SHORT CUT
จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงาน SPRiNG NEXT STEP THAILAND 2024 ว่า ต้องการให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. สภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... โดยหวังว่าจะเป็นกุญแจกู้วิกฤตสภาพอากาศของประเทศไทย
ในโลกยุคปัจจุบัน มีปัญหาอยู่ 4 ขยัก ได้แก่ โควิด-19 เศรษฐกิจถดถอย ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการพังทลายของระบบนิเวศ ซึ่ง 2 อย่างแรก ประเทศไทยผ่านพ้นมาแล้ว ขณะนี้เรากำลังอยู่ในวิกฤตด้านสภาพอากาศ
ก่อนอื่น รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยคือประเทศลำดับที่ 19 ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 4 อุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แก่
ในฐานะผู้ปล่อยมลพิษ ไทยก็ได้กำหนดเป้าหมายใหญ่ด้านสภาพอากาศเอาไว้ดังนี้ ในปี 2030 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ปี 2050 ไทยจะเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และในปี 2065 ไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
ดังนั้น หากประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ พ.ศ. ... ถือเป็นคีย์สำคัญ โดยมีด้วยกันทั้งหมด 10 หมวด ซึ่งขณะนี้ ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา
ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น 6 ภูมิภาคทั่วไทย โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2567 นี้
ซึ่งหาก พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้จริง ๆ การกระทำที่ส่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะมีกฎหมายเข้าไปควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด
จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวทิ้งท้ายในงาน NEXT STEP THAILAND 2024 ว่า “ไม่ว่าจะอยากดีมีจน พรรคฝ่ายค้าน รัฐบาล ทุกคนจะประสบปัญหาเหมือนกันหมด ถ้าน้ำท่วมก็น้ำท่วมเหมือนกันหมด ดังนั้นเรื่องนี้ไม่มีแบ่งแยกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีอย่างเดียวคือต้องร่วมมือกัน”
พร้อมทั้งกล่าวอีกว่า “พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังจะเข้าสู่การพิจารณา อยากให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็น เนื่องจากภาคธุรกิจก็ได้รับผลกระทบ ท่านต้องเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต เพื่อให้โลกใบนี้อยู่เพื่อลูกหลานของเรา”