SHORT CUT
ช่วงนี้บ้านเรา ฝนตก บางพื้นที่นำท่วม ทำให้หลายคนเริ่มกังวลใจเรื่องน้ำท่า วันนี้จะพาส่องงบจัดการน้ำ 7.6 พันล้านบาท รับมือ ลานีญา รวมถึงการเก็บน้ำเพื่อรับแล้งหน้าด้วย ว่าใช้งบก้อนนี้ทำอะไร ส่วนไหนบ้าง?
ช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่ลานีญาอย่างเป็นทางการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ช่วงนี้มีฝนตกเกือบทุกวัน บางพื้นที่ตกชุก จึงทำให้ปริมาณน้ำท่าต่างๆมีปริมาณสูงขึ้นเช่นกัน บางพื้นที่น้ำเริ่มท่วมแล้ว หลังได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญา จึงทำให้ กรมชลประทาน ออกมาเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เนื่องด้วยขณะนี้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ทั้งนี้มีการเผยตัวเลขน้ำในแต่ละเขื่อน เมื่อวันที่7 ส.ค.67 ที่ผ่านมา พบว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 43,634 ล้าน ลบ.ม. (57% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรับน้ำได้อีก 32,703 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 11,138 ล้าน ลบ.ม. (45% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 13,733 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำท่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง คงเหลือแต่ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำโขง และลุ่มบางบางปะกง ที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่
พร้อมกันนี้ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ประชาสัมพันธ์แจ้งประชาชนให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานทางราชการอย่างใกล้ชิดเนื่องจากยังมีฝนตกในพื้นที่ ขณะที่หลายพื้นที่สถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังคงมีพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยอยู่
กรมชลประทานยังคงเดินหน้าให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับรู้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
แน่นอนว่าช่วงนี้น้ำท่าบ้านเรามีปริมาณที่มาก และฝนก็มีโอกาสตกต่อเนื่อง วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาส่องดูงบบริหารจัดการน้ำ ปี2567 ว่าเป็นอย่างไร แล้วนำไปใช้ส่วนไหน อะไรยังไงบ้าง โดยก่อนหน้านี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วนปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 7,606.5 ล้านบาท เป็นไปตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอเพื่อใช้เป็นงบประมาณในการแก้ปัญหาน้ำท่วมปี 2567 และเตรียมการแก้ปัญหาน้ำแล้งปี 2568
อย่างไรก็ตาม สทนช. ได้ดำเนินการรวบรวม ตรวจสอบ และกลั่นกรองโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด พบว่ามีแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถบรรเทาและป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง จำนวน 14,671 รายการ ในกรอบวงเงินงบประมาณ 36,681.7028 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุม กนช. ได้เห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยที่ผ่านมานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้หน่วยรับงบประมาณ ดำเนินการตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 จำนวน 4 กระทรวง 9 หน่วยงาน จำนวน 2,668 โครงการ วงเงินงบประมาณ 7,606.4972 ล้านบาท โดยให้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สามารถจำแนกตามกระทรวง ได้ดังนี้
สำหรับแผนงานโครงการดังกล่าว แบ่งกิจกรรมไว้ 5 กิจกรรม เพื่อสรุป วิเคราะห์ กลั่นกรองและจัดกลุ่มแผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม ประกอบก้วย
ลานีญา ปี2567 เป็นสิ่งที่ภาครัฐ และเอกชน ต่างเตรียมตัวรับมือกันอย่างหนัก เพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชน และภาคธุรกิจให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันในเมื่อช่วงนี้น้ำมากก็ต้องหาวิธีเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หวั่น “ลานีญา” ทุบเศรษฐกิจปี’67 สูญ 1.4 หมื่นล้าน ชี้ระบบป้องกันนํ้า ต้องดี!
“ลานีญา” โอกาส…ทำอุตสาหกรรมก่อสร้าง- อสังหาริมทรัพย์ ปศุสัตว์ สะเทือนได้!