ION ENERGY เผย โซลาร์เซลล์ นวัตกรรมลดค่าไฟมาแรงและไทยมีมานานแล้ว มาก่อนหลายประเทศ แต่ดันแพ้เวียดนามที่เป็นน้องใหม่ ทำไมถึงแพ้ และทำยังไงให้โซลาร์เซลล์เข้าถึงง่าย?
โซลาร์เซลล์ หนึ่งในนวัตกรรมาแรงด้านพลังงานสะอาดทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นพลังงานที่ถูกกล่าวขานว่าจะช่วยลดค่าไฟ อันเป็นปัจจัยค่าใช้จ่ายหลักของทุกครัวเรือนในประเทศ แต่ปัจจุบันค่าไฟมีราคาแพง ดังนั้น โซลลาร์เซลล์จึงมีบทบาทอย่างมาก ในการเข้ามาเป็นทางเลือกการใช้พลังงานให้กับคนไทย แต่ทำไม ไทยยังไม่ก้าวหน้าเรื่องนี้ บทความนี้มีคำตอบ
วันนี้ (21 ธันวาคม 2565) เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ ได้เปิดเวทีสัมนาส่งท้ายปี Next Step Thailand 2023 ทิศทางแห่งอนาคต ณ ห้องแกรนด์ บอลลูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ โดยใน Session 1 เสวนาในหัวข้อ Innovation Driving The Future ได้มีแขกรับเชิญคือ คุณพีรกานต์ มานะกิจ ประธานอำนวยการ บริษัท ไอออน เอเนอร์ยี่ จำกัด และ นพ.พิเชฐ ผนึกทอง ผู้อำนวยการงานคุณภาพ และผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลไทยนครินทร์
แต่ในบทความนี้ เราจะมาเจาะการพูดคุยในเรื่องของอนาคตของโซลาร์เซลล์ กับคุณพีรกานต์ มานะกิจ กัน แต่ก่อนอื่นต้องปูพื้นฐานของธุรกิจ ION Energy ก่อนว่าคืออะไร ทำอะไรบ้าง หน้าที่ของไอออน เอนเอนเนอร์ยี่ เป็นผู้จัดหาพลังงานทดแทน โดยใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ และเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท บางกอกเคเบิ้ล ซึ่งเป็นผู้บุกตลาด และจัดตั้งบริษัทโซลาร์ เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย โดยได้ติดตั้งไปแล้วกว่า 110 เมกะวัตต์ ทั่วโลก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
พลิกที่ดินรกร้างให้เกิดประโยชน์สร้างเป็นฟาร์มโซลาร์เซลล์ขนาดยักษ์
ส่องเทรนด์ที่อยู่อาศัยปี 2566 เน้นความคุ้มค่า ปลอดภัย เป็นมิตรกับโลก
ชี้เป้า "โครงการ SolarPlus" ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ฟรี 500,000 หลัง
โดยรูปแบบของธุรกิจจะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักคือ การให้บริษัทลงทุนให้ในเรื่องของการติดตั้งโซลลาร์เซลล์ (PPA : Power Purchase Agreement) ที่จะทำให้คนซื้อไปจ่ายถูกลงในหลาย ๆ ด้านของการติดตั้ง หรือคือการเสนอขายไฟด้วยส่วนลดถึง 20-50% ตลอดระยะเวลาสัญญา 15 ปี โดยทาง ION Energy จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดแก่ลูกค้า
กับรูปแบบที่ 2 คือการรับเหมาจัดหา (EPC : Engineering Procurement Construction) ซึ่งจะได้ใช้ฟรีตั้งแต่วันแรก แต่การบริหารจัดการจะเป็นหน้าที่ของเจ้าของผู้ซื้อโซลลาร์ไป ตามตารางด้านล่างนี้
โซลลาร์เซลล์จะช่วยโลกได้อย่างไร?
