svasdssvasds

ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ

ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ

#สรุปให้ เดินหน้าเต็มกำลัง อุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปีในการลดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

#สรุปให้ โลกกำลังเดินหน้าไปสู่หนทางที่ไม่อาจย้อนกลับได้ อุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง เวลานับถอยหลังมานานแล้ว แค่กำลังใกล้ขีดจำกัดมากขึ้นเรื่อย ๆ อุณหภูมิโลกกำลังสูงขึ้นอย่างไม่ลดละ สวนทางกับคำมั่นสัญญาของรัฐบาลและภาคเอกชนที่ยังไม่สามารถหยุดยั้งการผลิตเพื่อลดอุณหภูมิของโลกได้ในตอนนี้

วันนี้ (21 มี.ค. 2566) António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ได้งัดเอางานวิจัยชิ้นใหม่ออกมา จากการรวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายร้อยคน รายงานฉบับนี้ได้เผยผลการประเมินที่น่าหนักใจที่สุดสำหรับสภาพอากาศที่เผยว่า มันไม่ได้ลดลง แต่มันกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งรุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้ในครั้งไหน ๆ และเราจะต้องเผชิญหน้ากับผลที่ตามมา ที่จะอันตรายขึ้นและแก้ไขได้ยากมากขึ้น

สภาพอากาศแปรปรวน พายุพัดหนักขึ้น เป้าหมายทั่วโลกตอนนี้ คือทำอย่างไรก็ได้ให้อุณหภูมิของโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสให้เทียบเท่ากับอุณหภูมิของยุคก่อนยุคอุตสาหกรรม แต่เป้าหมายนี้กำลังไกลออกไปเรื่อย ๆ จนแทบมองไม่เห็นแล้ว

หายนะนี้เกิดจากปัจจัยใดบ้าง?

  • ภาคการผลิตทั่วโลกปล่อยมลพิษอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 1% ในปีที่แล้ว (แค่ 1% ก็เยอะมากแล้ว)
  • ความเข้มข้นของมลพิษคาร์บอนในชั้นบรรยากาศยังคงอยู่ในระดับสูงสุดเป็นเวลานานกว่า 2 ล้านปีแล้ว
  • การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานั้นสูงที่สุดในรอบ 2,000 ปี
  • การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นพลังงานหลักของโลกกว่า 80%
  • 75% ของมลพิษความร้อนของโลกเกิดจากฝีมือมนุษย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรณีตัวอย่าง ของการไม่ยุติเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

  • ไบเดนไฟเขียว โครงการขุดเจาะน้ำมัน Willow หากดำเนินการ คาดจะผลิตน้ำมันได้มากพอที่จะปล่อยคาร์บอน 9.2 ล้านเมตริกตันต่อปี เทียบเท่ากับการขับรถยนต์ด้วยแก๊สกว่า 2 ล้านคันบนถนน
  • จีนกำลังวางแผนการขยายตัวครั้งใหญ่ของถ่านหิน และในปี 2565 ที่ผ่านมา ได้อนุญาตให้มีการผลิตถ่านหินในพื้นที่ 82 แห่ง ซึ่งเท่ากับการเริ่มต้นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ 2 แห่งทุกสัปดาห์

ผลที่ตามมาหากแก้ไขไม่ได้

  • ผลกระทบแรกที่จะมาถึงจะกระทบต่อกลุ่มประเทศยากจนและประเทศเปราะบางที่เป็นผู้สร้างมลพิษน้อยสุด แต่ได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องจากไม่มีกำลังเพียงพอที่จะสร้างมลพิษ ในขณะเดียวกันก้ไม่มีความสามารถมากพอที่จะรับมือผลกระทบที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
  • สภาพอากาศแปรปรวนมากยิ่งขึ้น เช่น คลื่นความร้อนทำให้อากาศร้อนจัดในหลายประเทส พายุเกิดถี่ขึ้น ภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง
  • การใช้ชีวิตของเราจะอันตรายและประสบภัยอยู่เสมอ

ภัยแล้งที่คลองเวนิช อิตาลี Cr. Reuters

แนวทางแก้ไขมีไหม แล้วจะแก้ไขทันหรือเปล่า?

ในรายงานของ IPCC เผยว่า แนวทางแก้ไขยังเป็นไปได้ หากแก้ไขทันทีอย่างเป็นระบบ ซึ่งนอกจากแนวทางแก้ปัญหาแล้ว รายงานฉบับนี้ยังประณามการเพิกเฉยของผู้ปล่อยก๊าซรายใหญ่ทั่วโลกด้วย รายงานระบุว่า  การป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบร้ายแรง คือ

  • จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจและสังคม
  • เรียกร้องให้มีการลดมลภาวะที่ร้อนจัดด้วยการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและลงทุนในพลังงานหมุนเวียนแทน จะช่วยลดความร้อนของโลกลงได้ 60% ภายในปี  2035
  • คิดดี ๆ ถึงความจำเป็นในการลงทุน สร้างความยืดหยุ่นของธุรกิจให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ให้การสนับสนุนกับผู้ที่ด้อยกว่าเรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเปราะบาง
  • ต้องเร่งกำจัดคาร์บอนออกจากอากาศ เช่น การพึ่งพาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนโดยตรงมากักเก้บไว้และอัดฉีดลงใต้ดิน

สุดท้ายนี้ Guterres ได้เรียกร้องให้ทุกประเทศ เร่งติดตามความพยายามเรื่องสภาพอากาศ โดยเฉพาะประเทศร่ำรวยให้กดปุ่มเร่งไปข้างหน้าเลย ที่บอกว่าจะบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์

“มนุษยชาติกำลังยืนอยู่บนแผ่นน้ำแข็งบาง ๆ ที่กำลังละลายอย่างรวดเร็ว”

รายงานนี้และตัวแทนจากเกือบ 200 ประเทศของสหประชาชาติ จะนำเสนอต่อการประชุม COP28 ครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นที่ดูไบปลายปีนี้ การประชุมจะรวมถึง "การเก็บหุ้นทั่วโลก" ครั้งแรกจากข้อตกลง Paris Climate การประเมินความคืบหน้าในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการป้องกันภัยพิบัติจากสภาพอากาศ

ที่มาข้อมูล

CNN

related