SHORT CUT
ล้ำ (หน้า) กับย่ำ (แย่) มีเส้นบางๆ กั้นอยู่เปิดเหตุผลทำไมกรุงเทพฯ ยังน้ำท่วม ? แต่กัมพูชาไปไกลกว่าเราแล้ว นั่นเป็นเพราะอะไรกันนะต้องไปดู
เราจะพบอย่างหนึ่งบนโลกโซเชียล ที่ถือว่าเป็นสงครามในโลกไซเบอร์ระดับชาติเลยก็ว่าได้ในเรื่องการวิจารณ์ถกเถียงกันระหว่างคนไทยและกัมพูชา ในด้านต่างๆ ตั้งแต่ศิลปะวัฒนธรรมตลอดจนการเคลมทุกอย่างว่าเป็นของตนเองสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ชาวเน็ตไทยวิจารณ์กัมพูชาประเทศเพื่อนบ้านของเรา
แต่ความเป็นจริงแล้วเรากลับไม่รู้ว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้น มีการพัฒนาที่ไปไกลกว่าเราแล้วในหลายๆ เรื่อง เช่นผังเมืองที่ดีจนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ขณะที่ไทยเราได้แต่บ่นเรื่องนี้ลงในโซเชียลอย่างเดียว แต่ไม่เคยได้รับการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม
ยิ่งมองมาที่ประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเจริญกระจุกตัวที่กรุงเทพมหานครถึงขนาดที่มีคนล้อเลียนว่าประเทศไทยเท่ากับกรุงเทพมหานคร แต่เมืองหลวงแห่งนั้นกลับน้ำท่วมตลอดมาและคาดว่าจะตลอดไป
SPRiNG ชวนตั้งคำถามเรื่องน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ล้ำ (หน้า) กับย่ำ (แย่) มีเส้นบางๆ กั้นอยู่เปิดเหตุผลทำไมกรุงเทพฯ ยังน้ำท่วม ? แต่กัมพูชาไปไกลแล้ว อ่านแล้วเจ็บปวดใจแค่ไหนช่วยบอกผ่านเราสัก 1 คอมเมนต์
ปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของกัมพูชานั้นเคยเป็นเมืองขึ้นหรือประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
และสิ่งที่เจ้าอาณานิคมนำมาให้กัมพูชาคือการวางผังเมืองที่สวยงามและเป็นระบบ เพราะประเทศฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมของกัมพูชาเป็นประเทศที่ชอบวางผังเมืองเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
ขณะเดียวกันเอง สถาปนิก วิศวกรและนักวางผังเมืองหนุ่ม ๆ ที่จบจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่พากันกลับบ้าน และนำเอารูปแบบทันสมัย วัสดุก่อสร้าง และรูปแบบการใช้งานแบบตะวันตก บวกเข้าไปในการออกแบบ แนวปฏิบัติ และวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่นตามขนบประเพณีของกัมพูชา ถึงพวกเขาจะไม่ได้สร้างสิ่งก่อสร้างรูปทรงอนุสาวรี แต่พวกเขาก็ได้แรงบันดาลใจมาจากหมู่ตึกในมหาวิหาร ‘นครวัด-นครธม’ ที่เก่าแก่และเลื่องชื่อของโลก
เมื่อ 160 ปีที่แล้วฝรั่งเศสเองหมายมั่นปั้นมือไว้ว่า พนมเปญจะเป็นราชธานีใหม่นอกโพ้นทะเลแห่งรัฐนิคมของฝรั่งเศสยุคอินโดจีน
ทำให้เมื่อเราไปเยือนพนมเปญ หรือส่องพนมเปญผ่าน Google Earth เราจะเห็นผังเมืองที่เป็นระบบและเป็นบล็อกๆ ที่เป็นระเบียบอย่างน่าสนใจ
ถึงแม้จะมีปัญหาน้ำท่วมแต่มักจะถูกระบายได้อย่างรวดเร็วกว่าไทย
ในอนาคตเองพนมเปญมีการเตรียมพัฒนาโครงการขนส่งสาธารณะ สร้างสวนสาธารณะ ปรับปรุงระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคตจากสถานการณ์โลกเดือดอีกด้วย
อีกเมืองหนึ่งในกัมพูชาที่น่าสนใจคือเมืองกำปอตเป็นเมืองที่ฝรั่งเศสได้วางผังเมืองเอาไว้ เป็นเมืองที่มียุทธศาสตร์สำคัญเพราะอยู่ใกล้กับอ่าวไทย จนฝรั่งเศสเคยวางบทบาทไว้เป็นเมืองท่า
แน่นอนว่าประสิทธิภาพของกัมปอตทำให้สถานที่แห่งนี้ดึงดูดการลงทุนอย่างมหาศาล และทางรัฐบาลกัมพูชาเองตั้งใจจะให้กัมปอตเป็นเมืองท่าแห่งใหม่พร้อมกับการลงทุนเรื่องของท่าเรือขนส่งที่ครบวงจร
สิ่งที่กัมพูชาพบเจอคล้ายกับเราคือปัญหาน้ำท่วม ซึ่งเกิดในช่วงหน้าฝนมีความคล้ายกับประเทศไทย แต่เราพบข้อมูลอย่างหนึ่งว่าถึงแม้กัมพูชาจะน้ำท่วมแต่ท่วมไม่นานเพราะเกิดจากการวางผังเมืองที่ดี เพราะการวางผังเมืองและระบบป้องกันน้ำท่วม คือหลักพื้นฐาน ในพื้นที่ที่ไม่อยากให้น้ำท่วม นั่นคือพื้นที่เมือง สร้างควรมีการสร้างกำแพงล้อมพื้นที่เมืองไว้ เพื่อให้น้ำเบี่ยงออกข้างนอก และจัดการเฉพาะน้ำฝนพื้นที่เมืองเท่านั้น
