กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 8 เตือน ทั่วไทยฝนตกหนักถึงหนักมาก หลายพื้นที่ระวังน้ำท่วมฉับพลัน กทม. ไม่รอด ฝนตก 80% ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เตือน ฉบับ 8 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน
พยากรณ์อากาศช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน
ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ค. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและประเทศบังคลาเทศ
ในช่วงวันที่ 25–26 พ.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 23–24 พ.ค. 67ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23–26 พ.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร สำหรับอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1–2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 23–26 พ.ค. 67 นี้ไว้ด้วย
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน
แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร
ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และพระนครศรีอยุธยา
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15–35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร, ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯเตือน ฉบับ 4 ฝนถล่มทั่วไทย กทม.อ่วมฝนตก 70% ระวังน้ำท่วมฉับพลัน
เวียดนามอ่วม จ่อเผชิญสภาพอากาศสุดโต่งจากโลกร้อน ภัยธรรมชาติรอจ่ออีกเพียบ
โลกกำลังเจอพายุสุริยะ - ชวนส่อง พายุแม่เหล็กโลก ระดับความรุนแรง แบ่งอย่างไร