svasdssvasds

GISTDA ฉายภาพ ใช้ ดาวเทียมธีออส 2 ตรวจน้ำท่วมปี 2567 แบบ "ทำถึง" ทำงานอย่างไร ?

GISTDA ฉายภาพ ใช้ ดาวเทียมธีออส 2 ตรวจน้ำท่วมปี 2567 แบบ "ทำถึง" ทำงานอย่างไร ?

ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA เผย การใช้ดาวเทียมตรวจน้ำท่วมปี 2567 มีลักษณะอย่างไรบ้าง , และมีประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นๆที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างไร

SHORT CUT

  • GISTDA ใช้ดาวเทียม 2 ระบบในการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม 2567  ได้แก่ 1. ระบบ Optical: ใช้ดาวเทียมไทยโชตและธีออส ถ่ายภาพในสภาวะปกติ แต่มีข้อจำกัดเมื่อมีเมฆบัง 
  • 2. ระบบ Radar (SAR): สามารถทะลุทะลวงเมฆได้ ใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วม
  • การประสานงานและการใช้ข้อมูลนั้น ภาพถ่ายดาวเทียมถูกส่งไปยังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และมีสำคัญเอาไปวิเคราะห์เพื่อเตรียมตัวรับมือในพื้นที่อื่นๆได้ 

ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA เผย การใช้ดาวเทียมตรวจน้ำท่วมปี 2567 มีลักษณะอย่างไรบ้าง , และมีประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นๆที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างไร

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานของไทย ที่มีส่วนช่วยในการใช้เทคโนโลยี มาคลายปมปัญหาเรื่องน้ำท่วมในช่วงเวลาปัจจุบัน 

SPRiNG Tech และ SPRiNG keep the World ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA ต่อประเด็นที่จิสด้ามีการใช้ข้อมูล ภาพถ่ายดาวเทียมต่างๆ มาช่วยแก้ไข หรือวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม กับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง

โดย ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ เปิดเผยว่า ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมด้วยดาวเทียม 2 ระบบ นั่นคือ Optical และ Radar และจะเห็นภาพน้ำท่วมจากดาวเทียมในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งในความรวดเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับการโคจรของวงรอบดาวเทียม

เราติดตามสถานการณ์น้ำท่วมด้วยดาวเทียม 2 ระบบ นั่นคือ Optical และ Radar  2 ระบบนี้ ต่างกันอย่างไรนั้น อธิบายอย่างเข้าใจง่ายๆ คือ  ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) และ ดาวเทียม ธีออส (THEOS) เป็น 2 ดาวเทียมของประเทศไทย ที่ GISTDA โอเปอร์เรต เป็นดาวเทียมในระบบ Optical กล่าวคือจะถ่ายภาพในสภาวะปกติที่เราคุ้นเคยกัน อย่างที่คนทั่วไปคุ้นเคยกับภาพดาวเทียมจาก Google มันจะเหมือนกับตาเรามองเห็น

แต่ข้อจำกัดของดาวเทียม ระบบ Optical ก็คือ ถ้ามีเมฆ เวลาฝนตก ภาพถ่ายก็จะมองไม่เห็น เพราะมีเมฆบังอยู่ 

ส่วนอีกระบบหนึ่งที่เราใช้เยอะๆ เวลาน้ำท่วม ก็คือ ระบบ เรดาห์ หรือ SAR (Synthetic Aperture Radar)ซึ่งเป็นเทคนิคในการใช้เรดาร์เพื่อสร้างแผนที่พื้นผิวของโลก โดยใช้หลักการของเรดาห์ ทำให้ทะลุทะลวงเมฆได้ เฉพาะเวลาข้อมูลที่ GISTDA แปล แล้ววิเคราะห์ว่าพื้นที่ไหน น้ำท่วมนั้น ใช้จากระบบ SAR เป็นหลัก 

ส่วนระบบ Optical อย่าง ไทยโชต หรือ ธีออส 2 จะใช้เจาะเป็นพื้นที่ๆไป อาจจะใช้เจาะเป็นพื้นที่น้ำท่วม หลังจากฝนตกแล้วมีพื้นที่น้ำท่วมขังอยู่ เราสามารถติดตามได้จาก ดาวเทียม ระบบ Optical 

ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA  

เจาะลึก GISTDA  ดาวเทียมเป็นสายตรวจน้ำท่วม แบบ "ทำถึง" ทำงานอย่างไร ? กับ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA

นำภาพถ่ายน้ำท่วมจากดาวเทียมเอาไปวิเคราะห์ต่อได้ 

นอกจากนี้ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ยังบอกว่า ดาวเทียมของจิสด้า GISTDA  นั้น ถ่ายภาพสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วอย่างน้ำท่วม แต่ประโยชน์ของภาพเหล่านี้ก็คือสามารถเอาไปวิเคราะห์พื้นที่เสียหายเพิ่มเติมได้ นั่นเอง

ใช่ครับ ดาวเทียมที่เราใช้เป็นการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ถ่ายภาพสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว แต่เราจะวิเคราะห์พื้นที่เสียหายเพิ่มเติม 

เจาะลึก GISTDA  ดาวเทียมเป็นสายตรวจน้ำท่วม แบบ "ทำถึง" ทำงานอย่างไร ? กับ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA

ภาพถ่ายดาวเทียม เรียลไทม์แค่ไหน ? 

