นักวิทย์พบรูโหว่โอโซนขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ เหนือทวีปแอนตาร์กติกา ใหญ่เทียบเท่ากับประเทศรัสเซียและจีนรวมกัน คาดเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟตองกา
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 European Space Agency (ESA) รายงานว่า พบหลุมโอโซนขนาดใหญ่เหนือทวีปแอนตาร์กติกา ขนาด 26 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่สูงเหนือพื้นผิวโลกประมาณ 15-30 กิโลเมตร ใกล้กับพื้นที่อเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่กว่าประเทศบราซิลถึง 3 เท่า หรือเทียบเท่ากับประเทศรัสเซียและจีนรวมกัน ซึ่งเป็นหลุมโอโซนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา
โอโซนของโลกมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นโมเลกุลออกซิเจนชนิดหนึ่งที่มีอะตอม 3 อะตอม มีความเข้มข้นมากพอในการปิดกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ ที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ในปี 1985 นักวิจัยค้นพบรูโหว่ขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นในชั้นโอโซน เหนือบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งการที่ชั้นโอโซนเกิดรูโหว่ได้นั้น เกิดจากการใช้สารเคมีของมนุษย์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารเคมีทั่วไปที่ใช้ในกระป๋องสเปรย์ วัสดุบรรจุภัณฑ์ และตู้เย็น มีผลต่อการสลายชั้นโอโซนของโลก จึงนำไปสู่การที่บางประเทศสั่งห้ามใช้สาร CFC ในปี 1989 ทำให้ที่ผ่านมา ชั้นโอโซนของโลกมีการฟื้นตัว
แต่อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่ของชั้นโอโซนยังคงก่อตัวขึ้นเสมอเหนือพื้นที่บริเวณขั้วโลกในช่วงฤดูหนาวของแต่ละซีกโลก เรื่อยมาจนกระทั่งได้สร้างสถิติใหญ่ที่สุดในปีนี้ โดยหลุมโอโซนดังกล่าวถูกติดตามด้วยดาวเทียม Copernicus Sentinel-5P เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า การปะทุของภูเขาไฟใต้น้ำตองกาเมื่อต้นปีที่แล้ว อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของหลุมโอโซนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ช่องว่างขนาดมหึมาดังกล่าวอาจเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟตองกา Hunga Tonga-Hunga Ha'apai ซึ่งแรงระเบิดมีความรุนแรงกว่าระเบิดฮิโรชิมามากกว่า 100 ลูก และก่อให้เกิดการปะทุที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา เมื่อเดือนมกราคม 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เพนกวินเกือบตายหมู่! ภูเขาน้ำแข็งยาว 72 กิโลเมตร ลอยไปชนแหล่งหลบภัยเพนกวิน
UNICEF เผย โลกร้อนทำให้เด็กกว่า 43 ล้านคนอพยพหนีในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
นักวิทยาศาสตร์มองว่า การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้ชั้นโอโซนไม่เสถียร เพราะทำให้มีน้ำมากกว่า 50 ล้านตันลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้น้ำในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น 10% เพราะน้ำจะสลายตัวเป็นไอออนหรือโมเลกุลที่มีประจุ ซึ่งทำปฏิกิริยากับโอโซนในลักษณะคล้ายๆกับสาร CFC แต่อย่างไรก็ตามยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างโอโซนกับการปะทุ
นอกจากนี้ ปรากฏการณ์เอลนีโญอาจมีบทบาทเล็กน้อย ในการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยรอบของขั้วโลก แต่ก็ไม่ชัดเจนซะทีเดียวว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโอโซนมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้นักวิทย์ยังเสริมอีกว่า แม้ว่าหลุมโอโซนในปัจจุบันจะมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพบเจอ แต่ก็ไม่ถึงกับต้องตื่นตระหนก เพราะพื้นที่ด้านล่างของโอโซนไม่มีคนอาศัยอยู่ และในอีกไม่กี่เดือนก็จะกลับมาเป็นปกติ หากระดับ CFC ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง