svasdssvasds

กรุงเทพฯรอดจมน้ำ หลังแผ่นดินทรุดลดลง-พร้อมใช้นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลหนุน

กรุงเทพฯรอดจมน้ำ หลังแผ่นดินทรุดลดลง-พร้อมใช้นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลหนุน

วันนี้จะพามาไขข้อสงสัยที่หลายคนสงสัยว่ากรุงเทพฯจะจมน้ำหรือไม่ พามาพูดคุยกับ พิเศษ “นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา” ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ยืนยันว่ากรุงเทพฯรอดจมน้ำ จากปัจจัยบวกหลายอย่าง

SHORT CUT

  • ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรุนแรง บางพื้นที่ร้อนจัด บางพื้นที่หนาวจัด บ้างพื้นที่น้ำท่วม น้ำแล้ง หิมะถล่ม แผ่นดินทรุด และปัญหาอื่นๆอีกมากมายที่ตาม
  • ประเทศไทยก็ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเช่นกัน อย่างก่อนหน้านี้หลายพื้นที่เจอปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เจอกับภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำ แต่…ช่วงนี้กับมาเจอลานีญา หลายพื้นที่กำลังน้ำท่วม
  • พามาไขข้อสงสัยว่ากรุงเทพฯจะจมน้ำไหม คำตอบ คือกรุงเทพฯรอดจมน้ำ หลังดินทรุดลดลง-พร้อมใช้นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลหนุน

วันนี้จะพามาไขข้อสงสัยที่หลายคนสงสัยว่ากรุงเทพฯจะจมน้ำหรือไม่ พามาพูดคุยกับ พิเศษ “นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา” ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ยืนยันว่ากรุงเทพฯรอดจมน้ำ จากปัจจัยบวกหลายอย่าง

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรุนแรง บางพื้นที่ร้อนจัด บางพื้นที่หนาวจัด บ้างพื้นที่น้ำท่วม น้ำแล้ง หิมะถล่ม แผ่นดินทรุด และปัญหาอื่นๆอีกมากมายที่ตามมา ประเทศไทยก็ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเช่นกัน อย่างก่อนหน้านี้หลายพื้นที่เจอปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เจอกับภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำ แต่…ช่วงนี้กับมาเจอลานีญา หลายพื้นที่กำลังน้ำท่วม และมวลน้ำขนาดใหญ่กำลังจะเดินทางมาสู่พื้นที่ภาคกลางเร็วๆนี้

ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายคาดกรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ

แต่…ปัญหาใหญ่ที่คนสงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบ้านเราคือ คนสงสัยว่ากรุงเทพฯ เมืองหลวงของเราจะจมน้ำหรือไม่? เพราะก่อนหน้านี้มีนักวิชาการจากหลายสำนักออกมาทำนาย จากปัจจัยต่างๆมากมายว่ากรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ สอดคล้องกับกรีนพีซ และธนาคารโลก ออกมาเปิดเผยว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือ ค.ศ. 2030 มากกว่า 96% ของพื้นที่กรุงเทพฯ อาจถูกน้ำท่วมหากเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่กว่าปกติในรอบ 10 ปี จึงทำให้หลายคนตั้งคำถามในใจว่าแล้วจะมีโอกาสเป็นไปได้จากคำทำนายเหล่านั้นหรือไม่

#สปริงนิวส์ มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ “นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา” ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงประเด็นข้อสงสัยว่ากรุงเทพฯจะจมน้ำหรือไม่ โดย ผู้อำนวยการฯ พาไปย้อนรอยดูตั้งแต่อดีต แล้วพามาดูปัจจุบัน ซึ่งในอดีตนักธรณีวิทยา เล่าย้อนกลับไป 12,000 ปีที่แล้วระดับน้ำทะเลเคยต่ำกว่านี้ ถึงขนาดที่อินโดนีเซียและไทยเคยเดินถึงกันได้ แต่ 5,000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลเคยต่ำกว่านี้ 4-5 เมตร  ตอนนั้นน้ำทะเลสูงถึงอยุธยา ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี มีหลักฐานทางธรณีวิทยาปรากฎชัดเจน

กรุงเทพฯรอดจมน้ำ หลังแผ่นดินทรุดลดลง-พร้อมใช้นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลหนุน

อดีตน้ำทะเลเคยหนุนสูงจนน่ากลัว

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสันทรายเก่า เช่นตัวเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบันอยู่ห่างจากทะเลมาก รอยกัดเซาะตามภูเขาหินปูน เช่น เจอร่องรอยของปลาวาฬ ที่ ต.บ้านแพง จ.สมุทรสาคร ถือเป็นหลักฐานว่าน้ำทะเลเคยขึ้นสูงกว่านี้มาก่อน แต่ในช่วง 10-20-30 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล มีแนวโน้มอย่างที่ทราบกัน คือ น้ำทะเลสูงขึ้น 1-2 มิลลิเมตรต่อปี (เป็นค่าเฉลี่ยโดยทั่วๆ ไปของทั่วโลก) แต่บางจุดอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้