แน่นอนว่าโซลลาร์เซลล์ เป็นนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า จะผลิตไฟฟ้าให้โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินใคร มีการคืนทุนได้ ทำให้ประหยัดมากขึ้นอย่างที่ทราบกันดี อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้พลังงานสกปรก เพราะหากถามว่า ภาคส่วนการผลิตไฟฟ้าปล่อยคาร์บอนมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับ 38% จากทุกภาคส่วน ซึ่งมากกว่าการปล่อยมลพิษฝุ่นควันจากการจราจรอีก
และทุกวันนี้ประชาชนมีความต้องการเข้าถึงการใช้หลังคาโซลาร์เซลล์มากขึ้น เพราะอยากลดค่าใช้จ่ายของค่าไฟที่สูงขึ้น หรือราคาแพง แต่การเข้าถึงนั้นยังคงยากอยู่ แต่รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของนวัตกรรมโซลาร์เซลล์ที่ส่งเสริมเป็นฟีเจอร์คุณภาพชีวิตสำหรับกลุ่มคนซื้อบ้าน
จะให้โซลาร์เซลล์ราคาถูกลง ทำยังไง? และไทยมีอุปสรรคอะไรถึงทำให้โซลาร์เซลล์ไปช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน?
ในความเป็นจริง นวัตกรรมโซลาร์เซลล์มีมานานแล้วหลายปี โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาโซลลาร์เซลล์ลดไปแล้วกว่า 90% โซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่ถูกที่สุดในโลก ตอนนี้ Cost Effective ลดลง หมายความว่าตอนนี้ถ้าอยากลงทุนพลังงานไฟฟ้าใหม่ไม่ต้องรอแล้ว เพราะเทคโนโลยีมาไกลมากแล้ว วันนี้ติดได้เลย ประหยัดก่อน ถือว่าคุ้มมากแล้ว เพราะมันจะถูกลงมาหลายเท่าจริง ๆ
หากเปรียบเทียบการเติบโตของโซลาร์เซลล์ ประเทศไทยกับเวียดนาม ซึ่ง 2 ประเทศนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะโซลาร์เซลล์ ในประเทศไทยเราคิดและมีโซลาร์มีก่อนหลาย ๆ ประเทศ มีมานานแล้วหลายสิบปี แตกต่างกับเวียดนามที่เพิ่งเข้าสู่งวงการโซลาร์เซลล์ไม่นาน แต่ปัจจุบันเติบโตก้าวกระโดดแซงหน้าเราไปไกลมาก ซึ่งทำให้เวียดนามเป็น TOP 9 ของโลกเรื่องโซลาร์เซลล์ โดยเวียดนามได้เติบโตภายใน 2 ปีมากถึง 19,300% แต่ประเทศไทย ภายใน 4 ปี เติบโตขึ้นเพียง 44% เท่านั้น
อยากได้การสนับสนุนนวัตกรรมโซลาร์เซลล์อย่างไร?
ดังนั้น ION Energy มองว่า โซลาร์เซลล์ควรได้รับการสนับสนุนมากขึ้นในประเทศไทย ก็ตามที่ได้กล่าวไป คือ ถ้ามีการสนับสนุนให้ชัดเจน เรื่องแรงจูงใจต่าง ๆ ประกาศให้มั่นคงยาวนาน ทุกคนจะได้รู้ว่ามี BIO Support กี่ปี ไม่ต้องมานั่งลุ้น ว่าจะต่อหรือไม่
มีการสนับสนุนด้านการเงินทั้งจากภาครัฐ อาจเป็นแรงจูงใจ มา หรือจะเป็นภาคธนาคาร ก็มี Green loan มา (การกู้ที่จะสามารถให้กู้ได้ก็ต่อเมื่องธุรกิจหรือการกู้มีความเกี่ยวข้องการธุรกิจสีเขียว กิจกรรมสีเขียว เป็นต้น)
และก็ในส่วนของนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการขายไฟให้กับภาครัฐ หรือจริง ๆ หลายประเทศ ต่รางประเทศเขามี peer to peer treding กันแล้ว หรือก็คือ เป็นการซื้อขายไฟกันเองระหว่างภาคเอกชน เช่น โรงพยาบาล Aไปโรงพยาบาล B ออฟฟิศ A ไปออฟฟิศ B อันนี้ก็ทำกันเองหมด ก็เป็นกลไกตลาดที่ทำให้เรารอบรับโซลาร์ได้เร็วขึ้น