svasdssvasds

นายกฯ “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ “ลานีญา” มั่นใจน้ำไม่ท่วมเหมือนปี’54

นายกฯ “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ “ลานีญา” มั่นใจน้ำไม่ท่วมเหมือนปี’54

นายกฯ “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ ลานีญา ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน พร้อมเร่งรัดจัดทำแผน 3 ปี ด้านทรัพยากรน้ำ และโครงการสำคัญ เพื่อให้ “น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ” เตรียมเสนอ ครม. ภายในสิงหาคม 2567

SHORT CUT

  • “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ ลานีญา ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน พร้อมเร่งรัดจัดทำแผน 3 ปี ด้านทรัพยากรน้ำ
  • พร้อมทั้งโครงการสำคัญ เพื่อให้ “น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ” เตรียมเสนอ ครม. ภายในสิงหาคม 2567

  • ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ขณะนี้ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาแล้ว ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงกันยายน 2567 และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568

นายกฯ “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ ลานีญา ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน พร้อมเร่งรัดจัดทำแผน 3 ปี ด้านทรัพยากรน้ำ และโครงการสำคัญ เพื่อให้ “น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ” เตรียมเสนอ ครม. ภายในสิงหาคม 2567

ลานีญา มาเยือนไทยเป็นที่เรียบร้อย แน่นอนว่าจะทำให้น้ำท่าบ้านเราเยอะขึ้น ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน และผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ (องค์การมหาชน) : Gistda

ทั้งนี้ที่ประชุมได้ติดตามร่างแผน 3 ปี ด้านทรัพยากรน้ำ และโครงการสำคัญ เพื่อให้ “น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ คือ 1) มอบสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เร่งรัดการยกร่างแผนฯ ให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอต่อ ครม. ภายในเดือนสิงหาคมนี้ และให้ สทนช. รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ

2) มอบกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สทนช. บูรณาการการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าว เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ และ 3) มอบ สทนช. ติดตามและกำกับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนดำเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และปฏิบัติงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางการดำเนินงาน ทั้งในเรื่องภารกิจการถ่ายโอนอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และการขอใช้พื้นที่ที่เป็นที่ดินของรัฐ เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นต่อไปด้วย

นายกฯ “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ “ลานีญา” มั่นใจน้ำไม่ท่วมเหมือนปี’54

จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ขณะนี้ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาแล้ว ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงกันยายน 2567 และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายไปทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง

พร้อมนำข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณฝน และปริมาณน้ำท่าจากสถานีโทรมาตรมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและสอดคล้องกับสถานการณ์ มีการจัดจราจรน้ำให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการติดตามสถานการณ์น้ำท่ารายชั่วโมง เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องจักรสนับสนุนอื่นๆ

นายกฯ “เศรษฐา” เปิดแผนรับมือ “ลานีญา” มั่นใจน้ำไม่ท่วมเหมือนปี’54

รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่เสี่ยง ที่พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนบูรณาการร่วมกับจังหวัด องค์กรปกครองท้องถิ่น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานปฏิบัติตาม 10 มาตรการรองรับฤดูฝนปี 67 ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานมีแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อป้องกันอุทกภัย ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 3 ปี (ปี 2564 - 2566) ทั้งลุ่มน้ำยม-น่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน และลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง โดยขณะนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างเร่งรัดงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนงาน จำนวน 3 โครงการ โครงการที่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2569 จำนวน 5 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างการติดตามเร่งรัดกระบวนการศึกษา จำนวน 2 โครงการ

สถานการณ์น้ำท่าบ้านเรายังคงต้องจับตาดูอย่างต่อเนื่อง ส่วนประชาชน และภาคธุรกิจต่างๆ ก็ต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือด้วยเช่นกัน!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

       

 

 

 

related