ขณะที่สถานีกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ยืนยันตรงกันว่าระดับน้ำทะเลของไทยเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างเดียว ตัวแผ่นดินก็เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน ครั้งตอนที่เคยเกิดสึนามิขนาด 9.3 เมื่อปี 2547 ที่ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้แผ่นดินของประเทศไทย เคลื่อนทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ทำให้แผ่นดินยุบไปนิดนึง

ด้านผลการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า ในช่วง 10-20 ปีต่อมา แผ่นดินเริ่มถอยกลับลดความสูงลง พอมาดูเรื่องการเปลี่ยนแปลงและกัดเซาะชายฝั่ง ต้องเข้าใจว่ากทม.และปริมณฑล ในลุ่มแม่น้ำท่าจีน และ แม่น้ำฉะเชิงเทรา จะมีตะกอนของแม่น้ำมาสะสม และ พอกเป็นชายฝั่งทะเลไปเรื่อยๆ ตลอดหลายร้อยหลายพันปี ที่เราเรียกว่า สามเหลี่ยมดินดอน และสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา

อย่างไรก็ตามพบอีกว่า ที่ผ่านมาเริ่มสร้างเขื่อนในแม่น้ำสำคัญหลายสาย หลังจากสร้างเขื่อนตะกอนเริ่มลดน้อยลง ทำให้พื้นดินของกทม. และ ปริมณฑล ทั้งฉะเชิงเทราและเพชรบุรี ไม่มีการงอกของชายฝั่ง รวมถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเหมือนทั่วโลก

ขุดเจาะน้ำบาดาลทำให้ดินทรุด

หลายคนสงสัยว่านอกจากสาเหตุทางธรรมชาติที่จะทำให้ดินทรุดตัวลง แล้วมีสาเหตุอื่นๆ อีกหรือไม่ที่เป็นน้ำมือของมนุษย์ โดยก่อนปี 2546 กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ศึกษาว่าปัจจัยของการใช้น้ำบาดาลในกรุงเทพและปริมณฑล ส่งผลต่อการทรุดตัวของกทม.หรือไม่ เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมในจ.สมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง ใช้น้ำบาดาลจำนวนมากในการทำอุตสาหกรรม หลังจากที่ค้นพบว่า การใช้น้ำบาดาลในหลากพื้นที่ทำให้เกิดแผ่นดินทรุด หรือทรุดมาก

ต่อมา พบว่า ตะกอนสะสมลดลง บวกกับการขุดเจาะน้ำบาดาล ทำให้ดินทรุดตัวลง หลังจากมีการควบคุมการขุดเจาะน้ำบาดาล งานวิจัยของกรมทรัพยากรณี ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมแผนที่ทหาร ทำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเดล พบว่า การทรุดตัวของกทม.ลดลงมาก ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ในปัจจุบัน

พร้อมกันนี้ยังมีการคาดการณ์อีกว่าในอนาคตการทรุดตัวของดินในกรุงเทพฯจะดีขึ้น เพราะไม่ได้ใช้น้ำบาดาลมากเหมือนในอดีต เพราะใช้น้ำประปามากขึ้น ร่วมถึงภาคเอกชนเองก็ให้ความร่วมมือดี จึงทำให้การทรุดตัวของแผ่นดินกทม.และปริมณฑลดีขึ้นตามลำดับ จนไม่น่าเป็นห่วงแล้วในปัจจุบัน

“หลายคนถามว่าทำไมการขุดเจาะน้ำบาดาลถึงทำให้ดินทรุด คำตอบคือในดินมีน้ำอยู่ เมื่อไห่รเราสูบน้ำออกไปดินจะเริ่มแห้ง และทรุดตัวลง การทรุดตัวเกิดจากตะกอนอ่อน ส่วนการก่อสร้างไม่ได้ทำให้แผ่นดินทรุด เพราะการเจาะเสาเข็มลงไป 200 เมตร เจาะลงไปลึกเป็นปัจจัยน้อยมากที่ทำให้แผ่นดินกทม.ทรุดลง ตัวที่สำคัญการตอกเสาเข็มไปตั้งอยู่บนดินแข็งๆ หรือทรายแน่นๆ ตะกอนชั้นบนสุด จึงไม่ทรุดลง นอกจากนี้ยังมีกฎหมายครอบคลุม ทำให้ปัญหาดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต้องกังวลว่ากทม.จะจมน้ำ หรือน้ำทะเลจะรุกล้ำ ”เพราะหน่วยราชการไทยเก่ง ไม่ว่าจะเป็นกรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กทม.มีระบบป้องกันอยู่” ผอ.กล่าว

อย่างไรก็ตามย้ำว่า ขณะนี้ระบบป้องกันดีมาก และการสูบน้ำจากแม่น้ำลงคลอง จังหวะที่น้ำทะเลหนุนจะปิดคันไม่ให้น้ำขึ้น ถ้าน้ำเหนือมาจะปล่อยลงสู่ทะเล ภาพรวมระบบต่างๆดีขึ้น ส่วนคำถามที่ว่าโลกร้อนมีผลต่อโครงสร้างธรณีวิทยาในกทม.หรือไม่ คำตอบคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทะเลอาจจะเดือดเป็นโลกเดือด ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น อนาคตกทม.จะประสบปัญหาคือ ไม่สามารถระบายน้ำลงทะเลได้ เพราะต้องรอให้ระดับน้ำทะเลลด ส่งผลให้น้ำท่วม

แล้วเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ต้องย้ายไหม?

