svasdssvasds

นวัตกรรม แก้ปัญหาน้ำท่วม อุโมงใหญ่ที่สุดในโลก คาสึคาเบะ ระบายน้ำ ที่ญี่ปุ่น

นวัตกรรม แก้ปัญหาน้ำท่วม อุโมงใหญ่ที่สุดในโลก คาสึคาเบะ ระบายน้ำ ที่ญี่ปุ่น

สถานการณ์น้ำท่วม ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุด เมืองนนท์ ต้องเฝ้าระวังกันแล้ว วันนี้ Spring จะชวนมาดู 1 ใน Mega Project ของญี่ปุ่น ที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะ

SHORT CUT

  • สถานการณ์น้ำท่วม ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุด เมืองนนท์ ต้องเฝ้าระวังกันแล้ว วันนี้ Spring จะชวนมาดู 1 ใน Mega Project ของญี่ปุ่น
  • นวัตกรรม แก้ปัญหาน้ำท่วม รวมถึงบริหารจัดการน้ำในเมืองหลวงโตเกียวและเขตปริมณฑล ระบบระบายน้ำนี้มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า G-Cans
  • เชื่อมโยงเข้ากับกรุงโตเกียวและเมืองรอบๆ โดยมีการวางท่ออุโมงค์ขนาดยักษ์ โดยมีเครื่องระบายน้ำถึง 78 ตัว สามารถระบายน้ำได้ 200 ตันต่อวินาที

สถานการณ์น้ำท่วม ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุด เมืองนนท์ ต้องเฝ้าระวังกันแล้ว วันนี้ Spring จะชวนมาดู 1 ใน Mega Project ของญี่ปุ่น ที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะ

อุโมงที่ใหญ่ที่สุดในโลก คาสึคาเบะ

อุโมงยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อว่า The Metropolitanarea Outer Underground Discharge Channel หรือในภาษาญี่ปุ่นคือ Sairyu no Kawa เป็นอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำของเมืองไซตามะ มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สร้างขึ้นเพื่อรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วม รวมถึงบริหารจัดการน้ำในเมืองหลวงโตเกียวและเขตปริมณฑล โดยผลักลงสู่แม่น้ำเอโดะซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักแล้วลงสู่ทะเลที่อ่าวโตเกียวต่อไป

japan.travel

ต้องเล่าก่อนว่า กรุงโตเกียวและรอบๆเคยมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมมาโดยตลอดเนื่องจากตั้งอยู่บนพื้นที่ราบคันโต ที่เชื่อมติดกับทะเลโดยตรงไม่มีภูเขาหรือที่ราบสูงคั่น อีกทั้งบริเวณกรุงโตเกียวยังเป็นพื้นที่ต่ำเมื่อเจอมรสุม หรือฝนตกหนัก น้ำก็จะท่วมเป็นปกติ

จนกระทั่งในกันยายน ปี ค.ศ. 1991 ได้เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในกรุงโตเกียว บ้านเรือนจมน้ำกว่า 30,000 หลัง มีผู้เสียชีวิตถึง 52 คน ไม่เพียงเท่านั้นยังกระจายพื้นที่ความเสียหายไปยังเขตรอบๆ กินเนื้อที่มากกว่า 100 กิโลเมตร ถือเป็นอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ในรอบรอบ 30 ปีของญี่ปุ่น

japan.travel

ระบบระบายน้ำนี้นะคะ มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า G-Cans เชื่อมโยงเข้ากับกรุงโตเกียวและเมืองรอบๆ โดยมีการวางท่ออุโมงค์ขนาดยักษ์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร อยู่ลึกลงไปจากพื้นดิน 50 เมตร มีความยาวทั้งหมด 6.3 กิโลเมตร แต่ละช่วงเชื่อมถังเก็บน้ำ (BANK) ขนาดใหญ่ มีความลึก 70 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เมตร 

มีทั้งหมด 5 ถัง แต่ละถังเชื่อมต่อกับแม่น้ำทั้งสายเล็กและสายใหญ่ หากปริมาณน้ำในแต่ละแม่น้ำมีสูงเกินกว่าปกติ ก็จะไหลเข้าสู่ถังเก็บน้ำ โดยระบบการไหลเวียนน้ำจากแม่น้ำลงในถังเก็บน้ำ ถูกออกแบบให้เป็นระบบ Vortex Drop Shaft คือ การไหลโค้งของน้ำ เพื่อป้องกันแรงดัน เหตุผลที่เราเรียกโปรเจกต์นี้ว่า Mega Project เพราะ ใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 140,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

japan.travel

และลดแรงกระแทกของน้ำที่ตกลงมายังบ่อ โดยเรียงจากการผันน้ำคือ ถังที่ 5 เชื่อมกับแม่น้ำ Oootoshifurutone จากนั้นลำเลียงมารวมถังที่ 4 เชื่อมกับแม่น้ำ Kumatsu ส่งต่อไปยังถังที่ 3 เชื่อมที่เข้ากับ 2 แม่น้ำคือ แม่น้ำ Naka ซึ่งเป็นสายใหญ่ และแม่น้ำ Kuramatsu เป็นแม่น้ำสายเล็กๆ จากนั้นจะลำเลียงผ่านท่ออุโมงค์ยักษ์ไปยังถังที่ 2 ซึ่งเชื่อมกับคลองหมายเลข 18 แล้วจะเชื่อมต่อกับถังที่ 1 เป็นสถานี Showa Drainage Pump Station

ทำหน้าที่ปรับแรงดันของน้ำ (Pressure-adjusting Water Tank) โดยมีเครื่องระบายน้ำถึง 78 ตัว ตามปกติแล้วจะมีการปรับแรงดันของน้ำให้อยู่ในระดับปกติก่อนจะปล่อยสู่แม่น้ำเอโดะต่อไป ในช่วงพิบัติภัยสามารถระบายน้ำ 200 ตันต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำที่เมืองคาสึคาเบะ และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ ให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาชมความยิ่งใหญ่ของอุโมงค์ และเรียนรู้เทคโนโลยีการจัดการน้ำท่วมอีกด้วย

ที่มา : japantravel

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related