svasdssvasds

งานวิจัยใหม่ ใช้ 'ผงเพชร' ลดโลกร้อน ในราคา 6 พันล้านล้านบาท

งานวิจัยใหม่ ใช้ 'ผงเพชร' ลดโลกร้อน ในราคา 6 พันล้านล้านบาท

นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาวิจัยการใช้ 'ผงเพชร' เพื่อทำให้โลกเย็นลง โดยการสะท้อนแสงแดดออกจากโลก แต่อุปสรรคสำคัญคือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะสูงถึง 200 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 6 พันล้านล้านบาท

เนื่องจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลกที่ทวีความรุนแรงและทำให้โลกร้อนมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามค้นหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ เพื่อลดอุณหภูมิของโลก โดยหนึ่งในข้อเสนอล่าสุด ได้แก่ แนวคิดการฉีดผงเพชรเข้าไปในชั้นบรรยากาศเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ ซึ่งอาจช่วยลดอุณหภูมิโลกได้ 1.6°C ในเวลา 45 ปี

จากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Geophysical Research Letters ได้สำรวจวัสดุต่างๆ สำหรับวิศวกรรมธรณีศาสตร์ โดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศ 3 มิติ ขั้นสูง เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุหลายชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อะลูมิเนียมแคลไซต์ ซลิกอนคาร์ไบด์ และผงเพชร เพื่อตรวจสอบว่าวัสดุแต่ละชนิดจะมีผลกระทบอย่างไรหากถูกฉีดพ่นออกไปในชั้นบรรยากาศ และจะสะท้อนแสงแดดได้ดีเพียงใด

งานวิจัยใหม่ ใช้ \'ผงเพชร\' ลดโลกร้อน ในราคา 6 พันล้านล้านบาท

แม้จะมีตัวเลือกอื่นที่น่าสนใจ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่มีราคาถูก แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝนกรดและทำให้ชั้นโอโซนลดลง ทำให้ 'ผงเพชร' เป็นทางเลือกที่ถูกยอมรับว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด และมีแนวโน้มที่จะประสบผลสำเร็จมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการกระเจิงแสงแดด มีความเสถียร และกระจายตัวได้นานกว่าวัสดุชนิดอื่น

นักวิจัยจึงประเมินว่า ต้องมีการฉีด 'ผงเพชรสังเคราะห์' ปริมาณ 5 ล้านตัน เข้าไปในชั้นบรรยากาศทุกปี จึงจะช่วยลดอุณหภูมิโลกลงได้ 1.6 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 45 ปี ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าระดับสูง อ้างอิงจากข้อตกลงปารีส ที่มีเป้าหมายเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.5 องศาเซลเซียส

งานวิจัยใหม่ ใช้ \'ผงเพชร\' ลดโลกร้อน ในราคา 6 พันล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แนวคิดการใช้ผงเพชรยังคงมีอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ 'ต้นทุน' เพราะการผลิตและนำผงเพชรราว 5 ล้านตัน มาใช้ในแต่ละปี จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 6 พันล้านล้านบาท ในขณะที่เศรษฐกิจโลกทั้งหมดสร้างรายได้ได้เพียง 105 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี (ข้อมูลปี 2023) เท่านั้น 

นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบลูกโซ่ที่อาจเกิดขึ้น จากการที่มนุษย์เข้าไปแทรกแซงกลไกของธรรมชาติ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนยังมองว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียน แม้จะแสดงผลลัพท์ได้ช้า แต่ก็เป็นวิธีที่ยั่งยืนที่สุด