คอกาแฟเตรียมรับแรงกระแทก! โลกร้อนทำพื้นที่เหมาะสมปลูกกาแฟลดลง อาจนำไปสู่ตลาดกาแฟที่แคบลงจนราคากาแฟมีราคาสูง เกษตรแนวใหม่ก็เข้าถึงยากเนื่องจากต้นทุนสูง แก้ยังไงดี?
กาแฟเป็นวัตถุดิบผลิตเครื่องดื่มที่สำคัญสำหรับคนทั้งโลก มนุษย์วัยทำงานหลายคนพึ่งพากาแฟเป็นกำลังสำคัญในแต่ละวันเพื่อให้สามารถทำงานได้ในระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด แต่ตอนนี้โลกกาแฟกำลังสั่นคลอนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแล้ว เพราะเมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยจาก FAO ได้เผยว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นสามารถลดพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟได้ถึง 50%
แผนที่กาแฟทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปและจะรุนแรงมากขึ้น กาแฟส่วนใหญ่มักปลูกในพื้นที่เขตร้อนชื้น แต่ตลาดกาแฟที่มีผู้บริโภคมากที่สุดคือยุโรป ที่สามารถมีมูลค่ากาแฟหมุนเวียนได้มากถึง 4.58 แสนล้านยูโร ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการปลูกกาแฟกำลังส่งผลร้ายแรง ไม่เพียงแค่เศรษฐกิจระดับประเทศ เช่น เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ นิการากัว บราซิล อินเดีย และมาดากัสการ์ เท่านั้น มันยังทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายเล็ก 70% ทั่วโลกด้วย
ดร. คริสเตียน บันน์ (Christian Bunn) จากศูนย์นานาชาติเพื่อการเกษตรเขตร้อนให้ความเห็นว่า เกษตรกรรายย่อยจำเป็นต้องลงทุนเพื่อทำการเกษตรทางเลือกเพื่อความอยู่รอดในอนาคต แต่การลงทุนเหล่านั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและอาจไม่ส่งผลให้ผลผลิตสูงขึ้นตามความต้องการได้ นี่จึงเราไปสู่การหาทางออกที่ยั่งยืนเพื่อให้คนทั้งโลกสามารถบริโภคกาแฟได้ต่อไป
ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับกาแฟ เพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งโลก
ในความเป็นจริง เรายังไม่มีทางออกให้สำหรับเรื่องนี้มากขนาดนั้น แต่เราก็มีการวิเคราะห์สำหรับทางออกมาให้ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Tim Hortons เดินหน้าปรับรับโลกร้อน เปลี่ยนช้อนส้อมแก้วกาแฟให้ย่อยสลายได้
กาแฟอัพไซเคิลจากเมล็ดแตงโม เปลือกไม้ อร่อยไม่ทำร้ายโลก ลดปล่อยคาร์บอน 93%
ทำความรู้จัก หุ่นยนต์บาริสต้า เทคโนโลยีที่อาจมาเปลี่ยนโลกร้านกาแฟในอนาคต
วราวุธจับมือ สส. เตรียมขยายร้านกาแฟเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เล็งลดขยะต้นทาง
จีนพบลักษณะ พืชนอนหลับ หรือ ต้นไม้นอน เก่าแก่สุด เมื่อ 250 ล้านปีที่แล้ว
การปลูกกาแฟแบบฟาร์มแนวตั้ง ในร่ม เป็นไปได้ไหม?
บรูโน เทเลแมนส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชยืนต้นและพืชสวนของ FAO กล่าวว่า ก็จริงอยู่ที่ฟาร์มแนวตั้งในร่วมจะช่วยให้เราทำการเกษตรได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เราสามารถควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น เช่น น้ำ แสงสว่าง อุณหภูมิและลม ในทางเทคนิคแล้ว มีความเป็นไปได้ที่เราจะปลูกกาแฟในเรือนกระจก แต่กระบวนการปลูกเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้มีต้นทุนสูงแต่ผลผลิตต่ำที่มีให้เพียงปีละครั้งเท่านั้น และอาจขายได้ช้าเนื่องจากอายุเก็บรักษาที่ยาวนาน
ดังนั้น กาแฟอาจไม่เหมาะกับการปลูกในโรงเรือน พืชผลที่เหมาะกับการปลุกพืชแนวตั้งงต้องเป็นพืชผลที่มีมูลค่าสูง สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายชนิดต่อไปและขายในตลาดที่มีมูลค่าสูงได้
แล้วระบบไฮโดรโปนิกส์ล่ะ?