ส่วนประเด็นคำถามสำคัญคือ แล้วภาพถ่ายที่ได้มานั้นเป็นภาพถ่ายเรียลไทม์แค่ไหน ?  ตรงจุดนี้ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ บอกว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับปัจจัยการโคจรของดาวเทียม 

ต้องตอบว่าอาจจะได้หรือไม่ได้ก็ได้ ...เพราะดาวเทียมมันโคจรรอบโลก มันมีวงรอบของดาวเทียม แต่ในช่วงที่เราติดตามน้ำท่วม เราไม่ได้ใช้ดาวเทียมแค่ดวงเดียว 

อย่างเช่นในระบบ SAR เราใช้ดาวเทียมติดตามถึง 3-4 ดวง เราใช้ในระบบ Optical ทั้ง  ไทยโชต หรือ ธีออส 2 หรือ ดาวเทียม Sentinel-2 มันก็มีโอกาสที่ ความถี่ในการได้ภาพ เราจะได้ภาพถี่ขึ้น 

ส่วนประเด็นในการดีเลย์ของภาพจากดาวเทียม ? 

ตรงจุดนี้ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ให้ความเห็นว่า

1. มันขึ้นอยู่กับวงรอบของดาวเทียมที่โคจร วงรอบแต่ละดวงได้เร็วที่สุดเท่าไร ณ ตอนนั้น ที่ดาวเทียมมันโคจรมาอยู่ตรงน้ำท่วมพอดี ที่บันทึกภาพได้
2. ระยะเวลา ในการที่  สมมุติว่า ระยะเวลาที่ดาวเทียมไทยโชต มันจะต้องส่งสัญญาณ ดาวน์ลิงก์มาที่สถานี  มันก็จะมีช่วงเวลาที่ต้องใช้เวลาในการจัดการ  แล้วจากสถานีมันก็มีกระบวนการในการผลิต อีกสักครู่หนึ่ง 

ถ้านับตั้งแต่ภาพถ่ายดาวเทียมดาวน์ลิงก์ลงมา ก็ใช้เวลาแค่หลักชั่วโมง
แต่ถ้านับจาก สถานการณ์ที่เกิดน้ำท่วมขึ้น แล้วเราได้ภาพมาเนี่ย มันอาจจะเป็น วัน สองวัน สามวันได้

เจาะลึก GISTDA  ดาวเทียมเป็นสายตรวจน้ำท่วม แบบ "ทำถึง" ทำงานอย่างไร ? กับ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA

GISTDA ประสานงานกับหน่วยงานใดบ้าง ?

ทั้งนี้ การประสานงานระหว่าง GISTDA กับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ , ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ บอกว่า ข้อมูลภาพจากดาวเทียมของจิสด้านั้นจะส่งมาที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ  เพื่อที่ทุกหน่วยงานที่มีภารกิจต่อจากนั้น จะสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ทั้งหมด

หลักๆแล้ว ภาพถ่ายดาวเทียมจะไปหลายส่วนมากๆ , ในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยมีแม่งานคือ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช ซึ่ง สทนช จะมีการตั้งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ดำเนินการเรื่องบริหารจัดการน้ำอยู่แล้ว ดูเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้งอยู่แล้ว ซึ่ง GISTDA เป็นหนึ่งในภาคีร่วม กับอีก 30 กว่าหน่วยงาน

ตอนทำงานร่วมกัน ข้อมูลภาพจากดาวเทียมนั้นจะส่งมาที่นี่ก่อน เพื่อที่ทุกหน่วยงานที่มีภารกิจ สามารถ จะใช้ร่วมกันได้ ช่องทางที่ 2 คือ ปพ.ใช้ข้อมูลไปช่วยเหลือประชาชน กรมชลฯ ใช้ดูข้อมูลว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร  หรือ สทนช. ใช้ในการวางแผน ปพ.ไปใช้ในพื้นที่อีก เพื่อที่จังหวัดแต่ละจังหวัดจะเข้าไปช่วยเหลืออย่างไร จะเข้าไปเยียวยาคนอย่างไร จะใช้ข้อมูลร่วมกันทั้งหมด 

ช่องทางที่ 2  คือ ในแต่ละหน่วยงานอื่น ที่อยากใช้ข้อมูลเช่นเดียวกันนั้น ใครที่ต้องการข้อมูล ก็สามารถเข้าเว็บไซต์ของ GISTDA ได้ สามารถเอาไปวิเคราะห์ต่อ หรือเอาไว้ใช้ในการจัดการเลย

