Google จับมือกับกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อมกลุ่มสิ่งแวดล้อม เตรียมปล่อยยานดาวเทียม 'MethanSAT' เพื่อศึกษาดูการรั้วไหลของมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นภัยร้ายที่ทำให้โลกร้อน
เมื่อพูดถึงปัญหาโลกร้อน ส่วนใหญ่มักพุ่งเป้าไปที่ก๊าซคาร์บอนที่ตัวการอันดับต้น ๆ แต่เหล่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดามลพิษที่ปล่อยออกสู่โลกนั้น ก๊าซมีเทน (Methane) ถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนไม่แพ้กันกับก๊าซคาร์บอน
ก๊าซมีเทนมักถูกปล่อยมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การฝังกลบ การทำเกษตรกรรม การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทำให้หลาย ๆ หน่วยงานด้านสภาพอากาศ ได้ออกมาเรียกร้องให้หลาย ๆ ประเทศลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง
เช่นกรณีขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ออกมาเรียกร้องไปยังทุกภาคส่วนทั่วโลกแล้วครั้งหนึ่ง โดยบอกว่า หากทั้งโลกช่วยกันลดการปล่อยก๊าซมีเทนให้ได้ 45% ภายในปี 2573 จะสามารถคงไวอุณหภูมิโลกไว้ได้ประมาณ 0.3 องศาเซลเซียส
ทว่า ปัญหาคือ ก๊าซมีเทนยังคงถูกปล่อยอย่างต่อเนื่อง แต่วิธีการตรวจสอบถึงแหล่งที่ปล่อยยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ทำให้ล่าสุด บิ๊กเทคอย่าง Google เข้ามาร่วมวงรักษ์โลกด้วยกัน โดย
ทำให้ Google และกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อมกลุ่มสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันคลอดยานดาวเทียมดวงใหม่ ‘MethanSAT’ ซึ่งจ่อเปิดตัวเดือนมีนาคม 67 นี้ โดยมีภารกิจหลักคือ เพื่อสืบเสาะเลาะหาการปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลก และเพื่อระบุแหล่งที่มาสำคัญของก๊าซเรือนกระจกที่มองไม่เห็น
Google กล่าวว่า ข้อมูลการปล่อยก๊าซมีเทนของ ‘MethaneSAT’ จะถูกซ้อนทับกับแผนที่ Google เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจว่าอุปกรณ์น้ำมันและก๊าซประเภทใดที่มีแนวโน้มที่จะรั่วไหลมากที่สุด
ทั้งนี้ ข้อมูลจะพร้อมใช้งานผ่าน ‘Google Earth Engine’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในช่วงปลายปี 67 โดยจะให้บริการฟรีสำหรับนักวิจัย และองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
การเปิดตัวครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่รัฐบาลกำลังปราบปรามแหล่งก๊าซเรือนกระจกและผู้ประกอบการน้ำมันและก๊าซอิสระรายใหญ่ของรัฐมากกว่า 50 ราย ตั้งแต่เอ็กซอนโมบิลไปจนถึง Saudi Aramco ของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ได้ให้คำมั่นในการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศของ COP28 ว่าจะลดการรั่วไหลของมีเทนให้เป็นภายในสิ้นทศวรรษนี้
ต้องบอกว่า ยานดาวเทียม MethanSAT ของ Google นั้นหากได้ผลดีเยี่ยม จะถือเป็นการปราบปรามแหล่งก๊าซเรือนกระจกและผู้ประกอบการน้ำมันรายใหญ่ประมาณ 50 ราย อาทิ Exxon Mobile เรื่อยไปจนถึง Saudi Aramco ของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย
สำหรับผู้ประกอบการน้ำมันในสหรัฐอาจร้อน ๆ หนาว ๆ กันไม่น้อย เมื่อสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA) เสนอว่าควรให้สาธารณชนได้รับรู้การรั่วไหลของก๊าซมีเทนของบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ผ่านเทคโนโลยีการตรวจจับมีเทน
มิแน่ว่า ในอนาคต เราจะได้เห็นรายชื่อเลยว่า บริษัทไหนบ้างที่กำลังปล่อยมีเทนอยู่ แต่ต้องบอกว่า ท้ายที่สุดแล้ว จุดประสงค์ของยานดาวเทียมชนิดนี้ก็คือการมุ่งแกะรอยปัญหา เพื่อพยายามรักษาอุณหภูมิโลกเอาไว้โดยการไม่ปล่อยให้ก๊าซมีเทนลอยล่องสู่ชั้นบรรยากาศได้ง่ายเช่นที่ผ่านมา
ที่มา: Sustainability
ข่าวที่เกี่ยวข้อง