svasdssvasds

สทนช.เร่งระบายน้ำขังเก่ารับฝนถล่มเหนือ-อีสาน หาพื้นที่รับน้ำเพิ่ม

สทนช.เร่งระบายน้ำขังเก่ารับฝนถล่มเหนือ-อีสาน หาพื้นที่รับน้ำเพิ่ม

สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ห่วงพายุจรถล่มพื้นที่เหนือตอนล่าง-อีสาน คาดการณ์ฝนตกหนักเพิ่มมากขึ้นต้น ก.ย.67 เร่งระบายน้ำท่วมขังเก่าหาพื้นที่รับน้ำเพิ่ม

สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 31 ส.ค. 67 เวลา 7.00 น. เป็นการรายงานสรุปรอบวันที่ 30 ส.ค.67

สถานการณ์ "อุทกภัย" เกิดขึ้นในพื้นที่ 5 จังหวัด 

  • จ.เชียงราย (อ.แม่จัน เทิง ขุนตาล เชียงของ พญาเม็งราย และเมืองฯ) 
  • จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีนคร กงไกรลาศ และศรีสัชนาลัย) 
  • จ.พิษณุโลก (อ.บางระกำ และพรหมพิราม) 
  • จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก) 
  • จ.หนองคาย (อ.สังคม รัตนวาปี ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ และเมืองฯ)

ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่

  • ภาคเหนือ :จ.นครสวรรค์ (68 มม.)
  • ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (67 มม.)
  • ภาคกลาง : จ.นครปฐม (60 มม.)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครพนม (49 มม.)
  • ภาคใต้ : จ.นครศรีธรรมราช (47 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (19 มม.)

สภาพอากาศวันนี้

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 1 - 5 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก

สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม

ปริมาณน้ำรวม 61% ของความจุเก็บกัก (49,494 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 44% (25,313 ล้าน ลบ.ม.)

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง

น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

สทนช.เร่งระบายน้ำขังเก่ารับฝนถล่มเหนือ-อีสาน หาพื้นที่รับน้ำเพิ่ม

 

 

 

 

 

แนวทางการบริหารจัดการน้ำ

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 67 นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยน้ำป่าไหลหลากโดยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทำงานร่วมกันในการเร่งช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบและเร่งฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว

พร้อมทั้งให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง จัดที่พักหรือศูนย์พักพิงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่ประชาชนไม่สามารถกลับเข้าไปพักอาศัยได้ จนกว่าจะฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กองบัญชาการกองทัพไทย ส่งกำลังสนับสนุนในการซ่อมแชมบ้านเรือนประชาชน หน่วยงานด้านสาธารณสุขดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนการฟื้นฟูและให้การช่วยเหลือพื้นที่

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related