Leone Magliocchetti Lombi วิศวกรการเกษตรและผู้เชี่ยวชาญของ FAO กล่าวว่า การปลูกกาแฟด้วนระบบไฮโดรโปนิกส์มีความท้าทายตรงต้องใช้พลังงานสูงและปัญหาการจัดการน้ำให้เหมาะสม อีกทั้งกระบวนการปลูกกาแฟทางเลือกที่กล่าวมาทั้งหมด อาจนำไปสู่การย้ายการผลิตกาแฟไปยังตลาดผู้บริโภคหลักในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาแทน เนื่องจากทุนและกำลังซื้อที่มีมากกว่า
หมายความว่ากาแฟจะเป็นของผู้มีกำลังซื้อเท่านั้นในอนาคต?
เกษตรกรและนักลงทุนที่มั่งคั่งสามารถจ่ายเงินอุดหนุนต้นทุนของการทำฟาร์มที่มีราคาแพงกว่าได้ เช่น ปุ๋ยทางวิศวกรรมและระบบชลประทานแบบหยด ซึ่งสิ่งนี้จะสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าสู่ตลาดกาแฟพรีเมียมเฉพาะกลุ่มที่สามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่าซึ่งหากพูดตรง ๆ คือชาวตะวันตกดูเหมือนนจะมีกำลังในการสนับสนุนการเกษตรที่มีต้นทุนสูงมากกว่าผู้บริโภคจากตะวันออก
แล้วเราจะสามารถแก้ไขด้วยการปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านโลกร้อนได้ไหม?
Endre Vestvik ผู้ก่อตั้งบริษัทกาแฟ Wild ของยูกันดา เขาเองก็กลัวการเปลี่ยนแปลงนี้และกลัวว่าจะเกิดการล่าอาณานิคมสินค้า แต่ถึงอย่างนั้น เขาจึงอยากสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาที่สามารถคืนผลกำไรกลับสู่ประเทศต้นทางและเกษตรกรได้ แม้จะมีความท้าทายอยู่มากก็ตาม
Endre หวังว่าการพัฒนาพันธุ์เมล็ดกาแฟให้ทนทานต่อสภาพอากาสได้จะเป็นแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน เพื่อให้พืชสามารถทนทานต่อความแห้งแล้ง แมลงศัตรูพืช และความร้อนสูงได้
แต่อย่างไรก็ตาม Melvin Medina เจ้าหน้าที่การเกษตรของ FAO ไม่ได้เห็นด้วยกับแนวทางนี้ โครงการปรับปรุงพันธุกรรมพืชต้องใช้เวลาหลายปี และกาแฟก็ไม่สำคัญเทียบเท่ากับพืชอื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มากกว่า ดังนั้นเธอจึงเสนอแนวทางแก้ไขจากกลางแจ้ง กลางไร่เกษตรแทน
Melvin คิดว่า หนทางสู่การผลิตกาแฟอย่างยั่งยืนจริง ๆ นั้นอยู่ในไร่ นั่นคือการหาต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาและปกป้องต้นกาแฟจากแสงแดดโดยตรง และช่วยให้ปรับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงให้คงที่ได้ตลอดทั้งวัน
ต้นไม้พิเศษเหล่านี้จะช่วยปกป้องต้นกาแฟจากแรงลม และทำให้ดินมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเศษใบไม้จะเป้นปุ๋ยตามธรรมชาติให้แก่กาแฟ รากหยั่งลึกของเมล็ดกาแฟยังช่วยส่งเสริมการแทรกซึมของน้ำฝนให้ลึกยิ่งขึ้น เพื่อให้ต้นกาแฟสามารถเข้าถึงน้ำได้ง่ายยิ่งขึ้น
และหากผสมรวมกับการให้น้ำและปุ๋ยแบบหยดก็สามารถใช้ได้ หรือหากมองหาตัวเลือกอื่น ๆ เช่น ระบบสปริงเกอร์หรือหัวฉีดขนาดเล็กก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตของไร่กาแฟให้กับเกษตรกรได้ และลดต้นทุนได้ด้วย
แล้วคุณล่ะ คิดว่า กระบวนการแก้ปัญหาแบบไหนสามารถปกป้องกาแฟให้ต่อสู่กับโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน และคำถามสำคัญ ในขณะที่เรากำลังบริโภคกาแฟกันอย่างสบายใจ ปัญหาการขาดแคลนกาแฟในอนาคต ใครจะเป็นคนริเริ่มแก้ไขบ้าง และจะลงมือทำเมื่อไหร่?
ที่มาข้อมูล