สำหรับการย้ายกทม.เป็นเรื่องที่ยากมาก การป้องกันง่ายกว่า เพราะการย้ายเมืองหลวงอาจจะง่าย แต่ย้ายเมืองเศรษฐกิจจะยากตอนนี้เมืองหลวงกับเมืองเศรษฐกิจเอาไว้ที่เดียวกัน เช่นเมียนมาร์ย้ายจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์อินโดนีเซียย้ายด้วยสาเหตุเกิดการทรุดตัว

“การย้ายเมืองหลวงอาจจะเป็นไปได้ แต่การย้ายเมืองเศรษฐกิจค่อนข้างยาก เพราะเป็นเรื่องความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการลงทุน และ เรื่องของ Facility ต่างๆ ที่ต้องสร้างให้ได้ครบถ้วนเหมือนกทม.ค่อนข้างยาก ผมเชื่อมั่นใจศักยภาพของประเทศไทย ผมเชื่อมั่นในหน่วยงานราชการ และภาครัฐว่า จะสามารถป้องกันกรุงเทพให้พ้นจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น หรือ น้ำท่วมในอนาคตได้”

นอกจากนี้อีก 30 ปีข้างหน้าจะมีเขื่อนกันกรุงเทพฯ ชั้นใน ตอนนี้บางจุดมีแล้ว ในจังหวะที่น้ำทะเลขึ้นสูงให้ปิดเขื่อน ซึ่งหลายๆ ประเทศทำกัน เช่น อังกฤษ อิตาลี ที่มีระบบป้องกันน้ำท่วมเมือง และ มีการทำฟลัดเวย์ เปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการสร้างเขื่อนกันบริเวณริมชายทะเล เช่น การใช้ถนน คร่อมระหว่างปากอ่าว นอกจากนี้ยังมีการศึกษษเขื่อนกันระหว่างเพชรบุรี ถึง ชลบุรี ซึ่งอยู่ในการศึกษาศึกษาอีกระยะหนึ่ง อาจจะเป็นนโยบายของรัฐบาลด้วยที่ต้องดู

กรุงเทพฯรอดจมน้ำ หลังแผ่นดินทรุดลดลง-พร้อมใช้นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลหนุน

ถ้าถามว่ากรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงใช่ไหม?

คำตอบคือไม่น่าจะจริง ยังไงต้องรักษากรุงเทพฯ ไว้ให้มากที่สุดทั้งโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ที่สำคัญปัจจัยน้ำบาดาลก็ดีขึ้นแล้ว และอยากรณรงค์ประชาชนช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี เช่นช่วยลดโลกร้อนให้มากขึ้น เช่น ลดการใช้พลาสติก รีไซเคิล การใช้น้ำบาดาลปกติใช้น้อยลงอยู่แล้ว การรักษาสภาพแวดล้อม พยายามลดอะไรที่จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อย่าทิ้งขยะลงคลอง น้ำมันอย่าทิ้งลงในคลอง เพราะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน ทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

สมมติอนาคตต้องย้ายเมืองหลวงใหม่จริง จะสำรวจธรณีวิทยาอะไรบ้าง?

ปัจจัยแรกที่ต้องไปเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม ความลาดชัน ดูว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยหรือไม่ การจะสร้างตึกเจาะเสาเข็ม ดินแข็งแรงแค่ไหน เพราะกทม.ลงเสาเข็มในพื้นที่อ่อน ต้นทุนสูงมาก เป็นหน้าที่ต้องไปสำรวจร่วมกับกรมโยธาฯ และ วิศวกร โดยพื้นที่ใหม่ต้องไม่อยู่ในแนวรอยเลื่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหว เช่นญี่ปุ่นเลี่ยงสร้างบนแผ่นดินไหว เพราะประเทศตั้งอยู่ในแนวการเลื่อนตัวของแผ่นดินพอดี เปรียบเทียบกันแล้วประเทศไทยปลอดภัยกว่าญี่ปุ่น

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบมาดูโครงสร้างของดินของกรุงเทพฯ ที่เป็นดินเหนียวกทม.ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำ เป็นดินอ่อนไม่เหมาะกับการตั้งเมือง เพราะเปลืองต้นทุน แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยเพราะเสาเข็มที่สร้างตึกสูงลงไปลึกมาก สมัยก่อนการสร้างเมืองดูยุทธศาสตร์เรื่องการสร้างใกล้แม่น้ำ

กรุงเทพฯรอดจมน้ำ หลังแผ่นดินทรุดลดลง-พร้อมใช้นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลหนุน

ทั้งหมดได้ไขข้อสงสัยของหลายคนที่สงสัยว่ากรุงเทพฯ จมน้ำหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จม และไม่ต้องย้ายเมืองหลวงไปไหนอีกด้วยเพราะดินทรุดตัวลดลง รวมถึงการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้รับมือน้ำทะลหนุนสูงได้แล้ว !

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

related