SHORT CUT
ชวนดูเทคโนโลยีรับมือน้ำท่วม ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปว่าจะรับมือยังไงดี ภายใต้กระทรวง อว. ในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งของที่จำเป็นไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมถึงฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด ผ่านการเชื่อมโยงการทำงานกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แถลงข่าวเปิด “ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์น้ำท่วม อว. หรือ ศปก.อว” ซึ่งจะตั้งขึ้นที่ห้อง 7B ชั้น 7 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. เพื่อเป็นวอร์รูมในการวางแผน
ประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ และสั่งการไปยังหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งของที่จำเป็นไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมถึงฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด ผ่านการเชื่อมโยงการทำงานกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
พร้อมมอบหมายให้มหาวิทยาลัยสังกัดกระทรวง อว. ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประจำจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พักพิงชั่วคราว และเป็นศูนย์กระจายสิ่งของที่จำเป็น รวมถึงเป็นหน่วยประสานงานในพื้นที่ด้วย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, จังหวัดแพร่ โดย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, จังหวัดน่าน โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, จังหวัดพะเยา โดย มหาวิทยาลัยพะเยา, จังหวัดสุโขทัย โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, จังหวัดระนอง โดย วิทยาลัยชุมชนระนอง, จังหวัดภูเก็ต โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, จังหวัดยะลา โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยลักษณ์ และ จังหวัดสงขลา โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลานครินทร์
โดยในรูปจะเป็นโดรนที่สามารถใช้ส่งอาหาร หรือ เสบียงได้ และช่วยชีวิตผู้คนได้โดยการส่งเชือกหรือสิ่งของที่จะช่วยเหลือตอนเจอกระแสน้ำเชี่ยวได้ โดยใช้เวลาไม่นาน
รวมไปถึง โดรนตรวจจับความร้อน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันสามารถเปรียบเทียบภาพสีธรรมดาและภาพ Thermal ได้แบบเรียลไทม์ ขณะบิน ทำให้การใช้งาน โดรนตรวจจับความร้อน สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายสถานะการณ์ อาทิ การรับมืออัคคีภัยทั้งในตัวอาคารและไฟป่า การตรวจสอบอาคารและโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เพื่อหารอยรั่ว การดำเนินงานช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัย การประยุกต์ใช้ในการเกษตร และอื่นๆอีกมาก
โดยโดรนเหล่านี้ สามารถสั่งการได้ด้วย ระบบควบคุมและสนับสนุนภาคพื้น (Ground Control Station) หลักการทำงานคล้ายๆ กับระบบควบคุมภาคพื้นของอากาศยานทั่วไป โดยมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานและข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งมาจากอากาศยานไร้คนขับ นอกจากนั้น ยังสามารถควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ ทำงานตามที่เราต้องการ โดยส่งข้อมูลผ่านข่ายรับ-ส่งข้อมูลไร้สาย
ด้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ําท่วม รองรับสถานการณ์ใน 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 “การเฝ้าระวังน้ำท่วม” ผ่านระบบและรถโมบายติดตามสถานการณ์น้ำ เฝ้าระวัง แจ้งเตือน และวางแผนอพยพ พร้อมรายงานข้อมูลผ่านเพจของกระทรวง อว. ทุกวัน ในเวลา 13.00 น.
นอกจากนี้ยังมี นวัตกรรมระบบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง รุ่น Vilverin VL340 อากาศยานประเภทนี้เหมาะกับภารกิจที่ต้องการบินนานและไกล ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ อาทิ การสำรวจแนวท่อก๊าซ การสำรวจสายส่งกำลังทางไฟฟ้า การสำรวจเหมืองขนาดใหญ่ การสำรวจรางรถ การสำรวจป่าและการประเมินคาร์บอนเครดิต และการทำแผนที่เมือง สำหรับโครงการ SmartCity ซึ่งก็เป็นหนึ่งในโดรนที่ใช้รับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมได้ เป็นต้น ปัจจุบัน Vilverin VL340 พร้อมที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในระดับ TRL7 ซึ่งยังต้องดำเนินการขยายผลผลิตภัณฑ์นี้ในรูปแบบของธุรกิจเชิงพาณิชย์ให้ออกไปสู่การใช้งานจริงในตลาดอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ระยะที่ 2 “การให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดภัยน้ำท่วม“ ที่นอกจากจะเปิดพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์บรรเทาและพักพิงให้ผู้ได้รับผลกระทบแล้ว ยังระดมกองทัพโดรนกว่า 30 ลำ ทั้งในส่วนของกระทรวง อว. และเอกชนมาร่วมบินสำรวจและลำเลียงสิ่งของไปมอบให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก, เรือไวไฟ (WiFi) ที่จะเข้าไปให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ รวมถึงบ้านสำเร็จรูป และถุงยังชีพที่มีอาหารนวัตกรรมพร้อมทานโดยไม่ต้องอุ่น
และระยะที่ 3 “ฟื้นฟูหลังน้ำลด” กระทรวง อว. จะจัดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมและบริการเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือเกษตร พร้อมนำนักศึกษาจิตอาสาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าไปช่วยซ่อมแซมบ้านเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวง อว. ลงไปรักษา บำบัด ฟื้นฟู ทั้งร่างกายและจิตใจผู้ได้รับผลกระทบด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง