SHORT CUT
ปัญหาน้ำท่วมกำลังคืบคลานเข้ามาอีกครั้ง ทำให้เกิดผู้คนต้องหาทางปรับตัว และหาแนวทางการแก้ไข โปรเจกต์นี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เรียกว่า บ้านลอยน้ำ
จะเป็นยังไงถ้าไม่ต้องหาแค่วิธีรับมือแต่หาวิธีอยู่ร่วมกันไปเลยให้ได้ เพราะ เหตุการณ์น้ำท่วม เป็นอะไรที่สามารถคาดการณ์ได้ยาก และเหนือการคาดเดา ยกตัวอย่างเมื่อ ปี 2554 ใช้คำว่าอพยพกันได้เลยทีเดียว วันนี้ Spring จึงจะชวนมาทำความรู้จักกับบ้านลอยน้ำ flat-Pack จากประเทศ เดนมาร์ก นวัตกรรมสุดล้ำ ที่ช่วยให้เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้ง่ายยิ่งขึ้น
ต้องเล่าก่อนว่า มาแชว เบิลเชอร์ (Marshall Blecher) ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม MAST ร่วมกับนักออกแบบแม็กนัส มาร์ปเจอร์ (Magnus Maarbjerg) กล่าวอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดบ้านลอยน้ำ "เราได้พัฒนาแนวคิดใหม่สำหรับการก่อสร้างบนผิวน้ำ" การออกแบบและสร้างต้นแบบได้รับการสนับสนุนจากมหาเศรษฐีโรเบิร์ต โรมเบิร์ก (Hubert Rhomberg) เจ้าของบริษัทอุตสาหกรรมก่อสร้างขนาดใหญ่และสตูดิโอ Fragile
และนวัตกรรมนี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมได้แล้ว ยังสามารถ รักษ์โลกได้อีกด้วย เพราะ วัสดุที่ใช้ในการทำบ้านลอยน้ำ หรือ flat-Pack นี้ ใช้พลาสติกเสริมแรงจากวัสดุรีไซเคิลทำให้แนวคิดการออกแบบของสตูดิโอ MAST มีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับผู้ผลิตบ้านลอยน้ำรายอื่นที่ใช้โป๊ะเหล็กหรือฐานรากเป็นคอนกรีตและโพลิสไตรีน ซึ่งยากต่อการประกอบและมีความยุ่งยากซับซ้อนในการขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้าง
ใช้แนวคิดที่เรียบง่ายคล้ายการนำโครงสร้างพลาสติกเสริมแรงจากวัสดุรีไซเคิลรูปทรงตู้คอนเทนเนอร์แบบแยกส่วนมาประกอบเชื่อมต่อกันกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สามารถลอยน้ำได้ โครงสร้างทั้งหมดแยกเป็นโมดูลที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายเปลี่ยนตำแหน่งยังพื้นที่ต่าง ๆ
นอกจากนี้แล้วยังสามารถ ปรับให้เป็นรูปแบบตามที่ใช้ต้องการได้อีกด้วย หรือจะเปลี่ยนให้เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็กก็ย่อมได้ ในเมื่อแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นดูเหมือนจะยาก ฉะนั้นก็ลอยไปด้วยกันนี่แหละ
ที่มา : dezeen
ข่าวที่เกี่ยวข้อง