ปัญหาสิ่งแวดล้อมและโลกร้อนส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก รวมถึงพฤติกรรมสัตว์โลกเปลี่ยนไป และสิ่งที่สะท้อนผ่านภาพถ่ายสัตว์ป่าในการประกวดช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี ก็ทำให้เราเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ได้เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของสัตว์ป่าเป้นที่เรียบร้อยแล้ว
ต้องยอมรับว่าภาวะโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษที่มนุษย์ปล่อยนั้นสร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงส่งผลกระทบกับชีวิตสัตว์โลก และในการประกวดช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี (Wildlife Photographer of the Year) ภาพถ่ายสาขา People's Choice Award สะท้อนความจริงทุกอย่างเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เรามาดูกันดีกว่าว่ามีภาพไหนบ้าง?
ภาพถ่ายนี้เป็นผลงานของ Nima Sarikhani ช่างภาพสมัครเล่นชาวอังกฤษ ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี (Wildlife Photographer of the Year) สาขา People's Choice Award ประจำปีนี้ ภาพหมีขั้วโลกงีบหลับบนภูเขาน้ำแข็งขนาดเล็กที่กำลังละลาย ถ่ายจากหมู่เกาะ Svalbard ของนอร์เวย์
ช่างภาพผู้ถ่ายนี้ เผยว่า “แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราเผชิญ ฉันหวังว่าภาพถ่ายนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความหวัง ยังมีเวลาแก้ไขความยุ่งเหยิงที่เราก่อขึ้น”
ภาพนี้กระตุ้นให้เกิดการเตือนใจอย่างชัดเจนถึงความผูกพันระหว่างสัตว์กับถิ่นที่อยู่ของมัน และทำหน้าที่เป็นการแสดงภาพผลกระทบที่เป็นอันตรายจากภาวะโลกร้อนและการสูญเสียถิ่นที่อยู่
ภาพถ่ายสัตว์ป่านี้เป็นผลงานของ Claire Waring หนึ่งในภาพถ่ายสัตว์ป่าแห่งปีสาขา People’s Choice และถึงแม้จะไม่ได้รับรางวัลแต่ก็เป็นภาพที่สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ขยะพลาสติกมนุษย์ทิ้งอย่างไม่ใส่ใจ อาจสร้างผลกระทบและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากลุ่มหนึ่งได้รวบรวมกองขวดพลาสติกเพื่อรีไซเคิลจากชายหาดบริเวณขอบเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Tangkoko Batuangus บนเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย ขวดส่วนใหญ่ถูกพัดขึ้นมาจากทะเล ไม่นานนักก็มีลิงแสมเซเลเบสเข้ามาคุ้ยขยะเพื่อหาอาหาร ซึ่งลิงแสมเซเลเบสในท้องถิ่นได้เรียนรู้ว่าขวดพลาสติกเหล่านี้มีของเหลวและพวกมันมักจะพยายามเปิดฝาขวดเพื่อเข้าให้ได้อาหาร
ภาพถ่ายกวางเรนเดียร์ที่ยืนอยู่ท่ามกลางหิมะ ดูเผินๆ อาจเป็นภาพวิถีชีวิตของสัตว์โดยทั่วไป แต่ความจริงที่อยู่เบื้องหลังภาพนี้ ที่ Risto Raunio ช่างภาพต้องการจะสื่อคือ โลกร้อน หิมะละลาย ทำให้อุณหภูมิอุ่นขึ้น ทำให้กวางเรนเดียร์ใน Svalbard ได้กินพืชและอาหารมากขึ้น ดังนั้นจำนวนประชากรของพวกมันจึงเพิ่มขึ้นด้วย
ขณะเดียวกันก็มีรายงานเกี่ยวกับการหาอาหารของหมีขั้วโลกที่เปลี่ยนไป จากการซุ่มโจมตีเหยื่อเหมือนที่ทำกับแมวน้ำ แต่กลับเห็นหมีบางตัวไล่ล่ากวางเรนเดียร์มากขึ้น
ที่มา : CNN / Nation Histoy Museum
เนื้อหาที่น่าสนใจ :