ช่องที่ที่ 3 คือ เป็นช่องทางของประชาชน เราจะเปิดแผนที่ทางเว็บไซต์ให้คนประชาชน หรือบนมือถือ ให้เข้ามาใช้ มาดูข้อมูลได้

ไทยเป็น Hub เทคโนโลยีอวกาศของภูมิภาคได้

นอกจากนี้ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ยังให้ความเห็นว่า ในความเจริญของเทคโนโลยีอวกาศนั้น ประเทศไทยถือว่าเป็น Hub ของเทคโนโลยีอวกาศในภูมิภาคนี้เลย เพราะไทยสั่งสมความรู้เรื่องเหล่านี้มานานแล้ว 

ความจริงประเทศไทยเป็นประเทศแรก ที่มีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมในภูมิภาคนี้ ย้อนกลับไป 20-30 ปีก่อน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกเป็นฐานในการตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราสะสมองค์ความรู้ ประสบการณ์ และมีทรัพยากรบุคคลที่ผมเชื่อว่ามากที่สุดแล้ว ในเรื่องของอวกาศ โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิศวกรดาวเทียม  ปัจจุบันเรามี โรงประกอบทดสอบดาวเทียม เรามีศักยภาพในการสร้างดาวเทียมเองเลยด้วยซ้ำ 

เรามีโรงประกอบเลย เราผลิตชิ้นส่วน เราทดสอบได้ด้วยเลย ก่อนที่จะเอาไปยิง โรงประกอบของไทยอยู่ที่ศรีราชา จะเป็นฐาน SKP ตรงนั้จะเป็นอุทยานในด้านนวัตกรรมของอวกาศเลย  (โครงการอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ (Space Krenovation Park: SKP)  

ตรงนั้นจะมีตั้งแต่สถานีควบคุมดาวเทียมเลย ควบคุมของเราเอง ทั้งไทยโชต (Thaichote) และ  ธีออส 2 (THEOS - 2)  อนาคตก็คือ   ธีออส 3 ที่ใกล้ๆจะยิงขึ้นไปแล้ว , นอกจากนี้เราก็ยังใช้ในการส่งสัญญาณกับพันธมิตรเรา ทั่วโลก  ที่โคจรมาตรงนี้ เราก็สามารถรับสัญญาณได้ 

ตรงนั้นก็มี โรงประกอบทดสอบดาวเทียมอีก มีวิศวกร ที่สร้างดาวเทียมได้อยู่ที่นั่น จะทำการผลิตดาวเทียม ทั้ง ธีออส 3 และ ธีออส 4 ในอนาคตต่อไป 

,ตอนนี้เราขาดอย่างเดียว เราขาด Port เราขาดสถานียิงดาวเทียมเท่านั้นเอง ...ปัจจุบัน ที่เราคุ้นเคย ที่อเมริกา ก็อย่างเช่นที่ SPACE X , หรือ ยุโรป ทางฝรั่งเศส อย่างเช่นที่ Airbus ,อินเดียก็มี จีนก็มี 

 ปิดท้าย ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ยังได้อัปเดทความคืบหน้า ของดาวเทียมธีออส 3 ซึ่งจะเป็นดาวเทียมดวงใหม่ล่าสุดของไทย โดย GISTDA จะมีการเริ่มประกอบ Engineering Model ของ THEOS-3 ในปี 2025 ก่อนเริ่มประกอบดาวเทียมตัวจริง หรือ Flight Model ในปี 2026 เพื่อให้พร้อมกับการนำส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2027

ถ้าหากให้ผมไล่เรียง ที่เรามี ก็คือ ธีออส 1 หรือ ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) นั่นเอง , อันที่ 2 ก็คือ ธีออส 2 ที่เพิ่งยิงไปเมื่อปีที่แล้ว  แล้วก็ดวงที 3 เราเรียกว่า ธีออส 2-A ยังถือว่ายังเป็นธีออส 2 อยู่ ยังเป็นซีรีส์ ของธีออสอยู่ เพราะเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก  จริงๆแล้ว ตามแผนจะยิงภายในสิ้นปีนี้  แต่อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาดูว่า ฐานยิงนั้นพร้อมไหม สภาพอากาศพร้อมไหม ต้องเช็กกันอีกที

ส่วน  ธีออส 3 เป็นโครงการที่อยู่ในกระบวนการดีไซน์อยู่ อยู่ในแผนการสร้างแล้ว  ตามไทม์ไลน์ ปี 2025 ก่อนเริ่มประกอบดาวเทียมตัวจริง หรือ Flight Model ในปี 2026 เพื่อให้พร้อมกับการนำส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2027

เจาะลึก GISTDA  ดาวเทียมเป็นสายตรวจน้ำท่วม แบบ "ทำถึง" ทำงานอย่างไร ? กับ ดร.สยาม ลววิโรจน์วงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related