื่องของยา เรามีปัญหาเรื่อง Essencial Medical ดังนั้นเราต้องสนับสนุนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง