svasdssvasds

รถเมล์ร่วม รถเมล์เอกชน เปลี่ยนเป็นรถอีวี (รถ EV) โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสได้

รถเมล์ร่วม รถเมล์เอกชน เปลี่ยนเป็นรถอีวี (รถ EV) โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสได้

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการเปลี่ยนรถเมล์เอกชน เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพ นำร่องโครงการคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศครั้งแรกของไทย โดย โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสฯได้หลังเปลี่ยนเป็นอีวี

ตอนนี้ใครๆก็สนใจ เทรนด์รักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการเปลี่ยนรถเมล์เอกชน เป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นำร่องโครงการ คาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศครั้งแรกของไทย โดย โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสฯได้หลังเปลี่ยนเป็นรถอีวี (EV) พร้อมส่งเสริมประชาชนได้เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะที่มีความทันสมัยลดฝุ่น PM 2.5  

ตอนนี้ การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นรถโดยสารสาธารณะ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า หรือ อีวี EV  ซึ่งไม่เพียงดีในแง่การรักษาสิ่งแวดล้อม ลดฝุ่น ลดฝุ่นPM2.5 แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้รถไฟฟ้าครั้งนี้ ยังเป็นการสร้างกลไกคาร์บอนเครดิตที่สามารถนำไปแลกกับการเข้าถึงแห่งทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเทรนด์แห่งอนาคตด้วย 

โดยในช่วงปลายเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี(ครม.) เพิ่งมีมติเห็นชอบหนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LoA) ให้ดำเนินโครงการเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางสาธารณะของภาคเอกชนเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้คาร์บอนเครดิต ก่อนเข้าสู่กระบวนการถ่ายโอนให้กับสมาพันธรัฐสวิส  หรือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั่นเอง 

รถเมลล์ร่วม รถเมล์เอกชน เปลี่ยนเป็นรถอีวี โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ทำข้อเสนอขึ้นไป ซึ่งระบุว่าการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงฯ จะส่งเสริมให้ ไทยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานเพื่อนำมาต่อยอดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุ NDC ของไทย หรือ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally determined contributions)และสามารถเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

รถเมลล์ร่วม รถเมล์เอกชน เปลี่ยนเป็นรถอีวี โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสได้

โครงการฯ รถเมลล์ร่วม รถเมล์เอกชน เปลี่ยนเป็นรถอีวี โอนคาร์บอนเครดิตไปสวิสได้ นั้น  เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านจากรถโดยสารสาธารณะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นรถโดยสารสาธารณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ครอบคลุมเส้นทางเดินรถโดยสารไฟฟ้า ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางจากกรมการขนส่งทางบก โดยคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก 100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/คัน/ปี หรือ 500,000 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-2573  (10 ปี)  

โดยโครงการนี้ ยังจะเป็นการ ส่งเสริมให้ประชาชน ได้เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะที่มีความทันสมัย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษต่ำ ลด ฝุ่น PM 2.5 เปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลเป็น พลังงานสะอาด เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของประชาชน ซึ่งช่วยให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมคุณภาพ ชีวิตและสุขภาพของประชาชนดีขึ้น

โดยโครงการนี้ นับว่าเป็นไปตามความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยและสมาพันธรัฐสวิส  ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือสำหรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ  เปิดโอกาสให้ภาคส่วนในประเทศไทยสามารถถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างราชอาณาจักรไทยและสมาพันธรัฐสวิส ช่วยต่อยอดการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา thaigov 

bangkokbiznews 

thansettakij

related