ไทยขนนวัตกรรมลดโลกร้อน -แผนงานลดก๊าซเรือนกระจก โชว์เวที COP28 พร้อมอ้อนประเทศร่ำรวย ให้อัดงบประมาณสนับสนุนไทยรับมือโลกเดือด
ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมากๆ เพราะทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาโลกร้อน ล่าสุดจะมีการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ที่รัฐดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยนายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า การประชุม COP28 แสดงบทบาทของประเทศไทย ขยายโอกาสความช่วยเหลือทางการเงิน จะเทคโนโลยี วิชาการในการจัดการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกในระดับภูมิภาคและระดับโลก
โดยประเด็นการการเจรจาที่สำคัญ ประกอบด้วย การประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST) การจัดทำเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Global Goal on Adaptation: GGA) เป้าหมายด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งภาคีประเทศกำลังพัฒนายังคงเรียกร้องให้เร่งระดมเงินให้ได้ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี ค.ศ. 2025
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC 2030) ให้บรรลุเป้าหมายตามที่แต่ละภาคีได้ให้คำมั่นไว้ การขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation Work Programme) ให้บรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส กองทุนสำหรับการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Loss & Damage Facility) เพื่อช่วยประเทศที่มีความเปราะบาง ลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เป็นการแสดงบทบาทในเชิงบวกของประเทศไทยในการให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขยายโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน เทคโนโลยี วิชาการในการจัดการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประสบการณ์ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
พร้อมทั้งรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานเตรียมการทำงานของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในฐานะผู้ประสานงานหลักระดับประเทศของอนุสัญญาทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับท้องถิ่น โดยข้อตัดสินใจจากการประชุม COP 28 เมื่อสิ้นสุดการประชุม จะมีการสรุปผลการประชุมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ กรณีที่มีข้อริเริ่ม (Initiative) ที่ภาคีจะต้องให้การรับรอง/เข้าร่วมในช่วงของการประชุม COP 28 และจะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมรับรอง/เข้าร่วม
นอกจากนี้ประเทศไทยจะนำผลสำเร็จของการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (TCAC 2023) ที่ได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของประเทศร่วมกัน เสนอต่อที่ประชุมรัฐภาคี COP 28 ใน 4 ประเด็นหลัก คือ
ทั้งนี้ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ผลการดำเนินการของประเทศไทย ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นการเผยแพร่ข้อมูลและและนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยสู่ประชาคมโลก รวมทั้งเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างนักวิชาการ ผู้แทนรัฐบาล องค์กรเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ ณ Thailand Pavilion ขนาดพื้นที่ 147 ตารางเมตร
โดยมีหัวการจัดแสดงนิทรรศการที่สำคัญ เช่น แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย พ.ศ. 2564 – 2573 (NDC Roadmap) แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เครื่องมือกลไกภายในและระหว่างประเทศ Thailand Innovation Zone รวมถึงกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ภายใต้แนวคิด “Climate Partnership Determination” ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน รวมถึงเยาวชน และสถาบันการศึกษา รวมกว่า 20 หน่วยงาน
ด้านนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) เปิดเผย และสรุปประเด็นที่ไทยจะไปนำเสนอในเวที COP28 รายละเอียดดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
COP28 ที่ UAE ใกล้เริ่มแล้ว ส่องท่าทีของไทย เตรียมอะไรไปร่วมถกบนเวทีโลกบ้าง
UAE พลิกลงทุนพลังงานลม เปิดตัวโครงการกังหันลมใหม่ รับการประชุม COP28
โลกร้อนทำพฤติกรรมหาอาหารเสือชีตาร์เปลี่ยน ออกล่าเหยื่อตอนกลางคืนมากขึ้น