ด้านกำปอตเองก็มีการกำหนดแผนพัฒนาผังเมืองที่ชัดเจนคือการแบ่งเป็นเขตต่างๆ เช่น เขตเมือง: พื้นที่อยู่อาศัย ศูนย์กลางธุรกิจ พื้นที่พาณิชย์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ: พื้นที่ดึงดูดการลงทุน เขตปลอดภาษี เขตชายฝั่งทะเล: พื้นที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ เขตเกษตรกรรม: พื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์พื้นที่อนุรักษ์: อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
การวางผังทางน้ำและทิศทางการไหลของทางน้ำทั้งระบบ จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย แผนแม่บท และแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศเกิดเอกภาพและเป็นระบบที่มีความเชื่อมโยงกับผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง มีกรอบที่ชัดเจน และข้อตกลงที่สังคมให้การยอมรับ สิ่งสำคัญการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำต้องไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำ หรือกระแสน้ำ หรือสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ ที่ผ่านมาถือเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำ ทั้งหน้าน้ำหลากที่ต้องมีความชัดเจนถึงเส้นทางการไหลของปริมาณน้ำ ระดับความสูงที่ลำน้ำรองรับได้ และแหล่งน้ำที่จะรองรับน้ำไปเก็บไว้ใช้หน้าแล้งอย่างเป็นระบบตามเจตนารมณ์ของกฎหมายน้ำอย่างแท้จริง
ย้อนกลับมาที่บ้านเรากรุงเทพมหานคร เมืองที่กระจุกความเจริญไว้เพียงจุดเดียว แต่มักมีปัญหาน้ำท่วมที่แก้ไม่ตกอยู่เสมอๆ
เพราะกรุงเทพมหานครไม่ได้มีการกำหนดผังเมืองที่ชัดเจนตั้งแต่ครั้งอดีต พึ่งมีการกำหนดผังเมืองในปี 2518 และบังคับใช้แบบจริงจัง ในปี พ.ศ.2525 ทำให้การพัฒนากรุงเทพมหานครถูกละเลยในหลายประเด็น เช่นพื้นที่สีเขียว พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่น้ำไหลผ่าน ทำให้กรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมตลอดมา
ในทางปฏิบัติแล้วการกำหนดผังเมืองของไทยมักถูกวิจารณ์เรื่อยมาว่าเอื้อนายทุน ตลอดจนลดพื้นที่สีเเขียว แต่กลับเพิ่มพื้นที่ที่เป็นอุตสาหกรรม ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สำหรับการสร้างคอนโด และที่อยู่อาศัยมากกว่าที่รับน้ำ
ทั้งหมดคือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ผังเมืองที่ล้วนมีเงื่อนไขทำให้เกิดน้ำท่วมซึ่งมีต้นเหตุมาจากการวางผังเมือง
แต่ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะกรุงเทพมหานครเองยังมีสาเหตุหลัก ของปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพ แบ่งเป็น 2 ประการคือ
1. สาเหตุจากธรรมชาติ:
2. สาเหตุจากสภาพทางกายภาพ:
ซึ่งกรุงเทพประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่มาโดยตลอด ตัวอย่างเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ:
ผังเมืองจึงเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันน้ำท่วม พัฒนาเมืองอย่างมีระดับ ทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น เมื่อมองมาที่ประเทศไทยเรามักเคยด้อยค่าประเทศเพื่อนบ้านด้านการพัฒนาที่ช้ากว่า แต่ในปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมองไปที่กัมพูชา ณ ขณะนี้ในแง่ของผังเมืองมีความได้เปรียบ และยังมีพื้นที่ให้ลงทุนอีกมากมาย
เมื่อมีกรุงเทพมหานครกลับมีปัญหาเรื้อรัง ไม่ว่ารถติด น้ำท่วม ล้วนมีผลกระทบต่อการลงทุน ทำให้เราอาจพูดได้ว่าตอนนี้ประเทศรอบข้างน่ากลัว เราจะขยับอย่างไรปรับผังเมืองก่อนไหม นี่คือคำถามที่เราต้องคิดเผื่อไปในอนาคต
อ้างอิง
Salika / BBC / ศิลปวัฒนธรรม / กรุงเทพธุรกิจ / สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ / aday / สมาคมสถาปนิกสยาม / พระราชบัญญัติผังเมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง