SHORT CUT
หมีขั้วโลก อาจต้องเจอกับความเสี่ยงสูญพันธุ์จากภาวะอดอยาก เพราะน้ำแข็งขั้วโลกละลายจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากน้ำแข็งทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย และพวกมันไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอาหารเพื่อดำรงชีพบนพื้นแผ่นดินได้
เรื่องโลกร้อนถือเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และมีผลกระทบในทุกทาง มีผลเอฟเฟกต์กับทั้งมนุษย์และสัตว์โลก รวมถึง ตอนนี้ เริ่มมีงานวิจัย ระบุว่า หมีขั้วโลก หรือ Polar bears บางส่วนกำลังเผชิญหน้ากับภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากน้ำแข็งทะเลบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย และพวกมันไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอาหารเพื่อดำรงชีพบนพื้นแผ่นดินได้
ทั้งนี้ งานศึกษา ที่ทำการศึกษาในรัฐแมนิโทบาตะวันตก ของแคนาดา และ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ พบข้อมูลว่า หมีขั้วโลก ที่อยู่บริเวณทางตะวันตกของอ่าวฮัดสัน ในแคนาดา มีน้ำหนักลดลงเมื่อใช้เวลาบนพื้นดินมากขึ้น เนื่องจากผืนน้ำแข็งทะเลละลาย
โดย กลุ่มนักวิจัย เฝ้าติดตามพฤติกรรมของหมีขั้วโลกจำนวน 20 ตัว โดยมีการติดกล้อง และ จีพีเอส ติดตามตัว เป็นเวลาหลายเดือนในช่วงฤดูร้อน และ ทำการศึกษาพฤติกรรมของหมีขั้วโลก ในช่วงเวลาที่ปราศจากน้ำแข็งในพื้นที่นี้ได้ขยายยาวนานขึ้นราวสามสัปดาห์ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณธนี้ เกิดขึ้น ระหว่างปี 1979 ถึงปี 2015 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ ในระหว่างการทำการวิจัย จะมีการตรวจตัวอย่างเลือดและชั่งน้ำหนักหมีขั้วโลกเหล่านี้แล้วด้วย ทีมวิจัยยังสวมปลอกคอที่ติดตั้งกล้องเพื่อบันทึกวิดีโอและอุปกรณ์ระบุพิกัด เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งที่พวกมันกิน
ในช่วงฤดูร้อนที่ปราศจากน้ำแข็ง หมีขั้วโลกเหล่านี้ปรับวิธีการเอาตัวรอด หมีบางตัวเน้นไปที่การพักผ่อนและลดอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
หมีขั้วโลกกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่พยายามหาอาหารจากพืช ผลไม้ตระกูลเบอร์รี หรือ ลอยว่ายน้ำหาสิ่งที่พวกมันจะพอกินได้
แต่ในทางกลับกัน วิธีการทั้งสองแบบกลับล้มเหลว โดย หมีขั้วโลก 19 จาก 20 ตัว ที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาพบว่า สูญเสียกล้ามเนื้อ ในบางกรณี พบว่าการสูญเสียกล้ามเนื้อสูงถึง 11% และอีกตัวเลขหนึ่งที่น่าตกใจคือ โดยเฉลี่ยแล้ว พวกหมีขั้วโลกน้ำหนักลดลงวันละ 1 กิโลกรัม
อีกข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับหมีขั้วโลกนั้น , ปัจจุบัน มีหมีขั้วโลกเหลือราวๆ 26,000 ตัว โดยส่วนใหญ่พวกมันอาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา นอกจากนี้ยังพบประชากรหมีขั้วโลกส่วนหนึ่งในสหรัฐฯ, รัสเซีย, กรีนแลนด์ และนอร์เวย์ และในบริเวณ อ่าวฮัดสัน ในแคนาดา ที่ทำการวิจัยนี้ ตัวเลขของหมีขั้วโลก ลดลงราวๆ 30 % นับตั้งแต่ปี 1987
หมีขั้วโลกถูกจัดอยู่ในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) โดยสภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อจำนวนประชากรที่ลดลงของพวกมัน
ที่มา reuters
ข่าวที่เกี่ยวข้อง