กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น ค้นพบแบคทีเรีย Ideonella sakaiensis ที่สามารถช่วยย่อยสลายพลาสติก คาดเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับลดปัญหามลพิษขยะพลาสติก ที่ทำโลกร้อนขึ้น
ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติก ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่เราควรต้องให้ความสำคัญ เพราะนอกจากมลพิษจากขยะพลาสติกจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล และทำลายระบบนิเวศแล้ว ยังเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากมายมหาศาลอีกด้วย แต่การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งก็ได้นำพามาซึ่งข่าวดีสำหรับโลกใบนี้
พวกเขาได้ค้นพบแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายพลาสติกได้ แต่ก่อนจะไปรู้จักแบคทีเรียชนิดนี้ มาอัพเดทกันสักหน่อยว่าปัญหาพลาสติก ณ ขณะนี้รุนแรงแค่ไหน
- นกทะเลมากกว่า 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเล 100,000 เสียชีวิตจากมลพิษจากพลาสติก
- ปัจจุบันมีขยะพลาสติกประมาณ 75 ถึง 199 ล้านตันในมหาสมุทร
- มีขยะพลาสติกจำนวน 381 ล้านตันที่ถูกผลิตภายใน 1 ปี
- ทุก ๆ วัน มีขยะพลาสติกราว 8 ล้านชิ้นไหลลงสู่มหาสมุทร
- 88% ของพื้นผิวทะเล มีมลพิษจากขยะพลาสติก
ปัจจุบัน ขยะพลาสติกส่วนใหญ่เกิดจาก พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) ซึ่งเป็นขยะพลาสติกที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด
เพราะสามารถอำนวยความสะดวกได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติกจากร้านสะดวกซื้อ หลอดพลาสติก จานพลาสติก รวมไปถึงช้อน-ส้อมพลาสติก เหล่านี้มีระยะเวลาการใช้งานที่สั้นมาก ๆ
แต่รู้หรือไม่ว่า การจะย่อยขยะพลาสติกเหล่านี้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร นอกเหนือจากกระบวนการย่อยสลายที่ใช้เวลานาน ขยะพลาสติกที่ถูกนำไปทิ้งบริเวณมหาสมุทร ยังก่อให้เกิดมลพิษ และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งบนน้ำและบนบกอีกด้วย
ปัจจุบัน 40% บริเวณพื้นผิวของมหาสมุทรทั่วโลก ถูกปกคลุมไปด้วยพลาสติกหลายพันล้านปอนด์ และมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2593 จำนวนพลาสติกบนพื้นผิวมหาสมุทร จะมีน้ำหนักมากกว่าปลาของทั้งมหาสมุทรรวมกันเสียอีก
เนื่องจากผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประเทศต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ห้ามพลเมืองใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เพราะถ้าต้องการให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมจริง ๆ
ภาครัฐ บริษัท ผู้บริโภค และอีกหลาย ๆ ภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมแนวคิดแบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน และลดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนกลับไปในปี 2544 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น นำทีมโดย โคเฮ โอดะ ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีเกียวโต นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้ค้นพบ Ideonella Sakaiensis หรือแบคทีเรียย่อยสลายพลาสติก
ในตอนแรก กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นี้ สันนิษฐานว่า จะค้นพบวิธีที่แบคทีเรียกลืนกินพื้นผิวของพลาสติก แต่สิ่งที่พบคือ เแบคทีเรียทำได้มากกว่าการทำลายพื้นผิวของพลาสติก แต่มันสามารถย่อยสลายพลาสติกไปจนหมด และเก็บเกี่ยวคาร์บอนฯ ในพลาสติกเก็บไว้เป็นพลังงานได้
รู้หรือไม่! แบคทีเรีย Ideonella sakaiensis ถูกตั้งชื่อตามเมืองที่ค้นพบ: เมืองซาไก ประเทศญี่ปุ่น
หลังจากที่นักวิทย์ฯ กลุ่มนี้ได้ทำการศึกษาแบคทีเรียชนิดนี้อย่างละเอียด ก็พบว่า แบคทีเรีย Ideonella sakaiensis ประกอบไปด้วยเอนไซม์ที่ชื่อว่า PETase ซึ่งมีคุณสมบัติในการ ย่อยสลายพลาสติก
ไม่รอช้า พวกเขาทดลองปรับแต่งเอนไซม์ PETase ด้วยการเพิ่มกรดอะมิโนบางชนิดเข้าไป จากนั้นก็ทดลองให้แบคทีเรียชนิดนี้ย่อยสลายพลาสติก ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ เอนไซม์ PETase ที่ได้รับการปรับแต่งมาแล้ว สามารถช่วยกินพลาสติกได้ดีกว่า เอนไซม์ PETase ที่เกิดตามธรรมชาติได้ดีกว่าถึง 20%
ปัจจุบันและในอนาคตภายภาคหน้า ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกคาดว่าจะอยู่ไปกับเราอีกนาน นับว่าเป็นเรื่องราวดี ๆ ที่มีการค้นพบวิธีใหม่ ๆ เพื่อช่วยลด หรือพอจะบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ และสุขภาพของโลกใบนี้
ที่มา: Condorferries
ข่าวที่เกี่ยวข้อง