SHORT CUT
ทีมนักวิจัยใช้เวลา 30 ปี เก็บตัวอย่างเลือดหมีขั้วโลก หลังจากนำมาศึกษาก็พบว่า หมีขั้วโลกกว่า 1 ใน 5 มีเชื้อไวรัสอันตราย คาดละลายออกมาพร้อมน้ำแข็ง ผลพวงจากโลกร้อน
นี่คือผลพวงจากการที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนน้ำแข็งละลาย และเมื่อน้ำแข็งละลาย เชื้อโรคอันตรายที่บรรจุอยู่ภายในมาหลายสิบถึงร้อยปี ก็แพร่ระบาดไปยังหมีขั้วโลก
โดยทีมนักวิจัยได้ตรวจสอบตัวอย่างเลือดของหมีขั้วโลกที่อาศัยอยู่ในทะเล Chukchi ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอลาสก้ากับรัสเซีย
พวกเขาวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดหมีขั้วโลกที่ได้รวบรวม ระหว่างปี 1987 ถึง 1994 จากนั้นใช้เวลา ตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2017 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดอย่างละเอียด
และทีมนักวิจัยถึงกับตะลึง เพราะหลังจากตรวจสอบเลือดหมีขั้วโลก พบว่าส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต จำนวน 1 ใน 5
ดร.แคร์รีน โรด หนึ่งในทีมวิจัย เปิดเผยว่า แม่จะตรวจพบเชื้อโรคในหมีขั้วโลก แต่ยังถือเป็นเรื่องยากที่จะทราบจากตัวอย่างเลือดว่า สุขภาพร่างกายของหมีได้รับผลกระทบอย่างไร
จากตัวอย่างเลือด ดร.แคร์รีน เผยว่า พบปรสิตสองชนิดที่ทำให้เกิดโรคท็อกโซพลาสโมซิสและนีโอสปอโรซิส และพบแบคทีเรียสองชนิดที่ทําให้เกิดโรคไข้กระต่ายและโรคบรูเซลโลซิส ทั้งยังพบไวรัสที่ทําให้เกิดโรคไข้เลือดออกในสุนัข
"ปกติแล้วหมีค่อนข้างแข็งแรงต่อโรค แต่การตรวจพบเชื้อโรคในเลือดหมีขั้วโลก บอกเราว่าทะเลอาร์กติกกำลังมีบางอย่างเปลี่ยนแปลง“ ดร.แคร์รีน กล่าว
น่าเป็นห่วงว่าในระยะยาว เชื้อโรคดังกล่าวจะส่งผลต่อสุขภาพต่อหมีขั้วโลกมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้ามีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ว่า เชื้อโรคที่ละลายออกมาพร้อมน้ำแข็งเสี่ยงต่อสุขภาพหมีขั้วโลกจริง เราคงเห็นข่าวหมีขั้วโลกเสียชีวิตอีกแน่ ๆ
ปัจจุบัน หมีขั้วโลกมีประชากรเหลืออยู่แค่ประมาณ 26,000 ตัวในโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในแคนาดา และยังพบได้ในสหรัฐฯ รัสเซีย กรีนแลนด์ และนอร์เวย์
ที่มา: BBC
ข่าวที่เกี่ยวข้อง