svasdssvasds

ส่อง 5 การเปลี่ยนแปลง SOCEs ในไทย พ่นพิษต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไร?

ส่อง 5 การเปลี่ยนแปลง SOCEs ในไทย พ่นพิษต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไร?

พาส่องดู 5 การเปลี่ยนแปลง SOCEs ในไทย พ่นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคงอาหาร-น้ำ อย่างไร? แล้วในอนาคตจะเป็นอย่างไร เตรียมรับมือกันให้ดี

SHORT CUT

  • วันนี้ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ปัจจุบันต้องยอมรับว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาใหญ่ของโลก
  • กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ที่จุดเริ่มต้นเกิดอย่างช้าๆ ในประเทศไทย
  • ผลการศึกษาได้วิเคราะห์จากข้อมูลหลายๆ แหล่ง พบการเปลี่ยนแปลงของ SOCEs ในประเทศไทยในหลายๆ ประเภท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ SOCEs  มี 5 ประการ

พาส่องดู 5 การเปลี่ยนแปลง SOCEs ในไทย พ่นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคงอาหาร-น้ำ อย่างไร? แล้วในอนาคตจะเป็นอย่างไร เตรียมรับมือกันให้ดี

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ปัจจุบันต้องยอมรับว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาใหญ่ของโลก และทำให้เกิดภาวะโลกรวน แนวโน้มอาการน่าเป็นห่วง ล่าสุด กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ที่จุดเริ่มต้นเกิดอย่างช้าๆ ในประเทศไทย (Changes in slow-onset climate events in Thailand)

 

โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถแบ่งออกเป็นเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มต้นเกิดอย่างรวดเร็ว (Rapid Onset Climate Events; ROCEs) หรือเราคุ้นเคยกันในนาม ‘เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว’ และเหตุการณ์ที่จุดเริ่มต้นเกิดอย่างช้า (Slow Onset Climate Events; SOCEs) หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป กินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปี ทศวรรษหรือกระทั่งศตวรรษ  และไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดที่ชัดเจน

โดยกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อการประชุมสมัยที่ 16 ได้แบ่ง SOCEs ออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 2) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 3) ความเป็นกรดของมหาสมุทร 4) การถอยร่นของธารน้ำแข็งและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง 5) ความเค็ม 6) ความเสื่อมโทรมของดินและป่าไม้

7) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย SOCEs สามารถสร้างผลกระทบที่รุนแรง แบบสะสมและอาจไม่สามารถย้อนกลับคืนได้ต่อระบบนิเวศและระบบของมนุษย์ ทำให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายทางเศรษฐกิจและในรูปที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจในวงกว้าง

ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อผู้คน 300 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำชายฝั่งทะเล และคาดว่าจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 4% ของ GDP โลก ดังนั้นข้อมูลทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประเทศและท้องถิ่น นับเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับความสูญเสียและความเสียหายจาก SOCEs

ทั้งนี้ผลการศึกษาล่าสุดซึ่งวิเคราะห์จากข้อมูลหลายๆ แหล่ง พบการเปลี่ยนแปลงของ SOCEs ในประเทศไทยในหลายๆ ประเภท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ SOCEs  5 ประการ ประกอบด้วย

  • อุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศไทยจะ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปลายศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะสูงกว่า 4oC ภายใต้ภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง (RCP8.5)
  • ระดับน้ำทะเลในรอบ 27 ปีที่ผ่านมา (1993-2019) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 3.8 มิลลิเมตรต่อปี ตามมาด้วยการรุกล้ำของน้ำทะเลที่ปนเปื้อนน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
  • พื้นที่ที่ดินเสื่อมโทรมและได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่แห้งแล้งในระดับปานกลางมีแนวโน้มขยายตัวในอนาคตอันใกล้
  • พื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลงในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา โดยไฟป่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และ
  •  พืชและสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด กำลังถูกคุกคามจากภัยต่างๆ ที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะประสบกับการลดลงค่อนข้างมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของ SOCEs ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามส่งผลกระทบในวงกว้างและสะสมต่อมิติด้านสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต่อความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนความมั่นคงด้านอาหารและน้ำของคนไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related