SHORT CUT
ล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยว่า ในปีนี้มีฝนตกหนักทางภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดน่าน และมวลน้ำไหลลงมาทางแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน แต่เหตุการณ์นี้ไม่เหมือนปี 54
พาไปเทียบ และสำรวจความสามารถในการรับน้ำของเขื่อนใหญ่ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
สถานการณ์น้ำท่วมปี2567 ยังไม่ไว้วางใจ กทม.ลุ้นระทึกว่าน้ำเหนือจะเดินทางมาถึงวันไหน หลายฝ่ายออกมายืนยันว่าไม่เท่าน้ำท่วมปี2554 แน่นอน พร้อมพาเช็ก "เขื่อนใหญ่" ว่ารับน้ำได้อีกเท่าไหร่? ลุ้นกทม.จะรอด หรือร่วง
นาทีนี้ประชาชน และภาคธุรกิจต่างจับตาน้ำเหนือที่กำลังเดินทางคืบคลานเข้ามายังพื้นที่ กทม. และภาคกลาง บางรายถึงขั้นวิตกกังวลว่าจะเกิดน้ำท่วมเทียบเท่ากับปี2554 แต่… ล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยว่า ในปีนี้มีฝนตกหนักทางภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดน่าน และมวลน้ำไหลลงมาทางแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน แต่เหตุการณ์นี้ไม่เหมือนปี 54
ทั้งนี้เหตุเพราะน้ำในเขื่อนยังไม่เต็ม เขื่อนภูมิพลประมาณ50% และเขื่อนสิริกิติ์ประมาณ 70% ยังสามารถรับน้ำได้อยู่ ซึ่งปี 54 ที่เกิดน้ำท่วมหนัก เพราะเขื่อนล้นทั้งสองเขื่อน ต้องปล่อยน้ำ เพราะฉะนั้น เขื่อนที่เป็นด่านแรกยังช่วยชะลอน้ำได้ ขณะที่อัตราการระบายน้ำที่ต้องเฝ้าระวังก่อนถึงกรุงเทพมหานครคือที่สถานีบางไทร ซึ่งอัตราการระบายน้ำที่สถานีบางไทร ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 989 ลบ.ม./วินาที โดยอัตราการระบายน้ำที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ที่ 2,500 ลบ.ม./วินาที
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวอีกว่า แม้ภาพรวมสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง แต่ประมาทไม่ได้ เพราะผู้ที่จะได้รับผลกระทบก่อนคือบ้านเรือนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ 16 ชุมชน ที่เป็นบ้านรุกล้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งป้องกันได้ยาก การรับมือสถานการณ์น้ำได้ดี เป็นผลจากการที่เราดูแลคูคลองต่อเนื่องตลอดมา รวมถึงระบบบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำ และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนอย่าประมาท แต่เชื่อว่า กทม. เตรียมตัวรับมือได้อย่างเต็มที่เพี่อดูแลพี่น้องประชาชน
สำหรับกรณีที่ต้องระวังในอนาคตจากน้ำที่มีผลกับกรุงเทพมหานครซึ่งมี 4 ส่วน คือ น้ำเหนือ น้ำหนุนจากทะเล น้ำฝน และน้ำท่า ที่กังวลคือน้ำฝน เพราะสภาพอากาศโลกเปลี่ยน หากตกใน กทม. ปริมาณมากอาจต้องใช้เวลาในการระบาย ซึ่ง กทม. ได้เตรียมรับมือไว้แล้ว ทั้งการลอกคูคลองซึ่งทำทั้งปีไม่ได้เพิ่งทำ โดยคลองหลักลอกไปแล้ว 200 กิโลเมตร การเปิดทางระบายน้ำคูคลองทำไปแล้ว 1,300 กิโลเมตร ลอกท่อระบายน้ำไปแล้ว 4,300 กิโลเมตร ทำให้ช่วงที่ผ่านมาแม้จะมีฝนตกหนัก ถนนหลักก็ใช้เวลาแห้งหมดไม่เกิน 3 ชั่วโมง
หากท่านใดยังไม่หายสงสัยว่าจริงหรือ? น้ำจะไม่ท่วมกทม.เหมือนปี2554 แน่นะ วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปเทียบ และสำรวจความสามารถในการรับน้ำของเขื่อนใหญ่ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง จากการสำรวจข้อมูลจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และกฟผ. ณ 27 ส.ค. 67 พบว่า
ส่วนปริมาณน้ำฝนสะสมของทั้ง 2 ปี ดังนี้
ปริมาณพายุที่เข้ามา ดังนี้
สอดคล้องกับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ ทำให้เกิดข้อกังวลของพี่น้องประชาชนว่าสถานการณ์จะมีความรุนแรงเทียบเท่ากับที่เคยเกิดในปี 2554 และจะส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก สทนช. จึงได้รวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นโดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบแนวโน้มความเสี่ยงอุทกภัยระหว่าง 3 ปี ได้แก่
ในปี 2554 ปี 2565 และ ปี 2567 ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ การประเมินพายุจรที่พัดผ่านเข้าประเทศไทย พบว่า ในปี 2554 มีพายุพัดผ่านเข้าไทย จำนวน 5 ลูก
ในปี 2565 มีพายุพัดผ่านเข้าไทย จำนวน 1 ลูก ได้แก่ พายุโนรู ช่วงเดือน ก.ย. และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและไต้ฝุ่นที่เข้ามาบริเวณประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับปี 2567 คาดการณ์ว่าจะมีพายุพัดผ่านเข้าประเทศไทย จำนวน 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือน ก.ย.หรือ ต.ค. จากนี้ไปต้องจับตาดูมวลน้ำเหนืออย่างใกล้ชิดที่จะเดินทางมาถึงกทม. และพื้นที่ภาคกลางเร็วๆนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวเก่าอย่าแชร์! ข้อมูลคาดการณ์ล่วงหน้าน้ำท่วม 67 คุณอยู่เขตไหน
เปิดสาเหตุ น้ำท่วมภาคเหนือ 2567 เกิดจากปัจจัยใด? โลกร้อนมีเอี่ยว