เด็ก ๆ กว่า 43 ล้านคนต้องเร่ร่อนไร้บ้านในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา UNICEF เผย สภาพอากาศที่แปรปรวนสุดขั้วมีผลต่อการย้ายถิ่นฐานของเด็กทั่วโลก และดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
อนาคตเด็กดูเหมือนจะย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเด็กจากประเทศยากจน ผลการวิจัยใหม่จากองค์กร Unicef กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund) เผยว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีเด็กอพยพอย่างน้อย 43 ล้านคน ซึ่งสาเหตุการอพยพเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เท่ากับว่าทุก ๆ วัน มีเด็กราว ๆ 20,000 คนถูกบังคับให้ต้องทิ้งบ้านและไม่ได้เรียนในโรงเรียน
Children Displaced in a Changing Climate เป็นการวิเคราะห์จากทั่วโลกเกี่ยวกับเด็กที่ต้องลี้ภัยสภาพอากาศออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด ผลการสำรวจในช่วงที่ผ่านมาระบุอย่างชัดเจนว่า ภัยสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม พายุ ความแห้งแล้ง และไฟป่า ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้รายงานยังเผยอีกว่า ในปี 2021 สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เตือนว่า โลกจะต้องไม่มีการขยายฐานการผลิตน้ำมัน ก๊าซและถ่านหินอีกต่อไป หากอยากให้เรารอดพ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และที่ผ่านมาโลกล้มเหลวในการให้ความสนใจต่อคำเตือนต่าง ๆ ที่นักวิจัยแสดงออกมา
ภัยสภาพอากาศล้วนตามมาด้วยผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนอาหาร เพราะพืชผลไม่สามารถปลูกได้ตามฤดูกาลหรือไม่ก็ถูกภัยสภาพอากาศโจมตีจนพืชผลเสียหาย ตามมาด้วยการขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย ยิงยาวถึงปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจของเด็ก รวมถึงโอกาสในการใช้ชีวิตตามช่วยวัย และบ้านที่พักพิง
อย่างไรก็ตาม ในอีก 30 ปีข้างหน้าอาจมีเด็กเกือบ 96 ล้านคนต้องพลัดถิ่นอีก จากภัยพิบัติด้านสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว และทั่วโลกจะเข้าสู่ภาวะของสังคมที่ไม่มีกำลังมากพอในการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง