svasdssvasds

เปิด 5 เรื่องต้องรู้ นโยบายโลกร้อน “ทรัมป์” ทำให้โลก และไทย สะเทือนไม่น้อย

เปิด 5 เรื่องต้องรู้ นโยบายโลกร้อน “ทรัมป์” ทำให้โลก และไทย สะเทือนไม่น้อย

พามาทำความรู้จัก 5 เรื่องเกี่ยวกับนโยบายโลกร้อน-เศรษฐกิจสีเขียวของทรัมป์ ที่จะกระทบต่อโลก และไทย พร้อมจับตาประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP29 ที่ประเทศอาเซอร์ไบจาน

SHORT CUT

  • เชื่อหรือไม่? การหวนคืนทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจทำให้ความก้าวหน้าที่สหรัฐฯ ได้ทำเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนต้องพลิกผันอีกครั้ง
  • หลายฝ่ายหลายคนคาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement)
  • ว่า จะยกเลิกการระงับการอนุมัติโครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ใหม่ที่ส่งออกไปยังประเทศที่ไม่มีข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ทันที พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

พามาทำความรู้จัก 5 เรื่องเกี่ยวกับนโยบายโลกร้อน-เศรษฐกิจสีเขียวของทรัมป์ ที่จะกระทบต่อโลก และไทย พร้อมจับตาประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP29 ที่ประเทศอาเซอร์ไบจาน

การหวนคืนทำเนียบขาวเป็นสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจทำให้ความก้าวหน้าที่สหรัฐฯ ได้ทำเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนต้องพลิกผันอีกครั้ง เมื่อทรัมป์ ผู้ที่ไม่ใช่เรื่องโลกร้อนเลย จึงทำให้นโยบายในอดีตอาจต้องเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง จึงทำให้หลายฝ่ายหลายคนคาดการณ์ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “ความตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นเดียวกับที่เคยทำในช่วงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก

 

หลังจากเขาประกาศว่าจะเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล และจะยกเลิกการอุดหนุนเรื่องพลังงานสีเขียวซึ่งเป็นนโยบายของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ส่วนอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองอย่างใกล้ชิด คือ ผู้นำโลกจะมีการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP29 ที่ประเทศอาเซอร์ไบจาน การชนะเลือกตั้งของทรัมป์จึงถูกมองว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ในการเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการระดมทุนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

สำหรับผลกระทบต่อเนื่องมายังประเทศไทยอย่างไร “ธารา บัวคำศรี” ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยว่า

สหรัฐฯ นับว่าเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ของโลก โดยอยู่ที่ 15% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และอาจมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯอาจถอนตัวจาก “ความตกลงปารีส” และจะส่งผลต่อไทย เนื่องจากแผนของประเทศไทยที่จะเข้าไปอยู่บนเวทีเจรจานั้นถูกเตรียมไว้แล้วระดับหนึ่ง และอำนาจในการเจรจาของไทยเองก็ไม่ได้สามารถไปพลิกผลใด ๆ ในการเจรจาได้

ทั้งนี้มองว่าประชาคมโลกที่เข้าร่วมเจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ต้นมีบทเรียนจากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ นำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากความตกลงปารีสในครั้งแรก การวิเคราะห์ในระดับนานาชาติในครั้งนี้มองว่า หากสหรัฐฯ ถอนตัว อาจเปิดให้มีผู้เล่นคนใหม่เข้ามา คือ จีน เพราะจีนเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ยังอาจเป็นสหภาพยุโรป อินเดีย หรือประเทศอื่น ๆ ที่ค่อนข้างจริงจังต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยมองไทยต้องปรับทิศทางเล็กน้อย ในการสร้างจุดยืนและท่าทีในการเจรจาที่มีบทบาทของผู้เล่นที่เปลี่ยนไป

  • ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

ทรัมป์ บอกอีกว่า จะยกเลิกการระงับการอนุมัติโครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ใหม่ที่ส่งออกไปยังประเทศที่ไม่มีข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ทันที โดยอ้างถึง “ วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ” พร้อมทั้งต้องการเปิดพื้นที่อย่างเช่นเขตอาร์กติกเพื่อการขุดเจาะน้ำมัน โดยอ้างว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน พร้อมกันนี้ ทรัมป์อาจจะเป็นการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องทำเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น การยกเลิกกฎหมายปี 2016 ที่กำหนดให้บริษัทน้ำมันและก๊าซต้องตรวจสอบและจำกัดการรั่วไหลของมีเทนจากบ่อน้ำมัน และการดำเนินงานอื่น ๆ

สำหรับไทยอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ คือ จะทำให้เป็นตัวบ่อนทำลายนโยบายพลังงานของประเทศอื่น ซึ่งประเทศไทยก็มีบริษัทข้ามชาติอเมริกันอยู่เช่นกัน และรวมถึงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนั้นต้องจับตาดูว่าจะมีนัยสำคัญอย่างไรต่อทิศทางนโยบายของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้การขยายพื้นที่ขุดเจาะน้ำมันไปยังเขตอาร์กติกว่า อาจก่อความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวไม่ได้มีแค่สหรัฐฯ แต่ยังมีรัสเซีย จีน และประเทศอื่น แต่ทั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

  • โบกมือลาการอุดหนุนสีเขียวในยุค ไบเดน

สหรัฐฯ อาจชะลอกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) เพื่อลดแรงกดดันต่อธุรกิจส่งออกไทยในการปรับตัวเพื่อลดคาร์บอน ซึ่งอาจมองเป็นมุมบวกของภาคธุรกิจได้ในระยะสั้น เนื่องจากไม่ต้องเร่งลงทุนเพื่อปรับตัว แต่ก็จะส่งผลเสียต่อการผลักดันเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของไทยในระยะถัดไป โดยทรัมป์แสดงท่าทีไม่เป็นมิตรต่อโครงการพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานลม พร้อมระบุว่า จะชะลอการดำเนินการตาม IRA ต่อไป โดยเรียกชื่อว่าเป็น "กลลวงสีเขียวใหม่" สำหรับโครงการของรัฐบาลไบเดนซึ่งว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ลั่นวาจาว่า “จะยกเลิก” หรือ “อาจยกเลิก” ก็เช่น โครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง 10 โครงการ และเครดิตภาษีมูลค่า 7,500 ดอลลาร์ของ IRA สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

  • จับตาการการประชุม COP29 ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

โดยการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 หรือ COP29 ในสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 11-22 พ.ย. สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน คณะเจรจาภายใต้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะยังคงทำหน้าที่เจรจาอยู่ แต่ข้อตกลงใด ๆ ที่จะเกิดใน COP29 จะไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อรัฐบาลของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งจะมีพิธีสาบานตนในต้นปีหน้า

  • จับตาจีนผงาดขึ้นมามีบทบาทนำ เวทีเจรจาโลกร้อน

มีนักวิชาการ ชี้ว่า หากจีนกลายเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการเจรจาโลกร้อน จีนก็จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวนโยบายของประเทศอื่น ๆ ในเอเชียมากขึ้น และจีนจะเป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านพลังงานหมุนเวียน แผงโซลาเซลล์ที่นำเข้ามาในประเทศไทยทั้ง 100% น่าจะผลิตในจีน กังหันลมของบริษัทเยอรมนีหรือบริษัทในยุโรปก็ผลิตจากจีน ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่จีนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ คือการขยายตลาดมายังเอเชียแปซิฟิกให้มากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

related